7 ข้อควรพิจารณา ก่อนเลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก - amarinbabyandkids
เลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก

7 ข้อควรพิจารณา ก่อนเลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก!

event
เลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก
เลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก

เลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก

6. เด็กบางคนมีปัญหากินข้าวยาก ส่วนใหญ่มักเป็นกรณีลูกคนเดียว ไม่มีใครกินด้วยหรือไม่ได้กินพร้อมพ่อแม่ จึงขาดโอกาสที่จะเลียนแบบการกระทำ ใช้วิธีป้อนตลอด ล่อหลอกให้กินโดยเปิดทีวีให้ดูไปด้วย แต่หมอก็คอยห้ามว่าอย่าให้ลูกดูทีวีมาก เลยไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรให้ลูกกินเก่งขึ้น

คำแนะนำคือ พยายามลองให้กินเอง กินพร้อมหน้าพร้อมตากัน เปลี่ยนเมนูเป็นสไตล์ที่เด็กอยาก ลองให้ลูกช่วยเตรียมอาหารหรือจัดโต๊ะ จะได้รู้สึกมีส่วนร่วม และปิดทีวีซะ!

7. เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการช้ากว่าวัยเล็กน้อย อาจเป็นเพราะขาดโอกาสในการฝึกฝน หรือไม่มีคนคอยกระตุ้นพัฒนาการ ซึ่งเด็กอาจดีขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็วถ้ามีการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธีโดยผู้มีความรู้ความชำนาญ

และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ประเมินสถานการณ์ที่เป็นอยู่ แล้วคิดว่าควรส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถาบันพัฒนาเด็กเล็ก สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือก คือ

  • ค่าใช้จ่าย เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
  • ที่ตั้ง ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน รับส่งและเดินทางสะดวก ลูกไม่เหนื่อยเกินไป
  • นโยบาย ตรงกับความต้องการของพ่อแม่ เช่น สนับสนุนการให้นมแม่ โดยยินดีป้อนนมลูกแบบจิบดื่มจากถ้วยแทนการให้ดูดจากขวด หรือให้ผลไม้แทนขนมหวาน
  • คุณภาพ สถานที่ ปลอดภัย ไม่มีประตูที่เด็กจะเดินออกไปเองตามลำพังได้ มีทางหนีไฟ ระบบตรวจจับควันไฟ การติดตั้งของเล่นมั่นคงดี มีที่จอดรถห่างจากที่เล่นของเด็ก ไม่แออัด การระบายถ่ายเทอากาศดี หากเป็นห้องแอร์ควรมีเครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกจะได้รับโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจควรมีห้องแยกสำหรับเด็กป่วย มีของเล่นที่หลากหลายและเหมาะกับเด็กแต่ละวัย เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการและมีจำนวนเพียงพอ ทางโรงเรียนควรมีกล้องวงจรปิดเพื่อคอยตรวจสอบและย้อนดูเหตุการณ์ได้ในกรณีที่มีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นแก่ลูก มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
  • บุคลากร – เพียงพอกับจำนวนเด็ก จะได้ดูแลเด็กอย่างทั่วถึง สุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคติดต่อ ไม่มีประวัติอาชญากรรม รักเด็ก ใจเย็น มีความรู้ความชำนาญในการดูแลเด็ก ไม่เปิดทีวีให้เด็กดู ผ่านการอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีโปรแกรมฝึกพัฒนาการที่แน่นอนสำหรับเด็กแต่ละช่วงอายุ ถ้ามีใบอนุญาตจัดตั้งสถานประกอบการและหลักสูตรที่มีมาตรฐานด้วยก็ยิ่งดี
  • ระบบการดูแลสุขภาพเด็ก – มีห้องแยกเด็กป่วย หรือไม่ให้มาเรียนจนกว่าจะพ้นระยะแพร่เชื้อ มีการสังเกตอาการเจ็บป่วยของเด็ก จะได้รีบแยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติก่อนที่จะมีการแพร่ระบาด และรีบโทรศัพท์ตามผู้ปกครองมารับเด็กกลับบ้านหรือพาไปตรวจที่โรงพยาบาล
    • ส่วนในกรณีที่เด็กป่วยแบบเฉียบพลัน และจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาทันที ทางโรงเรียนควรมีระบบการนำส่งให้เด็กได้รับการตรวจได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผู้ปกครอง เพราะอาจไม่ทันกาล เน้นเรื่องการล้างมือบ่อยๆ โดยมีก๊อกน้ำให้อย่างเพียงพอ หรือมีแอลกอฮอล์เหลวหรือแอลกอฮอล์เจลเอาไว้ถูมือก่อนจะเตรียมอาหารให้เด็ก และหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรืออาเจียนของเด็ก รวมทั้งหลังการอุ้มหรือสัมผัสเด็กแต่ละคน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
  • นอกจากนี้ต้องมีห้องเตรียมอาหารที่ถูกสุขลักษณะ จัดอาหารและของว่างถูกต้องตามหลักโภชนาการและน่าหม่ำ มีสุขอนามัยเรื่องการใช้ส้วมและกำจัดสิ่งปฏิกูล มีการแยกข้าวของเครื่องใช้ของเด็กแต่ละคนไม่ให้ปะปนกัน มีการทำความสะอาดห้องเรียน อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้และของเล่นเป็นประจำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ มีเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของโรงพยาบาล สถานีตำรวจ และสถานีดับเพลิงในที่ที่เห็นได้ง่าย

หลังเลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก และส่งลูกไป (โรงเรียน) จากเราเมื่อไร?

เลือกเนอสเซอรี่ให้ลูก

อย่างไรก็ดี นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ยังได้กล่าวอีกว่า เป็นที่เข้าใจได้ว่าเราต้านกระแสสังคมได้ยาก เพราะมีคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากส่งลูกไปสถานรับเลี้ยงเด็กเร็วมาก บ้างส่งลูกไปโรงเรียนอนุบาลเร็วมาก อีกทั้งได้ยินเรื่องการกวดวิชาเพื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาลและการสร้างห้องอัจฉริยะสำหรับเด็กอนุบาล   จะเป็นอย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจพัฒนาการของเด็กเล็กไว้บ้างก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาหรือช่วยทุเลาความเสียหายได้บ้าง

สำหรับคนที่ไม่ชอบวิชาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก เกิดเป็นพ่อแม่ให้เวลาเขามากที่สุด เล่นกับเขามากที่สุด และอ่านหนังสือให้เขาฟังก่อนเข้านอนตั้งแต่แรกเกิด  ทำเท่านี้ทุกอย่างจะดีเอง

เหตุผลที่ไม่ควรให้ลูกไปจากพ่อแม่ก่อน 3 ขวบเพราะ 3 ขวบปีแรกเขามีภารกิจที่ต้องทำหลายข้อ แต่ละข้อนั้นอาศัยคุณแม่และ/หรือคุณพ่อ หรือผู้ใหญ่ที่อุทิศตนหนึ่งคนทำหน้าที่ช่วยเหลือเขา ภารกิจเหล่านี้เขาทำเองไม่ได้และคุณครูที่โรงเรียนก็ช่วยไม่ได้

ซึ่งในทางปฏิบัติ ช่วง 4-5 ขวบเป็นเวลาที่เด็กจะได้ฝึกช่วยตนเองอย่างจริงจัง  กินข้าว แปรงฟัน แต่งตัว ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นเรื่องของตัวเอง เก็บที่นอน เทกระโถน เก็บจานของตนเอง ฝึกทำงานบ้านส่วนที่เป็นของสาธารณะ ช่วยกวาดบ้านถูบ้าน ล้างถ้วยล้างจาน ซักผ้าตากผ้า และฝึกทำตามกติกาสังคมนอกบ้าน รู้จักรอคอย รู้จักเข้าคิว รู้จักแบ่งปัน เรื่องเหล่านี้ที่จริงแล้วเราควรทำมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เขาใช้มือใช้เท้าได้ดี และเข้มข้นขึ้นทุกปีที่ผ่านไป  ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราจะได้คือเขาภูมิใจที่ช่วยตนเองและควบคุมอารมณ์ตนเองได้  นี่จึงเป็นความพร้อมที่แท้ก่อนไปโรงเรียน

ส่วนในทางทฤษฎี เด็กๆ จะพร้อมปะทะมนุษย์คนอื่นได้อย่างดี คือ เพื่อน ๆ ที่โรงเรียน เมื่ออายุมากกว่า 6 ขวบขึ้นไป  เรียนรู้วิธีปะทะสังสรรค์ ทะเลาะเบาะแว้งตบตี และคืนดีช่วยเหลือกันและกัน   ธรรมชาติของพัฒนาการจะเป็นผู้ดูแลพฤติกรรมเหล่านี้ให้เองเพราะเด็กๆ  อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอยู่แล้ว   ส่งไปโรงเรียนเร็วเกินไปเขาทำเรื่องพวกนี้ไม่เป็น  เกิดปัญหาอารมณ์แทรกซ้อนเสียเปล่าๆ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณเนื้อจาก : แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด  และ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

บทความโดยกองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up