จากประสบการณ์ของคุณพ่อ คุณแม่ชาวบราซิลที่ซื้อ ลูกโป่งอัดแก๊ส อันตราย ให้ลูกน้อยเล่น เมื่อลูกโป่งที่เด็กๆ ชื่นชอบกลับทำอันตรายให้กับลูกน้อยอย่างคาดไม่ถึง จากคำเรียกร้องของทุกคน คุณพ่อ คุณแม่จึงได้แบ่งปันคลิปวิดีโอ และภาพถ่ายเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ ให้ระมัดระวังลูกโป่งชนิดนี้ให้ดี
ลูกโป่งอัดแก๊ส อันตราย
สวัสดีทุกคน! หลังจากที่มีหลายคนเรียกร้องกันมามาก เราจึงตัดสินใจแบ่งปันคลิปวิดีโอนี้ เพื่อเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ เตือนถึงอันตรายที่อยู่ในลูกโป่งนี้ ซึ่งเราได้ซื้อให้ลูกของเรา แล้วนำกลับมาบ้านด้วย โดยไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น กล้องวงจรปิดในบ้านของเราจับภาพเหตุการณ์นั้นไว้ได้
จอห์น ลูกชายคนกลางของฉัน กำลังเล่นลูกโป่งอย่างไม่ได้คิดอะไร เขาใช้เท้าเหยียบลูกโป่ง แล้วเอามือบีบที่ลูกโป่งด้วยมือเปล่า ก่อนที่ลูกโป่งลูกนั้นจะระเบิดและลุกเป็นไฟ ขอบคุณพระเจ้าที่เขามีแค่รอยไหม้ที่ขาขวา และขาซ้ายเล็กน้อยเท่านั้น อันตรายมีอยู่รอบตัวเรา แม้กระทั่งในลูกโป่ง จึงอยากฝากเตือนให้ทุกคนระมัดระวัง เพราะมันคงเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ถ้าเราต้องเห็นเด็กกรีดร้อง ด้วยความเจ็บปวด โดยที่เราไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย นอกจากนี้ คุณพ่อ คุณแม่ควรศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเอาไว้ก็จะดี
โพสต์โดย Mariana Vasconcelos บน 25 เมษายน 2016
Olá pessoal!!! Depois de muitos pedidos de pessoas que convivem conosco e participaram de alguma forma desse momento…
โพสต์โดย Mariana Vasconcelos บน 25 เมษายน 2016
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ลูกโป่งสวรรค์ ห้ามใช้ก๊าซไฮโดรเจน” คลิกหน้า 2
ลูกโป่งสวรรค์ ห้ามใช้ก๊าซไฮโดรเจน
ลูกโป่งสวรรค์ที่บรรจุก๊าซไฮโดรเจนไวไฟสูง เสี่ยงต่อการระเบิดและลุกไหม้ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต จึงควรวางลูกโป่งเอาไว้ให้พ้นมือเด็ก นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ลูกโป่งมักใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข สนุกสนาน เอาไว้ใช้ในเทศกาล เช่น วันเกิด แต่งงาน พิธีเปิดต่างๆ คริสมาสต์ และปีใหม่ แต่ก็มีเหตุการณ์ระเบิดจากลูกโป่งอยู่บ่อยครั้ง เพราะก๊าซที่บรรจุคือก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งมีความไวไฟสูง ติดไฟง่าย เมื่อโดนความร้อน หรือประกายไฟ จะทำให้ระเบิดได้
ลูกโป่งสวรรค์จึงไม่ควรเล่นกลางแดด ห้ามนำไปเข้าใกล้หลอดไฟ และอย่านำมารวมกันหลายๆ ลูก เพราะยิ่งอันตรายมากขึ้น อาจจะกลายเป็นระเบิดลูกใหญ่ ทำให้มีความร้อน และเปลวไฟลวกผิวหนัง และเป็นอันตรายถึงชีวิต
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ลูกโป่งในประเทศไทย ใช้ก๊าซ 2 แบบ คือ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซฮีเลียม ผู้ที่ต้องการใช้ลูกโป่งสววรค์ ควรเลือกลูกโป่งที่บรรจุด้วยก๊าซฮีเลียม ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพง แต่ปลอดภัยกว่า เพราะเป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ติดไฟ ไม่มีปัญหาระเบิด และรั่วซึมยาก แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ ควรระมัดระวังและติดป้ายเตือนว่า ห้ามนำเข้าใกล้ความร้อน หรือประกายไฟ ต้องไม่นำมารวมกันเป็นพวงใหญ่ วางไว้ในที่ร่ม และห่างจากหลอดไฟ
ถ้ามีการประดับตกแต่งสถานที่ด้วยลูกโป่งสวรรค์ จะต้องวางไว้ให้พ้นมือเด็ก ถ้าลูกโป่งแตกควรเก็บเศษไปทิ้งทันที เพื่อป้องกันเด็กหยิบเศษลูกโป่งขึ้นมาอม หรือกัดเล่น เพราะอาจลื่นเข้าไปในลำคอ และอุดตันทางเดินหายใจได้
เครดิต: Mariana Vasconcelos, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
Kid Safety – ภัยจากลูกโป่ง ดอกไม้ไฟ ในงานเทศกาล
อุทาหรณ์ 13 สิ่งของต้องระวัง ทำลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิต
10 ข้อเตือนใจ ป้องกันไฟไหม้บ้าน (และสถานที่ที่มีเด็กอยู่)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save