สุริยุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เราจะเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งไม่เต็มดวง เกิดจาก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงตัวในแนวเดียวกัน โดยดวงจันทร์เข้ามาบังแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน ซึ่งคนบนโลกจะเห็นเป็นเงามืดเพียงชั่วขณะเพียงจุดเดียว ประเทศต่างๆ มีโอกาสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ไม่กี่ครั้ง
เราไม่ควรสังเกตมองสุริยุปราคาด้วยตาเปล่าหรือสวมแว่นกันแดด ควรใช้อุปกรณ์ช่วยในการมอง เช่นกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ก็ยิ่งทำให้เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะการดูดวงอาทิตย์จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรองรังสีบางชนิดที่จะเข้าสู่ดวงตา การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดูดวงอาทิตย์ได้ตรง ๆ เช่น กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ แล้วใช้กระดาษสีขาวมารองรับแสงนั้น จากนั้นมองภาพจากกระดาษที่รับแสง แต่การทำเช่นนี้ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครมองผ่านอุปกรณ์นั้นโดยตรง ไม่เช่นนั้นจะทำอันตรายต่อดวงตาของคนนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามีเด็กอยู่บริเวณนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาในประเทศไทย สมัยยุครัตนโกสินทร์จากบันทึกในประวัติศาสตร์นั้น พบว่าเคยเกิดขึ้นแล้ว 5 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ตรงตามเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณไว้ ที่ตำบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
ครั้งที่ 2 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 โดยเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เห็นได้ในกรุงเทพมหานครนับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยกินหมดดวงเวลา 14:31:29 น. – 14:35:21 น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทยในปัจจุบัน แต่เส้นกึ่งกลางคราสไม่ผ่านกรุงเทพฯ[5]
ครั้งที่ 3 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เห็นได้ที่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรที่จังหวัดปัตตานี โดยมีคณะนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศขนอุปกรณ์มาศึกษาสุริยุปราคาด้วย
ครั้งที่ 4 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองที่เห็นได้ในกรุงเทพ
ครั้งที่ 5 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้นำทีมเดินทางไปศึกษาและเก็บข้อมูลปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ เมืองลองเยียร์เบียน หมู่เกาะสฟาลบาร์ ประเทศนอร์เวย์ ใกล้กับขั้วโลกเหนือซึ่งเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการสังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ จากการสังเกตการณ์วันแรกที่ไปถึงพบว่าฟ้าไม่เปิด แต่เมื่อถึงวันที่ 20 มีนาคม 2558 ท้องฟ้าค่อนข้างแจ่มใส สามารถสังเกตเห็นได้ตลอดช่วงปรากฏการณ์ และได้เก็บภาพสุริยุปราคาเต็มดวงมาฝากคนไทย ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างที่เต็มไปด้วยหิมะขาวโพลน และอากาศที่หนาวเย็นสุดขั้ว ต่ำกว่า -20 องศา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก เมื่อดวงจันทร์ค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์และบังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
ซึ่งในครั้งนี้แม้เราจะไม่เห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวง แต่ก็จะคุณพ่อคุณแม่และบุตรหลานก็ไม่ควรพลาด เพราะจะมีโอกาสได้เห็นถึง 5 จังหวัด และหากจะรอดูครั้งต่อไปต้องรอถึงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 จะเห็นแบบเต็มดวงที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ที่มาจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย)
สถานที่ที่ดีสุดสำหรับการสังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงคือประเทศอินโดนีเซีย และ 5 จังหวัดในประเทศเราจะได้มีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา สงขลา ผู้ที่อยากสัมผัสปรากฏการณ์นี้อย่างใกล้ชิดโดยมีนักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ช่วยอธิบาย ท่านสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/NARITpage
ที่มาจาก :
1. เว็บไซต์วิกิพีเดีย คำค้น “สุริยุปราคา”
2 เว็บไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)
3. เฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)