AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ประสบการณ์ตรง เรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

มีคุณแม่คนหนึ่ง ทำงานอยู่ที่ อบต. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด โดยตรง โดยคุณแม่เล่าว่า การขึ้นทะเบียนนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้ ถ้ามีกำหนดคลอดไม่เกิน 30 กันยายน 2560 ซึ่งจะได้รับเงินเดือนละ 600 บาท ตลอดระยะเวลา 3 ปี และขึ้นทะเบียนก่อนได้

เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ยังไม่คลอดลูกน้อย สามารถขึ้นทะเบียนก่อนได้ และเมื่อคลอดลูกน้อยแล้ว ก็ให้นำสำเนาสูติบัตรไปยื่นที่เจ้าหน้าที่ อบต. ในเขตพื้นที่ที่คุณแม่อาศัยอยู่ แต่คนที่จะมีสิทธิขึ้นทะเบียนได้นั้น จะต้องไม่ใช่ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ประกันสังคม สวัสดิการรัฐ และรายได้รวมของครอบครัวต้องไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท หรือ 36,000 บาทต่อปี เช่น

ถ้าในบ้านมีคน 5 คน มีคนทำงานเพียงคนเดียว เดือนละ 15,000 บาท ก็เท่ากับ 15,000 x 12 = 180,000 / 5 คน = 36,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท ก็จะมีสิทธิ์ที่จะสามารถลงทะเบียนได้

คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิ์

1.คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ยากจน หรือมีความเสี่ยงต่อความยากจน

2.เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2560

3.สัญชาติไทย (บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดา มีสัญชาติไทย)

4.มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน

5.ครอบครัวมีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ไม่มีรถส่วนบุคคล หรือเป็นเกษตรกรที่มีที่ดินไม่เกิน 1 ไร่

6.ไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิ์ประโยชน์อื่นจากรัฐ เช่น เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของรัฐ บ้านพักเด็กและครอบครัว รวมถึงสถานสงเคราะห์ของรัฐ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “หลักการขึ้นทะเบียนรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” คลิกหน้า 2

สรุปหลักการขึ้นทะเบียนรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

1.การขึ้นทะเบียน ยึดที่ตัวคุณแม่เป็นหลัก ว่ามีประกันสังคม หรือสิทธิ์ข้าราชการหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับสามี

2.คุณแม่ที่ได้รับสิทธิ์เบิกของข้าราชการ เช่น จดทะเบียนกับข้าราชการหรือไม่

3.ในทะเบียนบ้านที่คุณแม่อาศัยอยู่มีกี่คน แต่ละคนมีรายได้เท่าไหร่ นำมารรวมกันแล้วหารจำนวนคน ถ้าไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน หรือ 36,000 บาทต่อปี ก็สามารถลงทะเบียนได้ โดยคุณแม่จะต้องลงทะเบียนรับสิทธิที่ อบต. หรือเขต/เทศบาลที่คุณแม่มีทะเบียนบ้านอยู่

4.ถ้าคุณแม่ยังไม่ได้คลอดลูกน้อย ให้นำสมุดฝากครรภ์ หน้า 1 ที่มีข้อมูลของคุณพ่อ คุณแม่ และที่อยู่ ถ่ายเอกสารพร้องรับรองสำเนาถูกต้อง ติดไปด้วย ถ้าคุณแม่คลอดลูกน้อยแล้ว ให้นำสำเนาสูติบัตรไป

5.ให้นำสำเนาหน้าสมุดบัญชีของคุณแม่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของคุณแม่ และคุณพ่อ และทะเบียนบ้านตัวจริงมาแสดง พร้อมรูปถ่ายของคุณแม่ ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป

7.หลังจากที่คุณแม่เตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วก็สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ที่อบต./เขต/เทศบาล ที่คุณแม่อาศัยอยู่

8.เจ้าหน้าที่จะสอบถามรายได้ในครัวเรือนทั้งหมด และให้กรอกรายละเอียดทั่วไป และรับรองว่าเป็นแม่ผู้มีรายได้น้อยจริง โดยจะมีผู้รับรอง 2 คน คนที่ 1 คือ อสม. คนที่ 2 คือผู้นำชุมชน เช่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน

9.หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะรวบรวมเอกสารของคุณแม่ทั้งหมด ส่งไปที่พัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่จะดำเนินการคีย์ข้อมูล และโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารของคุณแม่ ประมาณ 2 เดือน

10.หลังจากขึ้นทะเบียนแล้ว ถ้าคุณแม่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ ให้ติดต่อ อบต./เทศบาลที่คุณแม่ไปขึ้นทะเบียนไว้ เพื่อสอบถามรายละเอียด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ถาม-ตอบ ไขข้อสงสัยเรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” คลิกหน้า 3

ถาม-ตอบ ไขข้อสงสัยเรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

1.ทำไมบางคนได้เงิน บางคนไม่ได้เงิน?

คำตอบ: การเซ็นรับรองขึ้นอยู่กับบุคคล 2 คน คือ อสม. และผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่น

2.ใครที่มีสิทธิลงทะเบียนได้บ้าง?

คำตอบ: คุณแม่ที่คลอดลูกน้อยตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 – 30 กันยายน 2560 สามารถลงทะเบียนได้

3.คุณแม่มีทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่มาอาศัยอยู่กับคุณพ่ออีกจังหวัดหนึ่ง ต้องลงทะเบียนที่ไหน?

คำตอบ: ยึดตามทะเบียนบ้านของคุณแม่เป็นหลัก ในทะเบียนบ้านมีกี่คน รวมรายได้เท่าไหร่ แล้วหารกัน

4.ถ้าคุณพ่อเป็นข้าราชการ แต่คุณแม่ไม่มีประกันสังคม แล้วยังได้รับสิทธิ์ได้หรือไม่?

คำตอบ: ไม่ได้ ถ้าคุณแม่จดทะเบียนกับคุณพ่อ ให้ใช้สิทธิ์สวัสดิการของข้าราชการ

5.อายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดหรือไม่?

คำตอบ: คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ และคลอดลูกในเวลาที่กำหนดสามารถใช้สิทธิ์ได้

6.คลอดแล้ว ยังไม่ได้รับเงินเลยทำอย่างไรดี แล้วจะได้เมื่อไหร่?

คำตอบ: ให้คุณแม่ตามเรื่องที่ อบต./เทศบาลที่ลงทะเบียน เงินจะโอนเข้าบัญชีไม่เกิน 2 เดือน

7.ถ้าได้ หรือไม่ได้ เจ้าหน้าที่จะโทรมาแจ้งหรือไม่?

คำตอบ: ให้คุณแม่ตามเรื่องที่ อบต./เทศบาลที่ลงทะเบียน เงินจะโอนเข้าบัญชีไม่เกิน 2 เดือน

8.อยากทราบว่าเด็กที่ลงทะเบียนไปเมื่อปีที่แล้ว จะได้กี่ปี?

คำตอบ: ปีงบประมาณที่ผ่านมา 400 บาท เริ่ม รับ 600 บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 เป็นเวลา 3 ปี

9.พ่อแม่ทำงานรับจ้าง ลูกอยู่กับตายาย แต่พอไปถามเทศบาลกลับบอกว่ามีฐานะอยู่แล้ว เพราะอะไร?

คำตอบ: เจ้าหน้าที่จะดูที่ทะเบียนบ้านของคุณแม่เป็นหลัก รายได้รวมในครอบครัวต้องไม่เกิน 3,000 บาท

10.ถ้าคุณแม่มีประกันสังคม แต่คุณพ่อไม่มี คุณพ่อสามารถยื่นเรื่องได้หรือไม่?

คำตอบ: ไม่ได้ ถ้าจะให้คุณพ่อยื่นเรื่องให้ ต้องเป็นกรณีที่คุณแม่เป็นต่างด้าว หรือเสียชีวิตเท่านั้น

เครดิต: Ople Pho

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ประจำปี 2560 เรื่องดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เปิดลงทะเบียน 15 กันยายนนี้!

ประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร แบบครบถ้วน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids