คุณแม่ได้มีคำถามเข้ามาว่า เมื่อหลังคลอดแล้วสามารถประคบร้อนได้หรือไม่ เนื่องจากก่อนออกจากโรงพยาบาล คุณหมอได้แนะนำว่าห้ามประคบร้อน เป็นเพราะว่าอาจทำให้เสี่ยงเกิดอาการตกเลือด ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
ประคบร้อนหลังคลอด เสี่ยงตกเลือดจริงหรือ?
หลังจากที่คุณแม่โพสต์สอบถามเอาไว้ในกลุ่มท้องคุยกัน ก็มีคุณแม่หลายท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็น แชร์ความรู้ และประสบการณ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การดูแลตัวเองหลังคลอด กรณีคลอดเอง” คลิกหน้า 2
การดูแลตัวเองหลังคลอด กรณีคลอดเอง
1.การเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถทำได้ ทั้งแพทย์และพยาบาลจะส่งเสริมให้คุณแม่เคลื่อนไหวด้วยการเดิน ดูแลตัวเอง และฝึกเลี้ยงลูก จะช่วยให้ร่างกายมีการขยับกล้ามเนื้อ ทำให้แผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น
2.การดูแลฝีเย็บ หลังจากคลอด คุณแม่จะรู้สึกเจ็บฝีเย็บเป็นเรื่องปกติ การล้างแผลควรล้างด้วยน้ำอุ่น ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผล ล้างเสร็จแล้วใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ห้ามใช้หัวฉีด หรือฝักบัวล้างรุนแรง
3.การอยู่ไฟ คนไทยแต่โบราณเชื่อกันว่าการอยู่ไฟทำให้ร่างกาย และจิตใจอบอุ่น ช่วยบรรเทาอาการปวด และบำบัดโรค แต่การอยู่ไฟอาจทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก และขาดน้ำ คุณแม่ต้องดื่มน้ำมากกว่าเดิม
4.นั่งยืนให้ถูกท่า ถ้าคุณแม่นั่งพื้นให้นั่งพับเพียบ อย่านั่งขัดสมาธิเพราะแผลจะฉีกได้ การนั่งพับเพียบทำให้เจ็บแผลได้น้อยกว่า เวลาลุกไม่ลุกเร็วเกินไป เวลาเดินให้แยกขาออกจากกันเล็กน้อย ป้องกันการเสียดสี
5.การให้นมลูก คุณแม่ควรกระตุ้นให้น้ำนมไหลด้วยการให้ลูกน้อยดูดนมทันทีหลังคลอด ดูดบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง สลับข้างกัน ไม่ควรให้น้ำ เพราะลูกจะอิ่มเร็ว ไม่ค่อยดูดนม คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บหัวนมช่วงแรก
6.การดูแลเต้านม หลังคลอดขนาด และน้ำหนักของเต้านมจะมากขึ้น 3 เท่า ทำให้เอ็นที่พยุงนมเกิดการยืด คุณแม่ควรใส่ยกทรงพยุงไว้ ป้องกันหย่อนยาน และลดเจ็บปวด ควรให้เต้านมแห้งสะอาดก่อนใส่ชั้นใน
8.การเปลี่ยนผ้าอนามัย ช่วงหลังคลอด น้ำคาวปลาจะออกมาประมาณ 2 – 3 วันแรก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าเลือดชุ่ม หรือทุก 3 ชั่วโมง เพื่อความสะอาด
9.อาหารหลังคลอด ควรเป็นอาหารย่อยง่าย รสไม่จัด มีกากใย เพื่อป้องกันท้องผูก จะได้ไม่ต้องออกแรงเบ่งอุจจาระมากจนแผลฉีก อาหารต้องมีคุณค่า และพอเพียง ครบ 5 หมู่ เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ผัก และผลไม้สด
10.ยาหลังคลอด หลังคลอดคุณหมออาจจะให้ยาแก้ปวด หรือยาบำรุงเลือดเท่านั้น ส่วนยาอื่นๆ คุณหมอจะสั่งไม่ให้รับประทานเด็ดขาด นอกจากเป็นยาที่เป็นวิตามินรวม หรือวิตามินบี และธาตุเหล็กเท่านั้น
11.การพักผ่อนหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หาโอกาสงีบหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง อาจหลับกลางวันในขณะที่ลูกหลับ 1 ชั่วโมง แต่ขณะให้นมลูกไม่ควรหลับ เพราะเต้านมอาจปิดจมูกลูกได้
12.ดูแลสุขภาพจิตหลังคลอด นอกจากการปรับร่างกายแล้ว คุณแม่ต้องปรับจิตใจให้สมบูรณ์ ด้วยการได้รับการเอาใจใส่จากสามี ช่วยดูแล และให้กำลังใจ ห่วงใยต่อความไม่สบาย และความกังวลของคุณแม่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การดูแลตัวเองหลังคลอด กรณีผ่าคลอด” คลิกหน้า 3
การดูแลตัวเองหลังคลอด กรณีผ่าคลอด
1.คุณแม่ที่ผ่าคลอด จะพบปัญหามากกว่าคุณแม่ที่คลอดเอง เมื่อรู้สึกตัว หรือยาชาหมดฤทธิ์ จะเผชิญกับความเจ็บปวด แต่จะเจ็บอย่างไรก็ตามก็ต้องพยายามเคลื่อนไหว พลิกตัวบ่อยๆ ช่วยให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดี
2.เมื่อคุณแม่สามารถลุกยืนได้แล้ว สามารถบรรเทาอาการเจ็บจากผ่าตัด ด้วยการใช้ผ้ายางยึดแผลผ่าตัด ไม่ให้ถูกดึงรั้งจากผนังหน้าท้องที่หย่อนยาน เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ค่อยๆ งอเข่าเข้าตัว แล้วค่อยลุกยืนได้
3.คุณแม่ที่ผ่าคลอด ในระยะแรกยังอาบน้ำไม่ได้ เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดเปียก อาจติดเชื้อ และอักเสบได้ จึงต้องใช้วิธีเช็ดตัวประมาณ 7 วัน หลังจากที่คุณหมอตัดไหมแล้วจึงอาบน้ำได้ตามปกติ
4.ถ้าคุณแม่มีความจำเป็นต้องขึ้น-ลงบันได คุณแม่สามารถค่อยๆ เดินได้ด้วยความระมัดระวัง อาจให้คุณพ่อช่วยพยุง ภายใน 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด คุณแม่จะสามารถขึ้น-ลงได้ค่อนข้างปกติ ไม่ต้องกลัวว่าแผลฉีก
5.ช่วงพักฟื้น คุณแม่ควรได้รับโภชนาการที่เพียงพอ เพื่อให้แผลหายเร็ว และเตรียมสารอาหารสำหรับให้น้ำนมลูก ห้ามรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสจัด และของหมักดอง
6.คุณแม่ควรอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะอากาศร้อนจะทำให้เหงื่อออกมาก และทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณแผลได้
8.สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกคนที่ 2 หลังจากผ่าตัดคลอดใหม่ๆ ควรให้คุณพ่อทำหน้าที่อุ้มลูกน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดของคุณแม่เกิดการเสียดสีมากเกินไป
9.เวลานอน คุณแม่ควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลหน้าท้องหย่อน ไม่ตึง ลดอาการเจ็บแผล เมื่อคุณแม่จะลุก หรือจะนั่งก็ควรใช้วิธีตะแคงตัว แล้วค่อยๆ ใช้มือยันตัวลุก หรือนั่งในท่าตะแคง
10.คุณแม่ที่คลอดลูกน้อยด้วยการผ่าตัด ควรรอให้ครบประมาณ 20 วันก่อน แล้วค่อยเริ่มออกกำลังกาย บริหารร่างกาย เพื่อให้ร่างกายกลับมากระชับดังเดิมได้อย่างรวดเร็ว
11.ถ้าแผลที่เย็บมีการอักเสบ บวม แดง มีอาการปวดมาก มีหนอง หรือมีกลิ่นเหม็น คุณแม่ควรรีบพบแพทย์ทันที
เครดิต: กลุ่มสาธารณะคนท้องคุยกัน (พัชราภา หลักคำ, Alice Chanesty), MedThai
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ประคบร้อน แก้ปวดเมื่อยแม่ท้องอย่างปลอดภัย
9 วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด..ให้คุณแม่กลับมาสวยเป๊ะเหมือนเดิม!
10 เทคนิคดี๊ดี ช่วยคุณแม่บรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save