วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส - amarinbabyandkids
ความซื่อสัตย์

9 วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส

event
ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์

วิธีสอนลูกให้มีความซื่อสัตย์ พ่อแม่ควรปลูกฝังความซื่อสัตย์ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก  โดยเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์ ทั้งการซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ต่อการทำงาน และต่อการดำรงชีวิต พ่อแม่ควรสอนให้ลูกพิจารณาประโยชน์ของความซื่อสัตย์และโทษของความไม่ซื่อสัตย์ว่าเป็นอย่างไร สอนลูกให้สามารถฝึกหัดควบคุมตนให้ได้ โดยเริ่มจากการควบคุมทางกายและวาจาก่อน ด้วยการประพฤติตามหลักศีล 5 ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา ได้แก่

  • เว้นจากปาณาติบาต

คือ ละเว้นการฆ่า การสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย เป็นเรื่องการเคารพในตัวคน ในชีวิตสัตว์ การที่เราเป็นผู้ไม่เบียดเบียน นับเป็นการให้สิ่งที่ล้ำค่า คือ ให้ความปลอดภัยกับผู้คนรอบข้างและสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ก็เป็นสิ่งที่งดงาม

  • เว้นจากอทินนาทาน

คือ ละเว้นการลักขโมย เบียดบัง แย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน เป็นการเคารพในทรัพย์สิน ในสิ่งของของคนอื่น อันไหนที่ไม่ใช่ของเรา เราไม่สนใจ ถือว่าไม่มีความหมายสำหรับเรา เพราะไม่ใช่ของเรา และจะทำให้เรามีความละเอียดมากขึ้น ทำให้จิตใจซื่อตรง สามารถเคารพนับถือตัวเองได้

ความซื่อสัตย์

  • เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

คือ ละเว้นการประพฤติผิดในกาม  ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหนอันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจ  ตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขาให้สับสน เป็นการไม่ประพฤติผิดในกาม ที่ทำให้ความวุ่นวายในครอบ ครัวลดน้อยลง เริ่มต้นจากครอบครัวของเรา อันเป็นสังคมเล็กๆ พ่อแม่แสดงโลกให้ลูกเห็นว่า เราอยู่ด้วยกัน เชื่อถือไว้วางใจกันได้ งดเว้นในการประพฤติตามอารมณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นกับคนอื่นทั้งหมด มีความจงรักภักดีต่อกัน ครอบครัวเราจึงจะมีความสุขได้ยาวนาน

  • เว้นจากมุสาวาท

คือ ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ไม่ประทุษร้ายเขา หรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา ไม่โกหก ไม่พูดเท็จ ข้อนี้นับว่าเป็นข้อที่ยาก เพราะเราต้องมีสติ ต้องรู้ตัว  ต้องระมัดระวัง จึงจะรักษาข้อนี้ได้ แล้วเราจะทำอย่าง ไรจึงจะพูดโดยไม่ผิดศีลและไม่ทำให้คนรอบข้างเสียใจ สมมุติว่าคนอยู่ด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน เป็นแฟนกัน พูดความจริงตลอด หลังจากนั้นพูดเท็จเพียงครั้งเดียว คำพูดเท็จ คำโกหกเพียงครั้งเดียวจะมีน้ำหนักมากกว่าคำจริงทั้งหมดที่ผ่านมา และพอเราพูดโกหก เราโกหกครั้งเดียวคงไม่จบ เพราะว่าจะต้องจำว่าพูดไว้อย่างไร ไปๆ มาๆ เราจะจำไม่ได้เอง สับสนวุ่นวาย หากเราต้องการความสุขในครอบครัว  ความสุขในชุมชน เราก็พยายามที่สุดที่จะไม่พูดสิ่งที่ไม่เป็นจริง

  • เว้นจากสุราเมรัย

คือ ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา สิ่งเสพติด  อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ เช่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แม้อย่างน้อยก็เป็นผู้คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้ร่วมสังคม ไม่ดื่ม ไม่เสพสิ่งที่ทำให้มึนเมา ทำให้สติน้อยลง เหล้าทุกชนิดละลายความละอาย ไม่มีใครกินเหล้าแล้วฉลาดขึ้น ไม่มีใครกินเหล้าแล้วสุภาพขึ้น มีแต่กินเหล้าแล้วหยาบลง

สอนลูกทำบุญ

อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 ศีล

คือ บทศึกษาหรือบทฝึกหัดตัวเอง คนเราจะพัฒนาตัวเอง ต้องเริ่มที่กายและวาจา มีความฉลาดในการเลือกสิ่งที่ทำ และฉลาดในการเลือกสิ่งที่จะไม่ทำ โดยประพฤติต่อคนรอบข้าง ต่อสิ่งรอบข้าง ด้วยความเข้าใจในประโยชน์ของการไม่ทำบางสิ่งบางอย่าง และเห็นโทษของการกระทำบางอย่าง ซึ่งเป็นผลร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตัวเองและคนรอบข้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดังนั้น ศีลจึงเป็นเรื่องของความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับ ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เกิดความเข้าใจในการทำสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง ที่เป็นความจริง และสมัครใจที่จะงดเว้นจากการกระทำทั้ง 5 อย่าง ซึ่งเป็นเครื่องรับประกันการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ไม่หวาดระแวงต่อกัน เราทุกคนต้องการชุมชนที่ไว้ใจได้ แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะรักกัน

อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็สามารถงดเว้นจากการเบียดเบียนกันได้ ถึงจะไม่รักกัน เราก็เคารพซึ่งกันและกันได้ ไว้วางใจกันได้ ไม่ต้องคอยระแวงกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้สึกไม่ปลอดภัย แล้วจะหาความสุขได้จากที่ไหน ความสุขคงเกิด ขึ้นไม่ได้ เรื่องของศีล เราจะเห็นประโยชน์ในการรักษาได้ง่าย ต่อเมื่อเราสนใจในการพัฒนาชีวิตตัวเอง และต้องการจะมีชีวิตที่ราบรื่น มีชีวิตที่สงบ ปลอดภัย ก็ต้องงดเว้นจากสิ่งเหล่านี้

“การปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต สังคมต้องขับเคลื่อนทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงเรียน สังคม และสื่อซึ่งถือเป็นหน่วยที่สำคัญอย่างมาก อยากเสนอว่าสื่อซึ่งอาจจะเริ่มจากหนังสือพิมพ์หรือสื่อวิทยุ โทรทัศน์ควรมีกรอบเล็กๆ หรือรายการสั้นๆ เปิดเป็นพื้นที่ให้กับบุคคลที่กระทำความดี ซึ่งเป็นความดีเล็กๆ ที่สามารถสร้างกำลังใจ ความมั่นใจ ภาคภูมิใจให้กับลูกน้อยที่ทำดีได้อีกด้วย

ดังนั้นการสอนลูกเรื่องความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และจิตสำนึกไม่ใช่เรื่องยากนะคะ เพียงแค่ทุกคนเริ่มต้นจากครอบครัว แค่นี้ลูกของเราก็โตมาเป็นคนซื่อสัตย์ และทำให้สังคมไทยของเราน่าอยู่อีกด้วยค่ะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.บุษยนาฏ เรืองรอง , www.tnews.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up