AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หมอรามาแนะ วิธีสร้างทักษะความปลอดภัยให้ลูกจากกรณี เด็กตกตึก

จากกรณีข่าวดัง เด็กตกตึก จนเสียชีวิต ทำให้หลายครอบครัวคงต้องกลับมาตั้งคำถามกันว่า เราดูแลลูกดีพอแล้วหรือยัง? เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้เพียงเสี้ยววินาทีค่ะ

 

เด็กตกตึก จนเสียชีวิต อุบัติเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิด

เป็นอีกหนึ่งข่าวดัง ที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจมากๆค่ะ สำหรับกรณี เด็กตกตึก จนเสียชีวิต ซึ่งเด็กทั้ง 4 คนที่พลัดตกจากตึกที่อยู่อาศัยนั้น เป็นพี่น้องกัน และหนึ่งในนั้นเป็นเด็กน้อยวัยเพียง 5 ปี ที่เสียชีวิตแล้วจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งจากข่าวที่ได้มีการเผยแพร่นั้น เผยว่า สาเหตุเกิดจากการที่เด็กทั้ง 4 คนนั้น ถูกปล่อยให้อยู่กันเองตามลำพัง จนเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนี้ขึ้น

เครดิตภาพ : Amarintv

ด้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของทักษะความปลอดภัย ที่พ่อแม่คววรฝึกให้ลูก เพื่อจะได้เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลดใจขึ้น จึงได้มีการจัดบรรยาย “ บทเรียนพ่อแม่ กรณี เด็กตกตึก ” ซึ่งคุณหมอ อดิศักดิ์ ได้กล่าวว่า

“โดยหลักการแล้วเด็กจะสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองเมื่ออายุประมาณ 12 ปี แต่เด็กต้องได้รับการฝึกฝน ได้รับการสอน จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยและได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถอยู่ได้ตามลำพัง โดยต้องฝึกเด็กตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป มีการฝึกการทดสอบการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงกรณีฉุกเฉินด้วย ซึ่งเป็นลักษณะเด็กอยู่คนเดียว (Home Alone) แต่กรณี เด็กตกตึก 4 คนที่เป็นข่าว ไม่ใช่ลักษณะเด็กอยู่คนเดียว แต่เด็กที่เป็นพี่คนโตวัย 11 ปีต้องดูแลน้องอีก 3 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กอยู่คนเดียว หรือเด็กที่ต้องดูแลน้องโดยไม่มีผู้ใหญ่อยู่ ต้องมีทั้งวุฒิภาวะ และต้องได้รับการฝึกฝน  ทั้งนี้ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก และ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก ได้จัดทำโครงการทักษะความปลอดภัยที่แบ่งตามอายุของเด็ก 10 ทักษะความปลอดภัยที่เด็กต้องเรียนรู้ในโรงเรียน โดยพฤติกรรม Home Alone จะเริ่มสอนตอนอายุ 10 ปี ให้เด็กเรียนรู้เรื่องการตัดสินใจ การแก้ปัญหาฉุกเฉิน การถูกล่อลวง เป็นต้น เพราะเหตุฉุกเฉินมีอีกหลายกรณีไม่ใช่เรื่องเด็กตกตึกเท่านั้น ดังนั้น ต้องช่วยกันสร้างแนวคิดให้สังคมหันมาสนใจ โดยต้องยกระดับความรู้สึกร่วมรับผิดชอบให้เพิ่มขึ้น”

กรณี เด็กตกตึก อาจจะไม่เกิดขึ้น หากเด็กมีความพร้อมดังนี้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

กรณี เด็กตกตึก อาจจะไม่เกิดขึ้น หากเด็กมีความพร้อมดังนี้

ซึ่งคุณหมอ อดิศักดิ์ ยังเผยอีกว่า หากจำเป็นต้องให้ลูกอยู่บ้านเพียงลำพัง คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจารณาว่าลูกมีความพร้อมเหล่านี้หรือไม่? 

