วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส - amarinbabyandkids
ความซื่อสัตย์

9 วิธีสอนลูกเรื่อง ความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส

event
ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์

ตัวช่วยคุณพ่อคุณแม่ ปลูกฝังความซื่อสัตย์ให้กับลูกน้อย

1. เป็นแบบอย่างที่ดี

โดยการแสดงความซื่อสัตย์ให้ลูกเห็นทั้งในเรื่องของคำพูดและการกระทำเช่น ไม่พูดโกหกให้ลูกได้ยิน หรือเมื่อสัญญาว่าจะทำสิ่งใดก็ทำตามนั้น

2. พูดความจริง

ถ้าลูกพูดในสิ่งที่ที่ไม่เป็นจริง แม้สิ่งนั้นจะไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนก็ถือว่าเป็นเรื่องทีผิดเช่น เมื่อลูกบอกว่า “หนูยังไม่ง่วง” คุณต้องบอกลูกว่า “แม่รู้ว่าหนูยังอยากเล่นต่อ แต่แม่เห็นว่าลูกง่วงนอนมากแล้ว” การฝึกลูกให้กล้าพูดความจริงและไม่กลัวผลของการพูดความจริงในที่สุดลูกจะกลายเป็นเด็กที่ไม่โกหก

3. อย่าอ้างการโกหกว่าทำไปเพราะหวังดี

หลายคนมักจะให้เหตุผลของการโกหกว่าหากพูดความจริงแล้วจะทำให้คนอื่นไม่สบายใจ นั่นเท่ากับว่าคุณได้ปลูกฝังเรื่องความไม่ซื่อสัตย์ให้ลูกเข้าไปแล้วโดยไม่รู้ตัว

4. ชื่นชมลูกเสมอเมื่อลูกพูดความจริง

เช่นเมื่อทำจานแตกหรือสอบตกก็ควรชื่นชมที่ลูกกล้าบอกความจริง  เพื่อให้ลูกรู้ว่าการพูดความจริงเป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งพ่อแม่จะต้องให้ความรู้สึกปลอดภัยเสมอเมื่อลูกพูดความจริง

5. สอนผ่านเรื่องเล่านิทาน

เช่น เด็กเลี้ยงแกะ เพื่อลูกจะได้เข้าใจว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี  ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง รวมถึงละครหรือการ์ตูนที่มีเนื้อหาที่ส่อถึงความไม่ซื่อสัตย์  พ่อแม่ควรสอนและอธิบายให้ลูกเข้าใจทันทีว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

6.สอนให้เคารพกฎระเบียบขั้นพื้นทางของสังคม 

เพราะคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด ดังนั้นโอกาสที่เขาจะทำตามมีมาก วิธีการสอนลูกง่ายๆ ก็เช่น เมื่อขับรถเจอไฟจราจรสีแดง คุณพ่อต้องหยุดรถ และสอนลูกว่าทุกคนต้องทำตามกฎที่ตั้งขึ้นมาอย่างเคร่งครัด เพราะนอกจากลูกจะปลอดภัยแล้ว สังคมก็จะเป็นระเบียบอีกด้วย

7. ฝึกให้รู้จักรับผิดชอบสิ่งที่ตนทำ 

ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นในกรณีที่ลูกโกหก ต้องสอนให้ลูกยอมรับความจริง หากทำผิดก็ต้องบอกให้ลูกรับผิด คุณพ่อคุณแม่ต้องตักเตือน และช่วยแก้ไขปัญหาค่ะ ถึงแม้เรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องเล็กๆในบ้าน  แต่ก็สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกในอนาคตได้

8. สอนให้เป็นเด็กรู้จักพอ ไม่ละโมบอยากได้ของผู้อื่น

หยิบคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่เข้าใจง่ายมาสอนลูก เช่น หากมีจักรยาน 2 คันที่ราคาต่างกัน ต้องสอนถึงกำลังในการซื้อที่เราสามารถซื้อของ และสอนเพิ่มเติมว่าถึงแม้จะราคาถูกกว่า แต่ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน ลูกต้องรู้จักเก็บออมเงินเพื่อซื้อด้วยตนเอง ไม่ลักขโมย หรืออยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน

9. ปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ผ่านเรื่องรอบตัวในชีวิตประจำวัน 

ยกตัวอย่างเช่น หากไปเที่ยวนอกสถานที่ แล้วเจอกับถังขยะแต่ละประเภท ต้องสอนให้ลูกรู้จักแยกขยะเพื่อทิ้งลงถังให้ถูกต้อง อาจจะบอกเขาว่าให้ลูกลองคิดดู หากมีคนทิ้งขยะเช่น เศษแก้ว ลงในถังขยะผิดประเภท ผู้ที่มาเก็บขยะเพื่อนำไปขายก็อาจได้รับอันตรายถูกแก้วบาด ดังนั้นต้องมีจิตสำนึก นึกถึงส่วนรวม ซึ่งจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมนี้เองที่จะเป็นพื้นฐานให้ลูกมีความซื่อสัตย์ได้ค่ะ

อ่านต่อ >> “วิธีสอนลูกให้มีความซื่อสัตย์ ช่วยลูกปลอดภัยจากกิเลส” คลิกหน้า 4

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up