AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ดราม่า! แม่ใช้ สายจูงเด็ก แต่ถูกมองเป็นเรื่องตลก!

กลายเป็นเรื่องดราม่า เมื่อเพจดังออกมาเผย เรื่องราวของคุณแม่ที่ใช้ สายจูงกันหลง กับลูก ซึ่งพาเข้ากราบพระบรมศพพ่อหลวง ร. 9 ในวันสุดท้าย ซึ่งมีคนหนาแน่น แต่ก็มีผู้คนมากมาย มองและยิ้มหัวเราะ พร้อมแซวว่าลูกซนจนต้องล่ามไว้เลยเหรอ!!!

ในช่วงหลังมานี้ มีพ่อแม่คนไทยหลาย ๆ คนหันมาใช้สายจูงลูกน้อย แทนการจูงมือธรรมดาแล้ว เพราะการใช้สายจูงนั้น ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหาย หรือหลุดมือ แถมหนูน้อยยังเดินสะดวกอีกด้วย ซึ่งที่ต่างประเทศเขาก็ใช้วิธีนี้กันเพื่อป้องกันลูกน้อยหลงทางและหายกันมานานแล้ว แต่ขณะเดียวกันคนไทย หรือคนที่ไม่มีลูกหลายคน กลับมองมองว่าเป็นเรื่องตลก และแปลกที่เด็กเล็ก ๆ จะมีสายจูงผูกที่ตัว

เพจดังเผย ดราม่า! แม่ใช้ สายจูงเด็ก กับลูก
แต่ถูกมองเป็นเรื่องตลก!

ซึ่งเรื่องนี้เอง ก็ได้มีคุณแม่ท่านนึง ออกมาเผยความในใจ กับกับใช้สายจูงกันหลงกับลูก และถูกมองว่าเป็นเรื่องตลก… ซึ่งทาง  เพจ Drama-addict ก็ได้เผยเรื่องราวของคุณแม่ท่านนี้ ที่ได้พาลูกชายเข้ากราบพระบรมศพในวันสุดท้าย โดยเธอใช้วิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลงกับเธอด้วยการใช้สายจูงผูกกับข้อมือลูกและข้อมือเธอ แต่สุดท้ายกลับถูกคนอื่นมองแล้วหัวเราะ พร้อมมองว่าลูกเธอคงซนมากจึงต้องใช้วิธีนี้ ทั้งๆ ที่ต่างประเทศ ถือว่าวิธีนี้เป็นวิธีสามัญมากๆ สำหรับการป้องกันการพลัดหลงของเด็กเล็ก

โดยแอดมินเพจ ได้เผยข้อความจากคุณแม่รายดังกล่าวว่า…

ขุ่นแม่ท่านนึงส่งเรื่องนี้มาอวดว่า วันก่อนเขาพาลูกไปถวายความเคารพพระบรมศพวันสุดท้าย ก็อย่างที่รู้กันว่าคนเยอะมากกกกกกก แม่เขาก็ใช้ สายจูงลูก คล้องลูกไว้ ซึ่งสายจูงลูกนี่เป็นอุปกรณ์ที่ ตปท เขาใช้กันเป็นเรื่องปรกติ เวลาจะพาลูกไปเดินในที่ๆคนพลุกพล่าน ป้องกันการพลัดหลง และช่วยให้พ่อแม่เฝ้าระวังลูกได้

แม่เขาก็เล่าว่า หลายๆคนก็มองลูกเขาแล้วยิ้มๆ บางคนก็หัวเราะ แซวแม่เขาว่า ลูกซนล่ะสิถึงต้องล่ามไว้ แม่ก็ยิ้มตอบกลับไปแบบสวยๆว่าลูกไม่ดื้อไม่ซนค่ะแต่แม่กลัวลูกหาย ถ้าแค่จับมือลูกอย่างเดียว เกิดมีคนเดินแทรกเบียดจนแม่ลูกไปกันคนละทางอาจพลัดหลงได้แบบนั้นไม่คุ้มเลย แม่เขาก็เลยฝากบอกว่า

โพสต์โดย Drama-addict บน 8 ตุลาคม 2017

 

อ่านต่อ “แม่เผยความในใจ หลังถูกมองเป็นเรื่องตลกเมื่อใช้สายจูงกันหลงกับลูก” คลิกหน้า 2


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : เพจเฟซบุ๊ก  Drama-addict

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โพสต์โดย Drama-addict บน 8 ตุลาคม 2017

ประเด็นนี้บางคนมองหัวเราะ แต่เราแม่ลูกก็ไม่ได้สนใจ

ความปลอดภัยมาก่อนเด็กเล็กมากๆยิ่งไม่รู้เรื่อง การใช้สายคล้องเราว่าจำเป็น เด็กไม่รู้จักอายหรอก มีแต่ผู้ใหญ่นี่แหละอาย

เด็กเริ่มพออธิบายเหตุผลได้ก็พูดตรงๆไปเลย ตอบคำถามลูกให้เคลียร์ แล้วจะพบว่าเด็กเข้าใจเหตุผลมากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด และไม่อายด้วย อาจรู้สึกรำคาญเล็กน้อยก็แก้ปัญหาสาเหตุที่รำคาญไปเราใช้แบบนี้กับการไปที่คนเยอะไปบ่อยอย่าอายที่จะป้องกันลูกหาย ลูกหายจะเสียใจมากกว่าอาย

และในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ ก็จะมีพระราชพิธีที่น่าจะมีคนไปร่วมกันเยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ เชื่อว่าพ่อแม่หลายๆคนก็คงพาลูกไปร่วมงานนี้ อยากให้เตรียมใช้สายคล้องลูกกันให้ชินนะครับ จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเด็กพลัดหลงหรือเด็กหายในงาน

ทั้งนี้เมื่อโพสต์ถูกเผยแพร่ชาวเน็ตต่างเข้าแสดงความคิดเห็นชื่นชมคุณแม่ท่านดังกล่าวบอกเป็นวิธีที่ถูกแล้วเมื่อพาลูกไปในที่คนเยอะเป็นการป้องกันได้ที่ดีเพราะไม่รู้ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นได้เมื่อไร

ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้สายจูงเด็ก

สำหรับในเด็กวัยหัดเดินหลายคนชอบอยู่ใกล้กับพ่อแม่เวลาไปเดินห้าง แต่บางคนที่ชอบสำรวจอาจเดินหลงหายไปได้ การใช้สายสำหรับจูงลูกในเด็กกลุ่มนี้จะช่วยได้มาก

ข้อดีของการใช้ สายจูงเด็ก

  1. ช่วยป้องกันลูกน้อยพลัดหลงทาง หายตัว ในกรณีเข้าไปในสถานที่ ที่มีคนเยอะ
  2. ไม่ต้องคอยวิ่งตามจับ เหมาะกับคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ที่ตามหลานไม่ทัน
  3. เพิ่มความสบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ขณะทำธุระด้วยมือทั้งสองข้าง
  4. ป้องกันลูกวิ่งล้ม โดยเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใช้การดึงกระตุกอย่างเบามือ
  5. ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และในขณะเดียวกันลูกก็มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย

ข้อเสียและข้อควรระวังของการใช้ สายจูงเด็ก

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวังไม่ให้ใช้สายจับลูกมัดไว้กับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่คุณเป็นคนถือสายเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเรื่องเศร้าโดยไม่คาดคิดก็ได้ เช่น สายรัดพันคอลูกจนเสียชีวิต ขณะที่คุณลูกไปทำธุระเพียงชั่วขณะ แล้วก็ต้องคอยระวังสายรัด อวัยวะต่างๆของเด็ก เช่น แขน ขา ที่สำคัญ เด็กให้ห่างมือลูกเมื่อเลิกใช้แล้ว เพราะอาจเล่นและเกิดอุบัติเหตุรัดคอเด็กได้

และคุณพ่อคุณแม่ ควรจูงลูกครั้งละ 1 คนเท่านั้น เพราะถ้าหากจูงลูก 2 คนพร้อมๆกัน อาจดูแลไม่ทันหากอีกวิ่ง  อีกคนเดิน จะเกิดอุบัติเหตุได้ ควรใช้ได้เฉพาะในทางราบเท่านั้น ห้ามใช่ขณะขึ้นบันได หรือทางที่ลาดชัน

ที่สำคัญใช้ในยามที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการใช้ตลอดเวลา อาจเป็นการปิดกั้นพัฒนาการเด็ก ในเรื่องการเดิน การวิ่ง ควรใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์

อย่างไรก็ดีของใช้ทุกอย่างนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวอยู่เสมอ สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ต้องฉลาดใช้และเลือกสิ่งที่ดีให้กับลูกน้อย และอย่าลืมศึกษาวิธีการใช้อย่างเข้าใจก่อนนำมาใช้กับลูกของเรานะคะ

อ่านต่อ “วิธีป้องกันลูกหาย พร้อมหน่วยงานที่ช่วยดูแลเรื่องนี้” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สถิติจากหลายแห่งทั่วโลก ล้วนระบุว่า  เด็กๆที่พลัดหลงกับพ่อแม่นั้นในแต่ละปีมีจำนวนมากจนน่าตกใจ  และที่น่าเศร้าที่สุด มีพ่อแม่ไม่ใช่น้อยที่ไม่ได้เจอลูกอีกเลย นับตั้งแต่วันที่ลูกหายไป

ซึ่งปัจจุบันเรื่องเด็กพลัดหลง-เด็กหาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่สร้างทั้งความหวาดกังวล และทรมานจิตใจให้แก่คนเป็นพ่อเป็นแม่อยู่ทุกขณะ และเพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาร้ายแรงนี้ นักวิจัย ฝ่ายสื่อสารสาธารณะนำเสนอกรณีตัวอย่าง นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ จึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

วิธีป้องกันลูกหาย

1. การเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย จะทำให้คุณรู้ซึ้งกับประโยคที่ว่า “ต้องดูลูกไว้-อย่าให้คลาดสายตา” โดยเฉพาะเด็กน้อยวัยซน (ไม่เกิน 4 ขวบ) เพราะเด็กวัยนี้ไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง หนำซ้ำยังไม่เข้าใจคำว่า อันตราย” เราจึงมักได้พบเด็กๆในวัยนี้เสียชีวิตจากการ จมน้ำชอบนั่งเล่นริมน้ำ, วิ่งข้ามสะพานแคบๆ) ตกจากที่สูง (ชอบปีน ชอบกระโดด) เดินเตาะแตะออกจากบ้าน แล้วเดินไปเรื่อยๆกระทั่งหลงหายไป หรือประสบอุบัติเหตุ

หรือในเด็ก 4 – 7 ขวบอันเป็นวัยที่ยังจำทิศทางและรายละเอียดขอสถานที่ยังไม่แม่น หากขืนปล่อยทิ้งไว้คนเดียวก็มีสิทธิสับสนตกใจ และเดินพล่านจนหลงทางไปเลย แม้แต่เด็กโต 7 – 10 ขวบ ก็ไม่ควรประมาท เพราะเด็กวัยนี้มักจะหลงกับพ่อแม่ในห้างสรรพสินค้า หรือในงานนิทรรศการต่างๆที่มีผู้คนหนาแน่น ที่พ่อแม่กับลูกแยกกันเดินดูสิ่งที่ตนสนใจโดยมากก็เกิดจากความ “ไว้วางใจจนเกินไป”

พ่อแม่เชื่อว่าลูกโตแล้วคงไม่หลงแน่ ส่วนลูกก็มั่นใจจนเกินไปว่าตนเองหาพ่อแม่เจอแน่ทั้งๆที่จริงๆแล้ว นั่นคือการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป ดังนั้นทุกครั้งเมื่อจะพาลูกไปที่ไหนก็ตาม ควรจะเตรียมแผ่นกระดาษโน้ต (เคลือบพลาสติกใสด้วยก็ยิ่งดี) โดยบันทึกชื่อคุณพ่อคุณแม่ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ให้ครบถ้วน แล้วสอดไว้ในกระเป๋าเสื่อของลูก โดยลูกเองก็ต้องจำได้ด้วยว่ากระดาษสำคัญแผ่นนี้เอาไว้ที่ไหน หากพลัดหลงกัน ถ้ามีผู้ใหญ่มาพบเข้าจะได้รู้ว่าจะแจ้งพ่อแม่ได้ที่เบอร์ไหน? ที่อยู่ใด?   แต่ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหล่ามิจฉาชีพ จึงไม่ขอแนะนำให้จดรายละเอียดใดๆไว้ในที่ๆพบเห็นได้โดยง่าย เช่น บนกระเป๋าเสื้อด้านนอก หนีบไว้บนกระเป๋านักเรียน บนกระติกน้ำ เป็นต้น

2. เด็กหลายๆ คนรู้ว่าตนเองนั้นมีชื่อเล่นว่าอะไร แต่จำชื่อ และนามสกุลจริงของตนเองไม่ได้เลย! ดังนั้นจึงขอฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ช่วยฝึกฝนท่องทบทวนชื่อทั้งตนเอง และชื่อนามสกุลของตนเอง,ของคุณพ่อและคุณแม่ ยิ่งจำเบอร์โทรของคุณพ่อคุณได้ก็จะดีมาก

3. เมื่อพบตำรวจในเครื่องแบบให้แนะนำให้ลูกได้รู้จัก และบอกลูกว่านี่คือบุคคลที่จะช่วยลูกได้ ในยามที่ถูกรังแกหรือเดนพลัดหลง ให้ลูกเดินเข้าไปบอกคุณตำรวจ ดังนั้นการหลอกหรือขู่ให้เด็กๆกลัวตำรวจโดยไร้เหตุผล เช่น ถ้าไม่เลิกงอแงจะเรียกตำรวจมาจับไปขัง มาจับหักคอ ฯลฯ และเมื่อถึงคราวมีภัยถึงตัวลูกจะจะไม่กล้าขอความช่วยเหลือกับตำรวจ หรือกลัวแม้แต่รปภ.

4. ก่อนที่จะพาลูกไปเที่ยวที่ใด ควรจะนัดแนะกันให้เข้าใจและตรงกัน ว่าหากเกิดพลัดหลงกันก็ให้มาเจอกันที่ไหนอันเป็นจุดนัดพบ เช่น ที่ประตูทางเข้า, เคานเตอร์ขายตั๋ว, หน้าร้านไอศกรีม เป็นต้น

5. เมื่อเห็นว่าลูกโตพอที่จะไปกลับโรงเรียนเองได้แล้ว ก็ควรจะต้องเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกในช่วงแรก ๆ โดยวางแผนการเดินทางโดยใช้เส้นทางที่ปลอดภัยเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงทางลัดทางเปลี่ยวทั้งหลายโดยเด็ดขาด (หากจะมีแผนที่แสดงเส้นทางที่ถูกต้องและปลอดภัยเพื่อลูกจะได้พกติดตัวก็จะน่าจะอุ่นใจไม่น้อย)

6. ทันทีที่รู้ว่าลูกเดินพลัดหลงกับเราหรือเมื่อรู้ว่าลูกออกจากบ้านไปนานจนผิดสังเกต ให้รีบดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งทันทีอย่ามัวชักช้าเป็นอันขาด เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายและเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกที ให้รีบเข้าแจ้งความกับตำรวจโดยเร็ว โดยแจ้งชื่อเด็ก (ที่หาย), รูปพรรณสัณฐาน, อายุ, ที่อยู่, เบอร์โทร (ที่ติดต่อผู้แจ้งได้) และสิ่งที่จะต้องเตรียมไปด้วยก็คือ

1.บัตรประชาชน(บัตรนักเรียน)

2.สำเนาทะเบียนบ้าน(ที่มีชื่อของเด็กที่หาย)

3.สูติบัตร(ใบเกิด)ของเด็ก

4.ภาพถ่ายผู้ที่หาย (รูปที่ชัดเจน และที่เพิ่งถ่ายล่าสุด)

และหากจดจำเสื้อผ้าเครื่องประดับของเด็ก(ในวันที่หายไป)และแจ้งแก่ตำรวจ ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น

√ เมื่อลูกหาย พ่อแม่สามารถแจ้งได้ที่…

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ oknation.nationtv.tv