 

นอกจากความพร้อมของเด็กแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรจะต้องเตรียมตัว คือ?

กฏหมาย และระบบช่วยเหลือในการดูแลและคุ้มครองเด็ก

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หมวด 2 มาตรา 25 กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใดๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพ หรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม โดยผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักการที่ควรคำนึงถึงเบื้องต้น ก่อนให้ลูกอยู่บ้านเพียงลำพังก็คือ หากลูกยังต้องได้รับการดูแลจาก ผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด พ่อแม่ก็ไม่ควรทิ้งลูกไว้ตามลำพัง ซึ่งพัฒนาการด้าน ความคิดเชิงตรรกะนั้น จะมาพร้อมกับความเป็นวัยรุ่นของเด็ก คือช่วงอายุประมาณ 12 ปีเป็นต้นไป เด็กวัยนี้จะเริ่มมีความสามารถคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตัดสินใจภาวะฉุกเฉินต่างๆได้ดีเมื่อได้รับการสอน หรือฝึกฝนที่ดีด้วย

นอกจากกรณีข่าวดัง เด็กตกตึก เสียชีวิตแล้ว ยังมีอีกกรณี คือ เด็กเสียชีวิตในเนอสเซอรี่ ที่คุณหมอรามา ให้ความสำคัญอีกด้วยค่ะ

อ่านต่อ..กรณี เด็กเสียชีวิตในเนอสเซอรี่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 

อีกหนึ่งเรื่องที่คุณหมอ อดิศักดิ์ ให้ความสำคัญคือ  กรณีเด็กเสียชีวิตในเนอสเซอรี่

ซึ่งคุณหมอได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องนี้ว่า “กรณีเด็กตายในเนอสเซอรี่ จริงแล้วแม่ที่ฝากเด็กไว้กับเนอสเซอรี่ เมื่อพบบาดแผลบนตัวเด็กโดยรู้สึกว่าไม่น่าเชื่อถือ หรือเกิดบาดแผลในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด หรือบาดแผลรุนแรงมาก ควรพาไปพบแพทย์ หากแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าเด็กจะถูกกระทำ แพทย์ต้องรายงานสายด่วน 1300 ทันที และรายงานต่อตำรวจ  จากนั้นสายด่วน 1300 ต้องเข้าไปช่วยเหลือเด็กตั้งแต่แรก และดำเนินการยุติการบริการของเนอสเซอรี่ทันที เมื่อสงสัยว่าจะมีการประกอบการที่ไม่เหมาะสม คนที่จะผลักดันให้ระบบเดินหน้าไม่ใช่แม่ที่ลูกเสียชีวิตและมาแจ้งความกับตำรวจ แต่ต้องเริ่มตั้งแต่คนที่พบเห็นตั้งแต่แรก เช่น พ่อแม่ หมอ ตำรวจ ใครพบเหตุก่อนจะต้องรายงานสายด่วน 1300 ทันที 

 

ซึ่งในกรณีนี้ ก็มีกฎหมายคุ้มครอง คือ

คลิกอ่าน การเลือกเนอสเซอรี่ให้ปลอดภัยกับลูก

 

เรื่องของอุบัติเหตุ ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะคะ อย่างข่าว เด็กตกตึก เสียชีวิต และข่าวเด็กตายในเนอสเซอรี่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรอบคอบ ระมัดระวัง รวมถึงรู้จักที่จะศึกษาวิธีป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกของเราได้ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่รู้จักที่จะป้องกันไว้ก่อน ก็จะเป็นการช่วยลดการสูญเสียร้ายแรงได้ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

อุบัติเหตุในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

อัพเดทราคา แพคเกจวัคซีน 2561 จาก 12 โรงพยาบาลดัง

แม่ท้องระวัง ไข้มาลาเรีย เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และลูก

ดึงแขนลูกแรง แม่ต้องระวัง! เสี่ยงกระดูกข้อศอกเคลื่อนได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids