AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง ลูกเป็นตากุ้งยิง เพราะล้างมือไม่สะอาด

โรคตากุ้งยิง

มีคุณแม่คนหนึ่งออกมาเตือนว่าช่วงนี้ให้ระมัดระวัง เพราะเด็กเป็น โรคตากุ้งยิง จำนวนมาก ลูกน้อยของคุณแม่เป็นเยอะ ถึงขั้นต้องเจาะเอาออก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการล้างมือไม่สะอาด เด็กเล็กๆ กำลังอยู่ในวัยซุกซน ชอบจับโน่น จับนี่ แล้วนำมือที่สกปรกมาป้ายที่บริเวณใบหน้าได้

โรคตากุ้งยิง เพราะล้างมือไม่สะอาด

จากคำเตือนของคุณแม่ Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตากุ้งยิงมาฝากคุณพ่อ คุณแม่ เพื่อป้องกัน และดูแลลูกน้อยให้ระมัดระวังไม่เกิดตากุ้งยิงขึ้นมาฝากค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรคตากุ้งยิงคืออะไร?

ตากุ้งยิง คือ ตุ่มฝีเล็กๆ ที่เกิดขึ้นที่ขอบเปลือกตา มีขนาดประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ข้าง ทั้งเปลือกตาบน และล่าง แต่เกิดขึ้นที่ตาบนมากกว่า เพราะมีต่อมต่างๆ มากกว่าเปลือกตาล่าง

โรคตากุ้งยิงพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งชาย และหญิง แต่จะพบในเด็ก 4-10 ขวบ มากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด หรือตากุ้งยิงภายนอก เป็นการอักเสบของต่อมเหงื่อ บริเวณโคนขนตา มีลักษณะเป็นหัวฝีที่เห็นได้ชัด มักมีขนาดใหญ่ และชี้ออกด้านนอก

2.ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน หรือตากุ้งยิงภายใน เป็นการอักเสบของต่อมไขมัน บริเวณเยื่อบุเปลือกตา จะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อ ปลิ้นเปลือกตา มักมีขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก

สาเหตุของตากุ้งยิง

1.ไม่รักษาความสะอาด เช่น ปล่อยให้มือ ใบหน้า ผิวหนัง หรือเสื้อผ้าสกปรก ชอบขยี้ตา ไม่รักษาความสะอาดใบหน้า ใช้เครื่องสำอาง และใส่คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น หรืออยู่ในสถานที่ที่สกปรก

2.มีโรคผิวหนังบริเวณใบหน้า หรือหน้ามัน ทำให้เกิดการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณดวงตาสูงกว่าปกติ

3.มีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเข สายตาเอียง หรืออักเสบที่ตาบ่อยๆ

4.มีสุขภาพทั่วไปไม่ดี เช่น เป็นโรคเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ขาดอาหาร อดนอน ฟันผุ

5.มีภาวะที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พิษสุราเรื้อรัง รับประทานยาสเตียรอยด์เป้นเวลานาน หนังตาอักเสบเรื้อรัง

อาการของตากุ้งยิง

1.เริ่มจากเคืองตา คันตา คล้ายมีอะไรเข้าตา อาจมีน้ำตาไหล ทำให้ต้อวงขยี้ตาเสมอ

2.ต่อมา 1-2 วัน จะบวมแดง เจ็บเล็กน้อย ถ้าไม่รีบรักษาจะขึ้นเป็นตุ่มแข็ง เมื่อแตะจะรู้สึกเจ็บ ปวดตุบๆ

3.ต่อมาจะค่อยๆ นุ่มลง มีหนองนูนขึ้น เป็นหัวขาวๆ เหลืองๆ หลังจากนั้นหนองแตก และยุบไป อาจมีขี้ตา

4.ขี้ตาออกมากผิดปกติ เปลือกตาบวม ปวดตา ตาแดง โดยมากจะขึ้นแค่ตุ่มเดียว ถ้าขึ้นที่หางตาจะรุนแรง

5.ถ้าปล่อยทิ้งไว้ 4-5 วัน มักจะแตกเอง แล้วฝีจะยุบลงและหายปวด ถ้าระบายออกหมดจะยุบใน 1 สัปดาห์

6.บางคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเด็กบางคนอาจมีไข้ เกิดการอักเสบกระจายบริเวณโดยรอบ และปวดมากขึ้น

7.ถ้าเคยเป็นกุ้งยิงมาแล้ว 1 ครั้ง อาจจะมีอาการกำเริบ เป็นๆ หายๆ ตรงจุดเดิม หรือย้ายที่ หรือสลับข้างได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การรักษาโรคตากุ้งยิง” คลิกหน้า 2

การรักษาตากุ้งยิง

1.อาการระยะแรก ไม่มีตุ่มนูน แค่อักเสบ แดง หรือเพิ่งเริ่มขึ้นตุ่มฝีใหม่ๆ ยังไม่กลัดหนอง

2.อาการตุ่มฝีเป่งชัดเจน ให้รีบพบแพทย์ เพื่อสะกิดแผล หรือผ่าเพื่อระบายหนองออก และรับประทานยา

3.อาการเป็นๆ หายๆ อาจมีภาวะซ่อนเร้น เช่น เบาหวาน สายตาผิดปกติ เป็นต้น ควรตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และหมั่นทำความสะอาดตาบ่อยๆ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การป้องกันตากุ้งยิง

1.รักษาความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะใบหน้า ดวงตา มือ ระวังอย่าให้เส้นยมแยงตา

2.ถ้ามีแนวโน้มติดเชื้อได้ง่าย ให้ล้างเปลือกตาวันละ 1 ครั้ง หรือประคบน้ำอุ่นทุกๆ 2 วัน

3.ถ้าใช้เครื่องสำอาง ควรเช็ดทำความสะอาดให้หมดจดก่อนนอนทุกครั้ง ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น

4.เลิกนิสัยชอบขยี้ตา ไม่ใช่มือขยี้ตาบ่อยๆ หรือไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ไม่สะอาดเช็ดตา

5.หลีกเลี่ยงฝุ่น ลม แสงแดดจ้า ควันบุหรี่ ถ้าจำเป็นให้ใช้แว่นกันแดด หรือหมวก ป้องกันเชื้อโรคสัมผัสตา

6.ใช้สายตาให้พอดี อย่าฝืนใช้สายตามากเกินไป เพราะจะทำให้ปวดกระบอกตา เมื่อยล้า แสบเคืองตาได้

7.รักษาสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์

8.ดูแลร่างกายให้ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เครื่องใน

9.ควบคุมโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไซนัสอักเสบ ฟันผุ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดี

10.ถ้ามีประวัติเป็นกุ้งยิงบ่อยๆ ให้งดใช้เครื่องสำอาง หมั่นทำความสะอาดโคนขนตา พบแพทย์หาสาเหตุ

11.ควรรักษาทันทีเมื่อเริ่มเป็น ด้วยการประคบน้ำอุ่นจัดๆ ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดป้าย หรือหยอดตา

12.ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาให้เหมาะสม ไม่ควรรักษาเอง

เครดิต: Kritsana Hongsong, MedThai

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด

สบู่ไข่ไดโนเสาร์ ทำให้ลูกน้อยรักการล้างมือ

ชวนเด็กๆ มา “ล้างมือ” ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่กัน!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save