สถิติจากหลายแห่งทั่วโลก ล้วนระบุว่า เด็กๆที่พลัดหลงกับพ่อแม่นั้นในแต่ละปีมีจำนวนมากจนน่าตกใจ และที่น่าเศร้าที่สุด มีพ่อแม่ไม่ใช่น้อยที่ไม่ได้เจอลูกอีกเลย นับตั้งแต่วันที่ลูกหายไป
ซึ่งปัจจุบันเรื่องเด็กพลัดหลง-เด็กหาย ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่สร้างทั้งความหวาดกังวล และทรมานจิตใจให้แก่คนเป็นพ่อเป็นแม่อยู่ทุกขณะ และเพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาร้ายแรงนี้ นักวิจัย ฝ่ายสื่อสารสาธารณะนำเสนอกรณีตัวอย่าง นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ จึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
วิธีป้องกันลูกหาย
1. การเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย จะทำให้คุณรู้ซึ้งกับประโยคที่ว่า “ต้องดูลูกไว้-อย่าให้คลาดสายตา” โดยเฉพาะเด็กน้อยวัยซน (ไม่เกิน 4 ขวบ) เพราะเด็กวัยนี้ไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง หนำซ้ำยังไม่เข้าใจคำว่า อันตราย” เราจึงมักได้พบเด็กๆในวัยนี้เสียชีวิตจากการ จมน้ำชอบนั่งเล่นริมน้ำ, วิ่งข้ามสะพานแคบๆ) ตกจากที่สูง (ชอบปีน ชอบกระโดด) เดินเตาะแตะออกจากบ้าน แล้วเดินไปเรื่อยๆกระทั่งหลงหายไป หรือประสบอุบัติเหตุ
หรือในเด็ก 4 – 7 ขวบอันเป็นวัยที่ยังจำทิศทางและรายละเอียดขอสถานที่ยังไม่แม่น หากขืนปล่อยทิ้งไว้คนเดียวก็มีสิทธิสับสนตกใจ และเดินพล่านจนหลงทางไปเลย แม้แต่เด็กโต 7 – 10 ขวบ ก็ไม่ควรประมาท เพราะเด็กวัยนี้มักจะหลงกับพ่อแม่ในห้างสรรพสินค้า หรือในงานนิทรรศการต่างๆที่มีผู้คนหนาแน่น ที่พ่อแม่กับลูกแยกกันเดินดูสิ่งที่ตนสนใจโดยมากก็เกิดจากความ “ไว้วางใจจนเกินไป”
พ่อแม่เชื่อว่าลูกโตแล้วคงไม่หลงแน่ ส่วนลูกก็มั่นใจจนเกินไปว่าตนเองหาพ่อแม่เจอแน่ทั้งๆที่จริงๆแล้ว นั่นคือการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป ดังนั้นทุกครั้งเมื่อจะพาลูกไปที่ไหนก็ตาม ควรจะเตรียมแผ่นกระดาษโน้ต (เคลือบพลาสติกใสด้วยก็ยิ่งดี) โดยบันทึกชื่อคุณพ่อคุณแม่ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ให้ครบถ้วน แล้วสอดไว้ในกระเป๋าเสื่อของลูก โดยลูกเองก็ต้องจำได้ด้วยว่ากระดาษสำคัญแผ่นนี้เอาไว้ที่ไหน หากพลัดหลงกัน ถ้ามีผู้ใหญ่มาพบเข้าจะได้รู้ว่าจะแจ้งพ่อแม่ได้ที่เบอร์ไหน? ที่อยู่ใด? แต่ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหล่ามิจฉาชีพ จึงไม่ขอแนะนำให้จดรายละเอียดใดๆไว้ในที่ๆพบเห็นได้โดยง่าย เช่น บนกระเป๋าเสื้อด้านนอก หนีบไว้บนกระเป๋านักเรียน บนกระติกน้ำ เป็นต้น
2. เด็กหลายๆ คนรู้ว่าตนเองนั้นมีชื่อเล่นว่าอะไร แต่จำชื่อ และนามสกุลจริงของตนเองไม่ได้เลย! ดังนั้นจึงขอฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ช่วยฝึกฝนท่องทบทวนชื่อทั้งตนเอง และชื่อนามสกุลของตนเอง,ของคุณพ่อและคุณแม่ ยิ่งจำเบอร์โทรของคุณพ่อคุณได้ก็จะดีมาก
3. เมื่อพบตำรวจในเครื่องแบบให้แนะนำให้ลูกได้รู้จัก และบอกลูกว่านี่คือบุคคลที่จะช่วยลูกได้ ในยามที่ถูกรังแกหรือเดนพลัดหลง ให้ลูกเดินเข้าไปบอกคุณตำรวจ ดังนั้นการหลอกหรือขู่ให้เด็กๆกลัวตำรวจโดยไร้เหตุผล เช่น ถ้าไม่เลิกงอแงจะเรียกตำรวจมาจับไปขัง มาจับหักคอ ฯลฯ และเมื่อถึงคราวมีภัยถึงตัวลูกจะจะไม่กล้าขอความช่วยเหลือกับตำรวจ หรือกลัวแม้แต่รปภ.
