AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เด็กจมน้ำ ช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

Credit Photo : Manager

คุณพ่อ คุณแม่คงเคยได้ยินข่าว เด็กจมน้ำ กันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนปิดเทอม มักจะมีข่าวนี้ออกมากกว่าปกติ เพราะหลายครอบครัวใช้เวลาในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนไปกับท่องเที่ยว ทั้งไปทะเล เที่ยวน้ำตก หรือเล่นน้ำตามแม่น้ำลำคลองเพื่อคลายร้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องงระวังให้มากๆ

สองพี่น้องเด็กหญิงชาวพม่า พี่คนโตอายุ 11 ขวบ ส่วนคนน้องอายุ 10 ขวบ ชวนกันมาเล่นน้ำคลายร้อนในแม่น้ำเมยที่หาดพัทยาวังแก้ว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังช่วงหน้าร้อนระหว่างชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก แต่เคราะห์ร้ายที่สองพี่น้องพากันจมน้ำตรงบริเวณช่วงร่องน้ำลึก ซึ่งพ่อแม่ไม่ทันได้ระวังและสังเกตตรงบริเวณที่ลูกลงเล่นน้ำ

ที่ในเวลาต่อมาถึงแม้จะมีการช่วยเหลือสองพี่น้องขึ้นมาจากน้ำ ได้ทีมแพทย์สนามช่วยปั๊มหัวใจ แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ทัน ซึ่งเป็นที่น่าสะเทือนใจต่อผู้พบเห็นและช่วยเหลืออย่างมาก

Credit Photo : Manager

เด็กจมน้ำ เกือบ 350 ชีวิตช่วงหน้าร้อน

ล่าสุด ทางสำนักโรคไม่ติดต่อ ได้รณรงค์เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยขอความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว และชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง เพราะจากสถิติเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2550 – 2559 พบว่า เด็กจมน้ำ เสียชีวิต กว่า 350 ชีวิต มากที่สุดในช่วงปิดเทอม คือช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม

จากสถานการณ์เด็กจมน้ำภายใน 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า เด็กที่มีความเสี่ยงจมน้ำมากที่สุด คือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รวมทั้งสิ้น 10,156 คน และกลุ่มเด็กที่เสียชีวิตสูงสุด คือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 9 ขวบ สูงถึง 40.5% รวมถึงพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึง 2 เท่า และพบในเดือนเมษายนมากที่สุดด้วย

ในปี 2559 จากการเฝ้าระวัง เด็กจมน้ำ จากสื่อ และข่าว พบว่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “บ้านเริ่ม ชุมชนร่วมป้องกันเด็กจมน้ำ” คลิกหน้า 2

บ้านเริ่ม ชุมชนร่วมป้องกัน เด็กจมน้ำ

การร่วมมือกันเพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการจมน้ำของเด็กๆ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกัน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างมาก โดยเริ่มจากที่บ้าน ดังนี้

1.สร้างคอกกั้นเด็กให้ลูกน้อยที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพื่อป้องกันลูกน้อยซุกซน แล้วคลาน หรือเดินเตาะแตะไปที่แหล่งน้ำ

2.เทน้ำทิ้งทุกครั้งหลังใช้งาน อย่าคิดว่าน้ำในกะละมังตื้นๆ จะไม่เป็นอันตรายกับเด็กๆ เพราะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตในกะละมังมามากแล้ว

3.ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำทุกชนิด เพื่อป้องกันลูกน้อยตกลงไป เพราะเพียงแค่ไม่กี่นาที ลูกน้อยก็อาจมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

นอกจากนี้คุณพ่อ คุณแม่ และชุมชน ก็ควรร่วมมือกันเพื่อป้องกันอันตรายจากการจมน้ำด้วย โดยปฏิบัติ ดังนี้

1.สร้างรั้วกั้นบริเวณแหล่งน้ำใกล้ชุมชน แล้วติดป้ายเตือนระวังน้ำลึก หรือพลัดตกน้ำได้

2.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเอาไว้ใกล้ๆ แหล่งน้ำ เช่น เสื้อชูชีพ ห่วงยาง เชือก หรือไม้ยาว

3.สอนลูกน้อยให้มีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ เมื่อเกิดผิดพลาด หรือมีอุบัติเหตุ เช่น เป็นตะคริว ต้องรู้จักหาเครื่องทุ่นแรง หรือเทคนิคในการลอยตัวด้วย

4.ติดตามข้อมูลข่าวสารการเฝ้าระวังภัย จากข่าว และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “สระว่ายน้ำไม่ควรมีคนจมน้ำ” คลิกหน้า 3

สระว่ายน้ำไม่ควรมีคนจมน้ำ

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ต้องพาลูกน้อยไปเล่นน้ำคลายร้อนในสระว่ายน้ำต่างๆ คุณพ่อ คุณแม่ต้องสังเกต 4 ข้อใหญ่ ว่าสถานที่นั้นมีครบถ้วนหรือไม่ เพื่อป้องกันลูกน้อยจมน้ำ

1.มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ 1 คน ต่อคนว่ายน้ำ 50 คน และอยู่ประจำสระตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ

2.มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต และป้ายสอนการใช้งานที่เพียงพอ และอยู่ใกล้สระ เช่น ห่วงชูชีพ โฟมลอยตัว เชือก ไม้ ชุดปฐมพยาบาล อุปกรณ์ช่วยชีวิต

3.มีป้ายแสดงเครื่องหมาย และข้อความต่างๆ เช่น ป้ายบอกระดับน้ำ ป้ายห้ามกระโดด ป้ายกฎระเบียบของสระ ป้ายสอนขั้นตอนการปฐมพยาบาล ป้ายเบอร์โทรศัพท์ช่วยเหลือฉุกเฉิน

4.มีรั้วกั้นรอบสระว่ายน้ำทั้ง 4 ด้าน โดยสูงอย่างน้อย 1.2 เมตร เป็นแนวตั้งห่างกันไม่เกิน 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการพลัดตกลงไปในสระ

นอกจากการระมัดระวังลูกน้อยจมน้ำจากแหล่งน้ำนอกบ้านแล้ว คุณพ่อ คุณแม่ก็ควรระมัดระวังอันตรายแหล่งน้ำในบ้านด้วยเช่นกัน เพราะจากสถิติแล้วพบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 400 คน โดยแหล่งน้ำที่เสี่ยง ได้แก่ ถังน้ำ กะละมัง ตุ่มน้ำ อ่างน้ำ และบ่อเลี้ยงปลา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ตัวอย่างเด็กจมน้ำ และการป้องกัน” คลิกหน้า 4

ตัวอย่าง เด็กจมน้ำ และการป้องกัน

จากข่าวตัวอย่าง หนูน้อยวัย 1 ขวบที่วิ่งเล่นอยู่ในบ้าน แต่กลับพลาดจมน้ำในถังน้ำที่บ้าน เพราะคุณยายช่วยไม่ทัน เนื่องจากหนูน้อยสำลักน้ำเป็นเวลานานจนขาดใจ ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

เด็กเล็กมักจมน้ำในแหล่งน้ำภายในบ้าน ส่วนใหญ่เพราะความไม่รู้ของผู้ปกครองปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง ถึงแม้ว่าจะเป็นเวลาสั้นๆ เช่น ทำกับข้าว คุยโทรศัพท์ จึงต้องใช้วิธีป้องกันสำหรับเด็กเล็กคือ “เทน้ำ กั้นคอก ปิดฝา เฝ้าดูตลอดเวลา” และการป้องกันสำหรับเด็กโตคือ “ลอยตัว ชูชีพ ช่วยเหลือ ปฐมพยาบาล” รวมทั้งสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม”  และ “ตะโกน โยน ยื่น” ให้กับเด็กด้วย


เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “การช่วยเหลือเมื่อเห็นเด็กจมน้ำ” คลิกหน้า 5

การช่วยเหลือเมื่อเห็น เด็กจมน้ำ

1.พาเด็กที่จมน้ำนอนบนพื้นราบ แห้ง และแข็ง ดูว่ารู้สึกตัวหรือไม่ ใช้มือ 2 ข้างจับไหล่เขย่า เรียกดังๆ

2.ถ้ารู้สึกตัว เช็ดตัวให้แห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้า ห่มผ้า และพาส่งโรงพยาบาล ตรวจเพื่อความปลอดภัย

3.ถ้าไม่รู้สึกตัว ให้เปิดทางเดินหายใจ โดยกดหน้าผาก เชยคาง เป่าปาก บีบจมูก ให้อกยกขึ้น 2 ครั้ง แล้วกดนวดหัวใจ วางสันมือขนานกึ่งกลางอก ประสานมือ แขนตั้งฉาก ความเร็ว 100 ครั้ง/นาที ห้ามจับเด็กพาดบ่า แล้วกระแทกเอาน้ำออก

4.ถ้าหายใจได้แล้วให้จับนอนตะแคงข้าง ศีรษะหงายไปข้างหลัง ให้น้ำไหลออก แล้วส่งโรงพยาบาล

ทำไมถึงห้ามจับเด็กพาดบ่า แล้วกระแทกเอาน้ำออก?

เมื่อเด็กๆ จมน้ำ ยังมีคนจำนวนมากถึง 92.6% เข้าใจผิดว่าเมื่อช่วยเด็กขึ้นมาจากน้ำแล้วต้องอุ้มพาดบ่า และกระแทกเอาน้ำออก ซึ่งเป็นการช่วยที่ผิด คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองระมัดระวัง เพราะลูกน้อยอาจเสี่ยงเสียชีวิตได้ในทันที

เครดิต: สำนักโรคไม่ติดต่อ สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ข่าวสด

 

เครดิตข่าวและภาพ
www.manager.co.thwww.matichon.co.th

 

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

อุทาหรณ์เตือนใจ ลูกจมน้ำตาย เพราะมือถือ

เทคนิคสอนเด็กว่ายน้ำเอาตัวรอด ป้องกันเด็กจมน้ำ

อันตราย!! ช่วยลูกน้อยจมน้ำผิดวิธี เสี่ยงถึงตาย!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save