น้องเป่าเปา ป่วย …อีกหนึ่งโมเม้นท์ที่เพิ่งเคยได้เห็น สำหรับเด็กน้อยร่าเริงอย่าง น้องเป่าเปา ลูกสาวแม่กุ๊บกิ๊บกับพ่อบี้ ที่เกิดป่วยจนมีอาการซึม กินอะไรไม่ได้ แม้กระทั่งกินยายังอาเจียนออกมา
เป็นภาพที่ทำให้แฟนคลับต่างพากันสงสาร และให้กำลังใจขอให้น้องหายไวๆ เมื่อ “น้องเป่าเปา” ลูกสาวสุดน่ารักของคุณแม่กุ๊บกิ๊บ สุมณทิพย์ กับคุณพ่อบี้ kpn ซึ่งคุณแม่กุ๊บกิ๊บต้องพาตัว น้องเป่าเปา ไปหาหมอด่วนเนื่องจากไข้ขึ้นสูง 38 องศาเซลเซียส หลังจากกลับมาจากต่างประเทศ
น้องเป่าเปา ป่วย ไข้ขึ้น-ท้องอืด หมอตรวจพบเชื้อไวรัสในลำไส้
และคุณหมอยังตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสที่ลำไส้ โดยคุณแม่กุ๊บกิ๊บคาดว่าอาการป่วยของน้องเป่าเปาน่าจะมาจากการที่น้องชอบอมรองเท้าตัวเอง เลยทำให้ท้องอืดและมีไข้ ซึ่งหากน้องถ่ายเอาเชื้อโรคออกมาได้หมดไข้ก็จะหาย
ซึ่งคุณแม่กุ๊บกิ๊บ ได้โพสต์คลิปพร้อมแคปชั่นว่า
“*poor baby หมาหงอย!!!!555555555555555555555 ป้ารี่คุยด้วยก็ไม่คุย @icherry9 ..ปล. มีเชื้อไวรัสที่ลำไส้ คาดว่าน่าจะมาจากการอมตรีนตัวเองเมื่อวานแล้วมันมีเชื้อโรค5555555555555 (รองเท้านางคงไปเหยียบโดนเชื้อโรคมา) เลยทำให้ท้องอืดและมีไข้ต้องรอจนกว่านางจะถ่ายเชื้อโรคออกมาหมดไข้ก็จะหายค่ะ ตอนนี้ชึมๆแต่ไข้ลดละขี้อ้อนหนักมากกกก รอดูว่าคืนนี้ไข้จะขึ้นอีกไหม”
ชมคลิป >> “น้องเป่าเปา ซึมหนักไข้ขึ้น พร้อมวิธีสังเกตและรักษาเมื่อลูกเป็นลำไส้อักเสบ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
น้องเป่าเปา ป่วยไข้ขึ้น-ท้องอืด
หมอตรวจพบเชื้อไวรัสในลำไส้
เห็นแบบนี้แล้วก็อดสงสารน้องเป่าเปาไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอให้น้องเป่าเปาหายป่วย และกลับมาร่าเริงเหมือนเดิมในเร็ววันนะคะ
ลำไส้อักเสบในเด็ก
สำหรับเด็กน้อยที่เป็นลำไส้อักเสบ จะมีอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ โดยอาจจะถ่ายเป็นน้ำ น้ำปนเนื้อมูก หรือมูกเลือด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลด หรือเลี้ยงไม่โต ตัวบวม อันเนื่องมาจากการสูญเสียโปรตีนทางลำไส้ โลหิตจางจากการสูญเสียเลือดทางลำไส้
ซึ่งอาการที่ตรวจพบเชื้อไวรัสในลำไส้ของเด็ก มักพบได้บ่อยที่สุดในวัยเด็กเล็กอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้อาจเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากเด็กในวัยนี้มักมีความสนใจหยิบจับสิ่งต่างๆ เข้าปากหรือชอบดูดนิ้วมือ ลำไส้อักเสบเกิดจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมักได้แก่เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุของการอักเสบของลำไส้ในเด็กทารก
- การติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือพยาธิ
- การแพ้นมวัว หรืออาหารบางชนิด
- การอุดตันของลำไส้ใหญ่ในโรค Hirschsprung’s disease ซึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาทในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่กำเนิด
- ภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติ
- ไม่ทราบสาเหตุ เช่น โรค inflammatory bowel disease ซึ่งพบน้อยในคนไทย
แต่สำหรับเด็กปกติวัยประมาณ 1-2 ปี บางคน อาจมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยและเหลวเป็น ๆ หาย ๆ ได้เฉพาะช่วงเวลากลางวัน แต่เด็กกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตปกติ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นกว่าปกติ โดยที่ไม่มีการอักเสบของลำไส้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กลดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น น้ำผลไม้สำเร็จรูป และรับประทานเนื้อสัตว์และผักให้มากขึ้น
การรักษาภาวะลำไส้อักเสบ แบ่งเป็น
√ การรักษาประคับประคอง
- แก้ไขภาวะขาดน้ำ เด็กที่ถ่ายอุจจาระเหลว จะสูญเสียน้ำไปกับอุจจาระ ผู้ปกครองอาจประเมินความรุนแรงของการขาดน้ำได้ดังนี้
- ขาดน้ำน้อย เด็กจะมีเพียงปากแห้ง กระหายน้ำ โดยที่ไม่มีกระหม่อมบุ๋ม หรือตาลึกโหล
- ขาดน้ำปานกลาง เด็กจะมีปากแห้งมาก ผิวหนังแห้งจับตั้งแล้วคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่า 2 วินาที ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋ม ร้องไห้ไม่ค่อยมีน้ำตา กระสับกระส่าย กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อยลง
- ขาดน้ำรุนแรง เด็กจะซึม ปากและลิ้นแห้งมาก ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มมาก หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็นแขนขาลายเป็นจุด ๆ และช็อก
ซึ่งถ้าเด็กมีการขาดน้ำน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กดื่มสารละลายเกลือแร่ปริมาณ 50 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ถ้าเด็กถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นอีก ต้องให้สารละลายเกลือแร่เพิ่มขึ้นอีก โดยให้ปริมาณ 10 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง แต่ถ้าเด็กมีการขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง ควรนำเด็กมาพบแพทย์เพราะอาจมีความจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด
อ่านต่อ >> “การรักษาอาการภาวะลำไส้อักเสบในเด็ก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
√การรักษาจำเพาะ
- ในบางรายที่มีอาการติดเชื้อคุณหมอจะให้ยาฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ อย่างไรก็ตามถ้าเด็กมีลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อโรค
- การรับประทานนมพิเศษ ในกรณีที่เกิดจากการแพ้นมวัว หรือลำไส้อักเสบรุนแรงจนเกิดเยื่อบุลำไส้ฝ่อทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึม น้ำตาลในนมปกติได้
- รับประทานยาลดการอักเสบในกรณีที่เป็น inflammatory bowel disease
และถ้าคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ควรรีบนำมาพบแพทย์ด่วน
- ถ่ายอุจจาระจำนวนมาก
- อาเจียนซ้ำ ๆ
- แสดงอาการกระหายน้ำมาก
- ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- ไข้ขึ้นสูง
- มีเลือดในอุจจาระ
การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบ ได้แก่
- พยายาม ให้เด็กรับประทานนมมารดา เนื่องจากนมมารดามีสาร secretory IgA ช่วยป้องกันไม่ให้
- เชื้อโรคเกาะติดกับผนังลำไส้หรือรบกวนการเจริญเติบโตของ เชื้อโรค
- ถ้าจำเป็นต้องให้เด็กรับประทานนมจากขวดนม ต้องทำความสะอาดขวดนม และจุกนมโดยการต้ม
- น้ำที่ใช้ผสมนมควรเป็นน้ำต้มสุกรวมทั้งล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมผสมนม ให้เด็ก
การป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกน้อยเป็นลำไส้อักเสบ
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นลำไส้อักเสบ สามารถทำได้ง่าย ๆ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเรื่องสุขอนามัยเป็นพิเศษ และสอนให้ลูกรู้จักรักษาสุขอนามัยตั้งแต่วัยเริ่มเรียนรู้ อย่างวิธีการล้างมือให้สะอาด ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
ทั้งนี้การให้ลูกได้ดื่มกินนมแม่ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อนี้ได้ แต่หากลูกดื่มนมผสมคุณพ่อคุณแม่ก็ควรล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมนม และดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นขวดนม และจุกนม เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้
นอกจากนี้ปัจจุบันได้มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายกับลำไส้ของลูกน้อยแล้ว อย่างวัคซีนป้องกันไวรัสโรตาซึ่งก็มีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างแพร่หลาย คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนนี้เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสนี้ได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน เสี่ยงโรคเมลิออยโดสิส
- รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน
- แพ็คเกจวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า ประจำปี 2560
- เด็กท้องเสีย อาเจียน เพราะโนโรไวรัสระบาด
ขอบคุณภาพจาก IG : gggubgib36 , icherry9 , bie_kpn
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thainakarin.co.th