4. ก่อนที่จะพาลูกไปเที่ยวที่ใด ควรจะนัดแนะกันให้เข้าใจและตรงกัน ว่าหากเกิดพลัดหลงกันก็ให้มาเจอกันที่ไหนอันเป็นจุดนัดพบ เช่น ที่ประตูทางเข้า, เคานเตอร์ขายตั๋ว, หน้าร้านไอศกรีม เป็นต้น
5. เมื่อเห็นว่าลูกโตพอที่จะไปกลับโรงเรียนเองได้แล้ว ก็ควรจะต้องเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกในช่วงแรก ๆ โดยวางแผนการเดินทางโดยใช้เส้นทางที่ปลอดภัยเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงทางลัดทางเปลี่ยวทั้งหลายโดยเด็ดขาด (หากจะมีแผนที่แสดงเส้นทางที่ถูกต้องและปลอดภัยเพื่อลูกจะได้พกติดตัวก็จะน่าจะอุ่นใจไม่น้อย)
6. ทันทีที่รู้ว่าลูกเดินพลัดหลงกับเราหรือเมื่อรู้ว่าลูกออกจากบ้านไปนานจนผิดสังเกต ให้รีบดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งทันทีอย่ามัวชักช้าเป็นอันขาด เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายและเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกที ให้รีบเข้าแจ้งความกับตำรวจโดยเร็ว โดยแจ้งชื่อเด็ก (ที่หาย), รูปพรรณสัณฐาน, อายุ, ที่อยู่, เบอร์โทร (ที่ติดต่อผู้แจ้งได้) และสิ่งที่จะต้องเตรียมไปด้วยก็คือ
1.บัตรประชาชน(บัตรนักเรียน)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน(ที่มีชื่อของเด็กที่หาย)
3.สูติบัตร(ใบเกิด)ของเด็ก
4.ภาพถ่ายผู้ที่หาย (รูปที่ชัดเจน และที่เพิ่งถ่ายล่าสุด)
และหากจดจำเสื้อผ้าเครื่องประดับของเด็ก(ในวันที่หายไป)และแจ้งแก่ตำรวจ ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น
√ เมื่อลูกหาย พ่อแม่สามารถแจ้งได้ที่…
- ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา โทร. 0-2642-7991 ต่อ 11 โทรสาร 0-2642-7991 ต่อ 18 E-mail:[email protected] ตลอด 24 ชั่วโมง
- ร่วมด้วยช่วยกัน หมายเลขโทรศัพท์ 1677 หรือ 142 เรียกร่วมด้วยช่วยกัน และทาง rd1677.com
- จส.100 ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1137 หรือ 142 เรียก จส.100 และทาง js100.com 4. สวพ.91 ติดต่อที่ www.trafficbkk.com
- กองบังคับการปรามปราบการกระทำความผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปตส.) สามารถติดต่อได้ทาง cwd.go.th หรือ โทร. 0-2513-32180, 0-2511-4874
- ศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศดส.) โทร. 0-2282-1815 หรือทาง korkorsordor.com
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ระวังภัยจากการล่อลวงเด็ก และแก๊งลักเด็ก
- ข้อเท็จจริง มิจฉาชีพ ทำไมถึงลักพาตัวเด็กน้อย
- อย่าละสายตาจากลูกน้อยแม้แต่วินาทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ oknation.nationtv.tv