AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

10 อันดับอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็ก ปี 2559

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับ อาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และอุบัติเหตุของเด็กๆ อายุตั้งแต่ 1 ขวบ ไปจนถึง 15 ปี ตลอดปีพ.ศ.2559 พบว่ามีเด็กเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งหมด 156,525 คน ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับกุมารเวชกรรมมากที่สุด

10 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในเด็ก

1.การเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับกุมารเวชกรรม จำนวน 56,101 คน

2.การเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์ จำนวน 36,203 คน

3.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากการพลัดตกหกล้ม จำนวน 15,245 คน

4.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการ ปวดท้อง ปวดหลัง เชิงกราน ขาหนีบ จำนวน 14,113 คน

5.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง จำนวน 12,659 คน

6.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการหัวใจหยุดเต้น จำนวน 5,642 คน

7.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากสัตว์กัด จำนวน 3,141 คน

8.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการชัก จำนวน 2,617 คน

9.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการ ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก จำนวน 1,599 คน

10.การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการแพ้ยา แพ้อาหารจำนวน 1,579 คน

โดย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติจะพบได้ว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คืออุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์ และการพลัดตกหกล้ม เพราะมีแนวโน้มว่าเด็กจะเสียชีวิตมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะร่างกายยังอ่อนแอ และบอบบาง คุณพ่อ คุณแม่จึงควรระมัดระวังให้ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินของลูกน้อย” คลิกหน้า 2

การป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินของลูกน้อย

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่พาลูกน้อยออกไปนอกบ้าน ควรดูแลเรื่องความปลอดภัย ได้แก่

1.ถ้าลูกนั่งอยู่บนรถยนต์ ควรให้ลูกน้อยนั่งที่เบาะหลัง และคาดเข็มขัดนิรภัย หรือถ้าลูกยังเล็กควรให้นั่งคาร์ซีท จะช่วยลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

2.ถ้าลูกนั่งรถจักรยานยนต์ ควรสวมหมวกนิรภัยสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทก เพราะสิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือการได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะ และเด็กอาจเสียชีวิตได้ง่าย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินของลูกน้อย” คลิกหน้า 3

3.ถ้าพาลูกน้อยไปเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ควรดูแลการพลัดตกหกล้มของลูกน้อย ก่อนอื่นต้องสังเกตความแข็งแรงของเครื่องเล่น ต้องไม่ชำรุดเสียหาย มีความแข็งแรง พร้อมใช้งาน

4.ถ้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีความสูง ควรมีราวกันตก หรือผนังกันตก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตกลงมา และการบาดเจ็บรุนแรง

รวมถึง ระวังลูกน้อยศีรษะกระแทกจากที่สูง ที่มากกว่าความสูงของเด็ก หรือกระแทกบนพื้นที่แข็ง คุณพ่อ คุณแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการสลบ ไม่รู้สึกตัว ชัก ปวดศีรษะ หรืออาเจียน ควรรีบพบแพทย์ หรือถ้าคุณพ่อ คุณแม่ต้องการความช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน สามารถโทรไปได้ที่สายด่วน 1669

เครดิต: https://www.hfocus.org/content/2017/01/13347

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

อุบัติเหตุ รถชน จากความประมาทของผู้ปกครอง

อุบัติเหตุบนรถไฟฟ้า ที่พ่อแม่ควรระวัง

น้ำร้อนลวกลูกน้อย อุบัติเหตุที่พ่อแม่ควรระวัง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save