AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศบริจาคสเต็มเซลล์ “น้องมายู” ช่วยพริตตี้สาวป่วยโรคหนังแข็ง

ซึ้งใจแทนจริงๆ เมื่ออดีตพริตตี้สาว “จอย สุภาภร” ต้องทรมานจากการป่วยเป็นโรคหนังแข็ง จนตอนนี้ทำงานไม่ได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งคุณพ่อ “หนุ่ม กรรชัย” ก็ได้บริจาคสเต็มเซลล์ของลูกสาว “น้องมายู” ที่เก็บไว้ตั้งแต่เกิดให้คุณจอยเพื่อใช้รักษาตัว

กลายเป็นกระแสฮือฮาบนโลกโซเชี่ยลในรอบปีที่ผ่านมา สำหรับเรื่องราวของอดีตพริตตี้สาวคุณ “จอย”สุภาภร ชุมทอง สาวสวยที่เคยโลดแล่นในวงการพริตตี้ มีรายได้ขั้นต่ำเดือนละหลายหมื่นบาท แต่ปัจจุบันเธอถูกคุกคามด้วยโรคหนังแข็ง ซึ่งเป็นโรคที่พบ 1 ใน 5 แสนคน ตลอดเวลาที่เธอเป็นโรคหนังแข็งและมีข่าวแพร่ออกไป มีคนใจดีคอยช่วยเหลือบริจาคเงินเข้ามาให้เธอพอเลี้ยงครอบครัวได้บ้าง แต่ก็ยังไม่ค้นพบทางรักษาอย่างจริงจัง

ล่าสุด  รายการ “ปากโป้ง” ที่มีคุณหนุ่มกรรชัย และ คุณเข็ม ลภัสรดา ได้นำคุณจอย มาพูดคุยพร้อมกับนพ.สมนึก ศิริพานทอง (กรรมการสมาคมเซลล์บำบัดไทย) ถึงอาการและทางรักษาว่ามีแนวทางช่วยเหลือเธอได้อย่างไร โดยคุณหนุ่ม กรรชัยถึงกับประกาศว่าถ้ารักษาด้วยวิธีการฉีดสเต็มเซลล์ได้ ก็จะบริจาคสเต็มเซลล์ของน้องมายูที่เจ้าตัวเก็บไว้ตั้งแต่เกิด เพื่อช่วยเหลือคุณจอยอีกด้วย

ซึ่งคุณหนุ่ม กรรชัย ได้เปิดใจให้ฟังว่า “ในกรณีของน้องจอย จริง ๆ พี่ติดตามข่าวมานานแล้ว ตั้งแต่มีข่าว ว่าน้องจอยเป็นโรคหนังแข็งนี้ (คลิกอ่าน ลักษณะอาการของโรคหนังแข็ง) และมีโอกาสที่จะเสียชีวิต และก็มีลูกสามคน ติดตามมาตลอด พี่ก็รอดูอยู่ว่าบางทีมันยังไม่ได้ถึงเวลาที่พี่จะต้องเข้าไปถาม เพราะคิดว่าอาจจะมีคนที่จะคอยเข้ามาช่วยเหลือน้องเขาหลายคน พี่ก็รอดูว่าเขาต้องการความช่วยเหลือด้านไหนบ้าง พี่เชื่อว่าเรื่องเงินทองผู้มีจิตกุศลก็ช่วยเหลือน้องเขามาพอสมควรแล้ว แต่ว่าแน่นอนเงินมันก็จะหมดไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันไม่ใช่เงิน มันคือตัวเขาเองที่จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถึงไม่หายแต่ก็ต้องดีขึ้น จนตัวเขาเองสามารถมาทำมาหากินได้”

และยังได้กล่าวอีกว่า “ส่วนผมมองว่ามันก็ยังมีเรื่องของวิทยาศาสตร์อีกเรื่อง คือเรื่องของสเต็มเซลล์ ก็เลยได้คุยกับทางอาจารย์สมนึกว่าเราจะไปหาสเต็มเซลล์ที่ไหน ซึ่งเซลล์ของเขาเองก็ไม่สามารถที่จะเอามารักษาตัวเองได้ รู้อย่างนี้พี่คิดว่าพี่มีเซลล์ของมายูที่เก็บเอาไว้ตอนที่เขาคลอดอยู่ พี่ก็เลยตัดสินใจว่าถ้ามันจะเป็นประโยชน์แก่เขา ทำให้ชีวิตเขาดูแลลูกเขาต่อไปได้เพราะพี่เองก็เป็นคนที่มีลูก

“พี่เข้าใจหัวอกของเขา เพราะฉะนั้นสเต็มเซลล์ของมายูส่วนหนึ่ง ก็เลยคิดว่าพี่บริจาคให้เขาดีกว่า เพราะเขาจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มากกว่า ส่วนคุณเมย์ ผู้เป็นแม่ของน้องมายู ก็บอกโอเค คุยปรึกษากัน และพร้อมที่จะเรียกทางธนาคารสเต็มเซลล์มาทำเรื่องบริจาคโดยผ่านทางคุณหมอ”

นอกจากนี้ “หนุ่ม กรรชัย” ยังกล่าวว่า ถ้าใครสนใจช่วยเหลือคุณจอยก็สามารถช่วยกันบริจาคเข้ามาได้ที่ ชื่อบัญชีนางสาวสุภาภร ชุมทอง เลขที่บัญชี 850-200091-0 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา บิ๊กซี หาดใหญ่

อ่านต่อ >> วิธีการรักษาโรคด้วย “สเต็มเซลล์” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

และข้อมูลสนับสนุนอื่นๆ จาก

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

thailand.digitaljournals.org

haamor.com

ไทยโพสต์

www.khaosod.co.th

www.ranthong.com

health.sanook.com

blooddonationthai.com

วิธีการรักษาโรคด้วย “สเต็มเซลล์”

ถือเป็นอีกหนึ่งวิวัฒนาการความก้าวหน้าที่หลายคนให้ความสนใจ พยายามศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังจะให้กำเนิดลูกน้อยย่อมต้องการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด แม้กระทั่งการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บให้ลูก ที่คุณแม่ยุคใหม่เลือกที่จะ เก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือตั้งแต่แรกเกิดไว้ให้ลูกได้ใช้ เป็นตัวช่วยในการรักษาโรคในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเก็บ สเต็มเซลล์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ถ้าไม่ได้เก็บสเต็มเซลล์ตั้งแต่แรกคลอด การที่จะหาผู้บริจาค สเต็มเซลล์ ที่เหมาะกับผู้รับอาจทำ ไม่ได้ทุกกรณี และผู้ที่จะบริจาคสเต็มเซลล์อาจไม่ พร้อมที่จะให้สเต็มเซลล์เมื่อ มีผู้ต้องการและกว่าจะหาผู้ บริจาคที่มี HLA เข้ากับผู้ป่วยอาจสาย เกิน กว่าที่จะรักษา เนื่องจากการรักษาโรคโดยใช้สเต็มเซลล์บางครั้ง ไม่สามารถรอ นานได้

สเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต คืออะไร

สเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต (Stem Cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด โดยปกติ สเต็มเซลล์จะมีจำนวนน้อยมากแต่ก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างมหาศาล ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสารไซโตไคนส์ หรือตัวกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ซึ่งร่างกายมนุษย์สามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ เมื่อพูดถึงการปลูกถ่าย สเต็มเซลล์ในผู้ป่วยปกติจะหมายถึง การปลูกถ่ายสเตมเซลล์จากกระแสโลหิตการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต

ในการรักษาโรคในปัจจุบัน แบ่งเป็น การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ได้จากบุคคลอื่นใช้ในการรักษาโรคในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดขาวโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ไขกระดูกฝ่อ ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึมแต่กำเนิด และในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติ และการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ของผู้ป่วยใช้รักษาโรคมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน

ดังนั้นการเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อแม่และเด็กแถมมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคได้โดยที่เราไม่ได้ทิ้งไปเปล่า ๆ แต่ยังมีข้อจำกัดหลายข้อที่หลายคนยังไม่ทราบนั่นคือ หากเราคิดว่าเก็บของลูกไว้แล้วอีก 40 ปี ข้างหน้าลูกเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาค่อยนำมาใช้ แต่ความจริงแล้วสเต็มเซลล์ที่เก็บได้มีเพียง 50-200 ซีซี เมื่อนำไปปลูกถ่ายจะสามารถใช้ได้ในผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 30-40 กิโลกรัม หรือใช้ได้เฉพาะในเด็กเท่านั้น ในผู้ใหญ่หากนำมาใช้จะมีจำนวนไม่พอ ยกเว้นว่าในอนาคตเราสามารถ นำสเต็มเซลล์ที่มีอยู่มาทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นได้ แต่ในปัจจุบันยังทำไม่ได้

