น้องชูใจ เผลอดื้อขว้างส้อมลงพื้น พ่อกอล์ฟ จึงทำแบบนี้! - amarinbabyandkids

ข้อคิดดีๆ ในการเลี้ยงลูกของพ่อกอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ กับ น้องชูใจ

event

น้องชูใจ

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเด็ก ๆ จะร้องไห้เอาแต่ใจตัวเองเมื่อรู้สึกเหนื่อย หิว ง่วง หรืออยากทำอะไรสักอย่างแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีนั่นเอง และด้วยความที่เด็ก ๆ ยังเล็กเกินกว่าจะสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เป็นถ้อยคำ และอธิบายให้เข้าใจได้รู้เรื่อง จึงต้องสื่อออกมาด้วยการร้องไห้หรือแสดงอาการเรียกร้องความสนใจ

ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณร้องไห้เอาแต่ใจตัวเอง อาละวาดเสียงดังจนเป็นที่สนอกสนใจของคนในที่สาธารณะตรงนั้น จะมีสาเหตุมาจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อน ถึงจะตัดสินใจรับมือหรือทำโทษทันทีนะคะ โดยเรื่องนี้คุณหมอสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ได้แนะนำถึงวิธีแก้ไขพฤติกรรมอาการเหล่านี้ของลูกน้อย โดยเริ่มต้นพ่อแม่ควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อน คือ

1.1 พ่อแม่ต้องสังเกตว่า อะไรคือเหตุการณ์ยั่วยุที่นำมาก่อนเกิดพฤติกรรมนั้น เช่น อยากเล่นต่อแต่ไม่ได้เล่น ง่วงแต่อยากเล่นเด็กก็งอแง

1.2 หลังจากที่อาละวาดนั้น เขาได้อะไร การสังเกตดูตรงนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เห็นถึงปัญหาได้ดีขึ้น เช่น ไปขังตัวเองในห้องน้ำ พ่อแม่ตกใจหรือร้องโวยวาย เด็กก็รู้จะสึกว่าตนเองสามารถทำให้คนอื่นมีปฏิกิริยา รู้สึกเหมือนตัวเองสำคัญ

1.3 การมีเวลาใกล้ชิดและให้ความสนใจแก่เด็กได้เต็มที่ ไม่เฉพาะช่วงที่เด็กมีการอาละวาด เช่น เล่นหรืออ่านนิทานด้วยกันหรือคุยกันก่อนนอน เป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก เพราะส่วนใหญ่ เวลาเด็กเล่นดีๆ ไม่โวยวาย พ่อแม่ก็มักจะเฉยๆ

1.4 อย่าดุด่าหรือตีลูก ด้วยอารมณ์ เพราะเด็กจะเลียนแบบความรุนแรงที่เราแสดงออกทันที

1.5 วิธีการที่ใช้ได้ดีมากกับเด็กเล็ก คือ เบี่ยงเบนความสนใจจากเหตุการณ์ที่เขากำลังอาละวาดอยู่ ไปยังเรื่องอื่นที่เขาสนใจ

1.6 ให้ลูกได้รับผลกระทบตามธรรมชาติบ้าง เช่น ถ้าเขาขว้างปาของเล่นเสียหาย เราก็จะไม่ซื้อชิ้นใหม่ให้ เขาจะต้องเล่นของเล่นที่พังแล้วแบบนั้นต่อไป

วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยร้องไห้ งอแง อาละวาด ให้สงบลงได้   

1. เมื่อลูกร้องไห้หรือมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักในที่สาธารณะ คุณพ่อคุณแม่ ควรรีบอุ้มเจ้าตัวเล็กแล้วพาออกไปจากที่ตรงนั้นก่อน เพราะอย่างน้อยที่สุด เมื่อละสายตาจากผู้คนตรงนั้นได้แล้ว คุณพ่อคึณแม่เองอาจจะไม่ต้องอายใครต่อใคร ซึ่งคุณอาจจะสบายใจขึ้นมาหน่อย เช่น ถ้านั่งอยู่ในร้านอาหาร ก็ให้อุ้มไปข้างนอกก่อน หากอยู่ในห้างสรรพสินค้า ก็พาไปแผนกอื่นที่มีคนค่อนข้างน้อย

2. หลังจากย้ายที่ให้พ้นที่เกิดเหตุแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่ทำเป็นไม่ใส่ใจอาการร้องไห้อาละวาดสักพักหนึ่ง อยากร้องก็ให้ร้องไป ไม่ต้องตามใจ เพราะนั่นคือการเรียกร้องความสนใจของเขา (ถ้าพ่อแม่ตามใจทุกครั้งที่ลูกร้อง ลูกก็จะใช้วิธีนี้ในการร้องขอสิ่งที่อยากได้) ให้รอจนกว่าลูกมีท่าทีสงบลง แล้วจึงค่อย ๆ พูดคุยกับลูก และถามลูกว่า “อยากจะกลับเข้าไปข้างในหรือยัง?”

3. เมื่อพายุของเจ้าตัวเล็กสงบลง ก็ให้คุณพ่อคุณแม่ลองประเมินดูว่า จากสถานการณ์นี้ เหตุใดที่ลูกจะต้องร้องไห้หรือเรียกร้องความสนใจ อาจเป็นเพราะ ลูกหิวหรือไม่ เหนื่อยหรือเปล่า หรือว่าไม่พอใจเรื่องอะไร ถ้าเป็นไปได้ ควรจัดการแก้ไขปัญหาเดี๋ยวนั้นทันที เช่น หาขนม ผลไม้ให้ลูกทาน หรือพาไปนอน แต่หากเป็นกรณีที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า แผนกของเล่นแล้วล่ะก็ คุณพ่อคุณแม่คงต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับการรบเร้าอยากได้ของเล่นอย่างแน่นอน

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงไว้เสมอ คือ อย่าให้พฤติกรรมเหล่านี้ของลุกน้อย เป็นวิธีการตอบสนองเพื่อให้ตรงความต้องการของลูก ไม่เช่นนั้นแล้ว ลูกของคุณอาจจะเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และไม่น่ารักก็เป็นได้

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www2.manager.co.th , www.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up