เงินอุดหนุนทารกแรกเกิด V$ เงินสงเคราะห์บุตร
ต่างกันตรงไหน?
ก่อนอื่นนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า เงินอุดหนุนทารกแรกเกิดนั้น ไม่ใช่เงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม เรียกได้ว่า เป็นคนละส่วนกันเลยค่ะ เงินสงเคราะห์บุตรนั้น เป็นสิทธิจากประกันสังคมที่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ประกันตนทุกมาตราของสำนักประกันสังคม สำหรับเงินเด็กแรกเกิด ณ ตอนนี้ คือ
- เงินเด็กแรกเกิดจากรัฐบาล
- เงินเด็กแรกเกิด ช่วงรอยต่อ 2 แผ่นดิน
สำหรับประกันสังคม คุณแม่ที่เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ประกันตน ถ้ากำลังจะคลอดลูก สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมคนท้องได้ แต่เงินสงเคราะห์บุตรจะเป็นผลก็ต่อเมื่อ คุณแม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 5 เดือน และอยู่ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดลูก ถึงจะได้สิทธิ์เงินสงเคราะห์ของสำนักประกันสังคม ถ้าเกิดว่าบ้านไหน มีทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิ์ต่าง ๆ ก่อนขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ ดังนี้
สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายแม่
- เบิกเงินกรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท ต่อครั้ง
- จะได้เงินสงเคราะห์ หรือเงินชดเชยรายได้ที่หยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน
- แต่สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรแล้ว
- แต่ถ้ามีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ แล้วต่อมาแท้งบุตร ผู้ประกันตนนมีสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เพราะครรภ์ 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ถือว่าเป็นกรณีคลอดบุตร
สิทธิ์ของผู้ประกันตนฝ่ายพ่อ
- เบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนแบบเดียวกับผู้ประกันตนฝ่ายแม่
- ผู้ประกันตนฝ่ายพ่อจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
- ถ้าสามีและภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้
จากที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นสิทธิประโยชน์จากการเป็นผู้ประกันตนของสำนักประกันสังคม เงินสงเคราะห์บุตรจะเบิกใช้ได้ก็ต่อเมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุนมาแล้ว 36 เดือน เมื่อลูกอายุครบ 6 ปี สิทธิ์จะหมดอายุทันที