ฉะนั้นหากถามว่าแล้วเราจะเก็บอย่างไรให้ได้ประโยชน์ คุณหมอแนะนำว่า การบริจาคให้สภากาชาดไทยนั้นได้ประโยชน์แน่นอน เพราะหากทางศูนย์ฯ เก็บไว้และมีเด็กป่วยเป็นโรคต้องการปลูกถ่าย ถ้าหากมีผู้มาบริจาคเยอะ ๆ โอกาสที่เนื้อเยื่อจะตรงกันก็มีมาก เพราะการที่จะนำสเต็มเซลล์ของอีกคนไปใช้จะต้องมีเนื้อเยื่อตรงกันด้วย และการเก็บให้ได้ประโยชน์อีกแบบหนึ่งคือ คุณแม่มีความหวังว่าจะเก็บไว้ให้ลูกอีกคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคเพื่อใช้รักษา เช่น ลูกคนแรกป่วยหากคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกอีกคนก็สามารถเก็บของน้องไว้รักษาให้พี่ได้หรือมีญาติพี่น้องคนอื่น ๆ รออยู่เพื่อต้องการใช้ โดยโอกาสที่เนื้อเยื่อจะตรงกันมีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ หากเก็บแล้วเนื้อเยื่อตรงกันจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

อ่านต่อ ขั้นตอนและคุณสมบัติของการบริจาคสเต็มเซลล์  คลิกหน้า 3

ใครที่ต้องการสเต็มเซลล์ในการรักษาโรค ผู้ป่วยที่มีอาการจากโรคต่อไปนี้

–         ธาลัสซีเมีย (โลหิตจาง)

–         โรคโลหิตจาง ชนิดที่เกิดจากไขกระดูกฝ่อ

–         มะเร็งเม็ดเลือดขาว

–         มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ที่บริจาคสเต็มเซลล์ได้

  1. เพศใดก็ได้ น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
  2. อายุ 17-70 ปีบริบูรณ์ หากอายุ 17 ปีต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง หากเป็นการบริจาคครั้งแรก ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี
  3. เคยบริจาคโลหิตมาก่อน และบริจาคอย่างสม่ำเสมอ
  4. ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นไข้หวัด ท้องร่วงท้องเสีย
  5. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในคืนก่อนวันบริจาค
  6. ผู้หญิงไม่อยู่ในช่วงประจำเดือน
  7. ผู้หญิงไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตร หรือทำแท้งในช่วงระยะเวลา 6 เดือน
  8. น้ำหนักไม่ลดลงอย่างฮวบฮาบ ภายใน 3 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  9. หยุดการทานยาต่างๆ เช่น แอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวดอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 3 วัน หรือหากเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ควรหยุดทานยามาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 วัน
  10. ไม่เป็นโรคหอบหืด โรคผิวหนัง วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ
  11. ไม่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ตับ ไต มะเร็ง ไทรอยด์ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
  12. หากเคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ควรเว้นระยะไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ผ่าตัดเล็กไม่ต่ำกว่า 1 เดือน
  13. ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ จะต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
  14. หากเจาะหู สัก ลบรอยสัก หรือฝังเข็ม ต้องเว้นระยะ 1 ปี
  15. หากเคยเป็นมาลาเรีย ต้องหายเกิน 3 ปี หรือหากเคยเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อมาลาเรีย ต้องเว้นระยะห่าง 1 ปี
  16. ต้องไม่ได้รับวัคซีนในระยะ 14 วัน และเซรุ่มต่างๆตลอด 1 ปี
  17. ทิ้งระยะหลังจากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน หรือรักษารากฟันอย่างต่ำ 3 วัน
  18. ก่อนบริจาคควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อย ไม่ต้องอดข้าวอดน้ำ แต่หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้ามขาหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดในการรับบริจาคเยอะแยะ แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริจาคเลือด ก็ถือว่าควรตรวจสอบอย่างเคร่งครัด และอย่าโกหกเจ้าหน้าที่นะคะ

บริจาคสเต็มเซลล์อย่างไร

ผู้ที่ต้องการจะบริจาคต้องลงทะเบียน แสดงความจำนงว่าจะบริจาคสเต็มเซลล์ก่อน เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างเลือดในระหว่างที่เรากำลังบริจาคโลหิต เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะเลือดของเราเอาไว้ก่อน เมื่อไรก็ตามที่มีผู้ป่วยที่สามารถใช้เลือดเราได้ มีข้อมูลเลือดที่เข้ากันได้ เจ้าหน้าที่จะเรียกเราเข้าไปขอเก็บสเต็มเซลล์เองในภายหลังค่ะ

โดยการเก็บสเต็มเซลล์ จะมีอยู่ 2 วิธีคือ

  1. บริจาคสเต็มเซลล์ผ่านหลอดเลือดดำ

โดยเจ้าหน้าที่จะฉีดยาเพื่อกระตุ้นให้สเต็มเซลล์ออกจากไขกระดูก มากระจายตัวในกระแสเลือดก่อน จากนั้นจึงเริ่มเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดที่ไหลออกมาผ่านเส้นเลือดดำ แล้วจะนำไปแยกสเต็มเซลล์ออกจากเลือดผ่านเครื่องที่อยู่ข้างนอกอีกครั้งหนึ่ง >> ใช้เวลาเก็บ : 3 ชั่วโมง

  1. บริจาคสเต็มเซลล์ผ่านไขกระดูก

เจ้าหน้าที่จะใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) โดยทำในห้องผ่าตัด หลังเก็บสเต็มเซลล์ผู้บริจาคอาจต้องพักฟื้นจนถึงวันรุ่นขึ้น และพักฟื้นต่อที่บ้าน 5-7 วัน >> ใช้เวลาเก็บ : 2 ชั่วโมง


วันและเวลาทำการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

จันทร์-ศุกร์  เวลา 08.30 – 16.00 น. ส่วนเสาร์, อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.00น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

โทร. 0-2256-4300 หรือ 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1771 และ 1777

หรือ  e-mail : stemcell@redcross.or.th

เว็บไซต์ : www.stemcellthairedcross.com

สนใจอ่านต่อ >> ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหนังแข็ง คลิกเลย

โรคหนังแข็ง

จากกรณีโรคหนังแข็ง ของคุณจอย สุภาภร ชุมทอง โดยอาการที่เป็นช่วงแรก ๆ ก็มีความรู้สึกว่ามือเราแดง ๆ ผิวแดง ๆ ปลายนิ้วก็จะมีความรู้ว่ามีเข็มมาทิ่ม พอไปรักษาหมอเขาก็ให้กินยาตามอาการ ปวดตรงข้อนิ้ว อยู่ ๆ ก็ปวด แต่พอปวดก็กินยาแก้ปวด  ส่วนผิวหนังมีแดงทีมือก่อน เป็นอย่างนี้มาประมาณ 3 ปี หมอก็ไม่รู้ว่าเราเป็นอะไร ก็เจาะเลือดบ้าง เอ็กซเรย์บ้าง ก็ไม่เป็นอะไร มารู้ตอนปีที่ 3 เพราะว่ามันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่นมือของเรามันตึง ๆ อาการแดงทันไม่ได้แดงแค่ 10 นาที แดงที่แขนอย่างเดียว อาการปวดข้อที่นิ้วก็เป็นเยอะขึ้น ผิวหนังนอกจากจะแดงแล้วมันก็ยังตึง ๆ ตอนแรกหมอเข้าใจว่าเป็นรูมาตอยด์ แต่พอวินิจฉัยอีกครั้งหมอก็บอกว่าเป็นโรคหนังแข็ง ตอนที่เป็นอายุ 26 ซึ่งหมอบอกว่าเป็นภูมิมันต้านตัวเอง มันทำลายตัวเอง มันไม่ใช่เป็นกรรมพันธุ์ และก็ไม่ใช่โรคติดต่อด้วย พอมีข่าวจอยออกไปมีคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ติดต่อเข้ามาบางคนน้ำหนักเหลือ 26 กิโลกรัม ระบบดูซึมไม่ปกติ แล้วก็ผังพืดมันไปดึงรัดมือให้เลือดเราไปเดินได้ไม่เต็มที่ เกิดจากหนังที่ตึง และดึงรั้งนิ้วเรา นิ้วก็จะกุดลง”

โรคหนังแข็งคืออะไร?

โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ โดยจัดเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มของโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิ­­­คุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเป็นเพียง 1,000 ต่อ 67 ล้านคนเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่ลักษณะของโรคนั้นจะเกิดจากการสะสมของเส้นใยคอลลาเจนที่มากผิ­­­ดปกติที่บริเวณหนังแท้และผนังหลอดเลือด ทำให้อวัยวะภายในเกิดการแข็งตัวและหนา รวมทั้งผิวหนังภายนอกก็จะเกิดการบวม ตึง และแข็งเป็นบริเวณกว้าง จนดูคล้ายผิวขิงหุ่นขี้ผึ้งที่แข็งตึงจนหยิบไม่ขึ้น รวมทั้งขาดความยืดหยุ่นอีกด้วย

อาการของโรคหนังแข็ง

โรคหนังแข็งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบทั้งทางผิวหนังภายนอกและอวัยวะภายใน โดยมีอาการดังนี้

