“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศบริจาคสเต็มเซลล์ “น้องมายู” ช่วยพริตตี้สาวป่วยโรคหนังแข็ง - Page 2 of 4 - Amarin Baby & Kids

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศบริจาคสเต็มเซลล์ “น้องมายู” ช่วยพริตตี้สาวป่วยโรคหนังแข็ง

event

วิธีการรักษาโรคด้วย “สเต็มเซลล์”

ถือเป็นอีกหนึ่งวิวัฒนาการความก้าวหน้าที่หลายคนให้ความสนใจ พยายามศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังจะให้กำเนิดลูกน้อยย่อมต้องการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด แม้กระทั่งการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บให้ลูก ที่คุณแม่ยุคใหม่เลือกที่จะ เก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือตั้งแต่แรกเกิดไว้ให้ลูกได้ใช้ เป็นตัวช่วยในการรักษาโรคในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเก็บ สเต็มเซลล์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ถ้าไม่ได้เก็บสเต็มเซลล์ตั้งแต่แรกคลอด การที่จะหาผู้บริจาค สเต็มเซลล์ ที่เหมาะกับผู้รับอาจทำ ไม่ได้ทุกกรณี และผู้ที่จะบริจาคสเต็มเซลล์อาจไม่ พร้อมที่จะให้สเต็มเซลล์เมื่อ มีผู้ต้องการและกว่าจะหาผู้ บริจาคที่มี HLA เข้ากับผู้ป่วยอาจสาย เกิน กว่าที่จะรักษา เนื่องจากการรักษาโรคโดยใช้สเต็มเซลล์บางครั้ง ไม่สามารถรอ นานได้

istock_000046755222_medium

สเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต คืออะไร

สเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต (Stem Cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด โดยปกติ สเต็มเซลล์จะมีจำนวนน้อยมากแต่ก็สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างมหาศาล ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสารไซโตไคนส์ หรือตัวกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ซึ่งร่างกายมนุษย์สามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ เมื่อพูดถึงการปลูกถ่าย สเต็มเซลล์ในผู้ป่วยปกติจะหมายถึง การปลูกถ่ายสเตมเซลล์จากกระแสโลหิตการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากกระแสโลหิต

ในการรักษาโรคในปัจจุบัน แบ่งเป็น การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ได้จากบุคคลอื่นใช้ในการรักษาโรคในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดขาวโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด ไขกระดูกฝ่อ ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึมแต่กำเนิด และในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติ และการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ของผู้ป่วยใช้รักษาโรคมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน

ดังนั้นการเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือทารกไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อแม่และเด็กแถมมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคได้โดยที่เราไม่ได้ทิ้งไปเปล่า ๆ แต่ยังมีข้อจำกัดหลายข้อที่หลายคนยังไม่ทราบนั่นคือ หากเราคิดว่าเก็บของลูกไว้แล้วอีก 40 ปี ข้างหน้าลูกเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาค่อยนำมาใช้ แต่ความจริงแล้วสเต็มเซลล์ที่เก็บได้มีเพียง 50-200 ซีซี เมื่อนำไปปลูกถ่ายจะสามารถใช้ได้ในผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 30-40 กิโลกรัม หรือใช้ได้เฉพาะในเด็กเท่านั้น ในผู้ใหญ่หากนำมาใช้จะมีจำนวนไม่พอ ยกเว้นว่าในอนาคตเราสามารถ นำสเต็มเซลล์ที่มีอยู่มาทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นได้ แต่ในปัจจุบันยังทำไม่ได้

ฉะนั้นหากถามว่าแล้วเราจะเก็บอย่างไรให้ได้ประโยชน์ คุณหมอแนะนำว่า การบริจาคให้สภากาชาดไทยนั้นได้ประโยชน์แน่นอน เพราะหากทางศูนย์ฯ เก็บไว้และมีเด็กป่วยเป็นโรคต้องการปลูกถ่าย ถ้าหากมีผู้มาบริจาคเยอะ ๆ โอกาสที่เนื้อเยื่อจะตรงกันก็มีมาก เพราะการที่จะนำสเต็มเซลล์ของอีกคนไปใช้จะต้องมีเนื้อเยื่อตรงกันด้วย และการเก็บให้ได้ประโยชน์อีกแบบหนึ่งคือ คุณแม่มีความหวังว่าจะเก็บไว้ให้ลูกอีกคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคเพื่อใช้รักษา เช่น ลูกคนแรกป่วยหากคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกอีกคนก็สามารถเก็บของน้องไว้รักษาให้พี่ได้หรือมีญาติพี่น้องคนอื่น ๆ รออยู่เพื่อต้องการใช้ โดยโอกาสที่เนื้อเยื่อจะตรงกันมีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ หากเก็บแล้วเนื้อเยื่อตรงกันจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

อ่านต่อ ขั้นตอนและคุณสมบัติของการบริจาคสเต็มเซลล์  คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up