อาการทางผิวหนัง

ผิวหนังจะกลายเป็นสีดำ ไม่สามารถกำมือได้ มือจะขาวหรือสีซีดเนื่องจากเส้นเลือดหดตัว หลังจากนั้นมือจะกลายเป็นสีม่วงหรือคล้ำเนื่องจากภาวะผิวหนังขาดออกซิเจน ต่อมามือจะเป็นสีแดงเพราะเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น และอาจพบแผลจุดเล็ก ๆ ที่บริเวณปลายนิ้วอีกด้วย โดยอาการเหล่านี้จะเริ่มขึ้นที่มือก่อนแล้วจึงลามไปที่แขน ใบหน้า ลำตัว เมื่อกระจายไปที่บริเวณหน้าจะเกิดหน้าผากย่น ยิ้มยาก หากกระจายไปตามลำตัวจะพบด่างขาวเป็นจุด ๆ

อาการกับอวัยวะภายใน

หลอดอาหาร : 80 % ของผู้ป่วยโรคหนังแข็งจะมีอาการทางหลอดอาหาร ทำให้เวลากลืนอาหารทำได้ลำบาก และรู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารน้อยลง เกิดกรดไหลย้อน หรือหลอดอาหารอักเสบ แสบร้อนกลางอก หากเกิดที่ลำไส้จะทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ผิดปกติจนเกิดอาการ­­­ท้องผูกหรือถ่ายเหลว รวมทั้งจะเรอบ่อยผิดปกติหลังจากรับประทานอาหาร

พังผืดที่ปอด : เป็นอาการที่พบได้บ่อยรองจากระบบทางเดินอาหาร พบได้ 40 – 90% ของผู้ป่วย โดยจะทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ และเหนื่อยง่าย

หัวใจและหลอดเลือด : โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่มีอาการแต่หากมีอาการเกิดขึ้นกับหัวใจแล้­­­ว อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ภายใน 5 ปี

ไต : อาการเกี่ยวกับไตนั้นแทบจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเสียชี­­­วิตสูง โดยอาการของโรคไตแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ แบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยแบบเฉียบพลันจะมีอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง ตามัวลง และแบบเรื้อรังก็อาจจะทำให้กลายเป็นไตวายในที่สุดค่ะ

กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ : ผู้ป่วยด้วยโรคหนังแข็งจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หรือมีพังผืดเข้าแทรกในมัดกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อต้นขา

ระบบสืบพันธุ์ : ในผู้ป่วยโรคหนังแข็งเพศชายอาจจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เนื่องจากหลอดเลือดและผิวหนังเกิดการผิดปกติค่ะ

ทั้งนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อีกเช่น อาการตาแห้ง ปากแห้ง เนื่องจากใยคอลลาเจนเข้าไปแทรกอยู่ในต่อมน้ำตา และต่อมน้ำลาย มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า เนื่องจากปลายประสาทบริเวณนิ้วมือหรือข้อมือถูกเบียดรัด

วิธีการรักษาโรคหนังแข็ง

โรคหนังแข็งมีวิธีการรักษา 2 แบบได้แก่การใช้ยา และการไม่ใช้ยา แต่ทั้ง 2 แบบก็เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการเพียงเท่านั้น โดยการใช้ยาจะให้ยาที่มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งและการสะสมตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งให้ยาขยายหลอดเลือดอาการปลายนิ้วซีด รวมทั้งลดอาการปวด

นอกจากนี้อาจจะเป็นยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร โดยการรักษานั้นสามารถหยุดได้เมื่ออาการสงบลง แต่ถ้าหากมีอาการกำเริบอีกก็จะเป็นที่จะต้องรักษาตามอาการกันต่อไป และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดแต่อย่างใด

เนื่องจากโรคหนังแข็งนี้ยังเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน­­­ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัดถึงความผิดปกติ จึงทำให้ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคนี้เช่นเดียวกับโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเองค่ะ

ได้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหนังแข็งกันไปแล้ว หลายคนที่ไม่เคยได้ยินชื่อโรคนี้ก็คงจะพอรู้จักกันมาขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ในเมื่อโรคนี้เราไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ เราก็ควรจะใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และหากมีคนใกล้ชิดป่วยด้วยโรคนี้ละก็ ควรจะหมั่นให้กำลังใจเสมอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีกำลังใจและมองโลกในแง่บวกมากขึ้นค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

และข้อมูลสนับสนุนอื่นๆ จาก

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

thailand.digitaljournals.org

haamor.com

ไทยโพสต์

www.khaosod.co.th

www.ranthong.com

health.sanook.com

blooddonationthai.com