AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รับยามาผิด อันตราย ลูกมีสิทธิ์เสี่ยงถึงตาย

รับยามาผิด อันตราย ลูกมีสิทธิ์เสี่ยงถึงตาย

ข้อมูลจาก Facebook ที่มีการแชร์การ รับยามาผิด จากคุณหมอ ที่จ่ายยาทาภายนอกให้เด็กทารก อายุเพียง 5 เดือนรับประทาน ทารกน้อยนอนทรมานเป็นเวลา 2 วัน ไม่ดื่มน้ำ ไม่ดื่มนม ไม่ร่าเริง อาเจียนทุกครั้งที่ดื่มน้ำ หรือดื่มนม และร้องไห้ตลอดเวลา ใบหน้ามีอาการบวมหลังจากทานยา

หลังจากนั้น ผู้ปกครองของทารกน้อยก็พาส่งโรงพยาบาล คุณหมอที่จ่ายยาทราบเรื่องก็ตามมาอธิบาย กล่าวเพียงว่า “อุ้ย! สงสัยติดฉลากผิดขวด…โทษทีๆ นะค่ะ หมอจะรับผิดชอบเอง” หลังจากนั้นคุณหมอที่จ่ายยาก็ขอเบอร์โทรศัพท์ ของคุณพ่อ คุณแม่ของทารกน้อยไป และบอกเพียงว่า “มีอะไรโทรมานะ” ถึงแม้ทารกน้อยจะไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้ามีอาการแย่กว่านี้จะเป็นอย่างไร แล้วถ้าคุณหมอท่านนี้จ่ายยาผิดให้ลูกหลานคนอื่นจะทำยังไง

อ่านต่อ “ทำไมถึงจ่ายยาผิด อันตรายจากการจ่ายยาผิด และวิธีป้องกัน” คลิกหน้า 2

ทำไมถึงมีการจ่ายยาผิด?

ข้อมูลจากอนุกรรมการสาขาวิชาอุบัติเหตุและสารพิษ ระบุว่าการให้ยาผิดอาจจะเกิดจากความผิดพลาดได้ในทุกระดับของวงจรจ่ายยา จากรายงานของต่างประเทศพบว่าเกิดความผิดพลาดประมาณ 3-4 ครั้งต่อการสั่งยา 1,000 รายการ หรือประมาณ 4-14% ยาที่สั่งจ่ายผิดบ่อย เช่น ยาปฏิชีวนะ, ยาแก้ปวด และยาระบบหัวใจและหลอดเลือด ความผิดพลาดส่วนใหญ่จะเกิดช่วงหลังเที่ยงคืน

อันตรายจากการจ่ายยาผิด

จากข้อมูลของ นพ.วัลลภ ไทยเหนือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พบปัญหาการจ่ายยาผิดประเภทให้ผู้ป่วย จ่ายยาให้คนไข้ผิดคน พบปัญหานี้ทั่วโลก มีผู้ป่วยร้อยละ 10 ต้องเข้ารักษาพยาบาลเนื่องจากแพ้ยา ร้อยละ 23 ส่งผลให้พิการ และส่งผลให้เสียชีวิตถึง 44,000 – 98,000 คน

ในประเทศไทยเมื่อปี 2547 พบว่ามีผู้ป่วยแพ้ยาจากการจ่ายยาผิดประมาณ 9% ทำให้พิการ 23% และเสียชีวิต 11% ซึ่งยาส่วนมากเป็นยาที่มีชื่อ ลักษณะสี และกลิ่นคล้ายกันทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา อย่างไรก็ตามทางสถานพยาบาลต่างๆ ก็พยายามหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดนี้ด้วยเช่นกัน

อันตรายจากการจ่ายยาผิด

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อยรับยาผิด

1.พาลูกน้อยไปรักษาในสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ มีใบรับรองแพทย์ เพราะบางครั้งผู้ที่วินิจฉัยโรคอาจจะไม่ใช่คุณหมอ อาจจะเป็นเพียงพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไม่มีเภสัชกรคอยตรวจสอบ และจ่ายยา ส่วนใหญ่การรักษาแบบนี้เป็นเพียงการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าลูกน้อยมีอาการป่วยรุนแรง ควรพาส่งโรงพยาบาลเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

2.บางครั้งคุณพ่อ คุณแม่อาจจะไว้วางใจการวินิจฉัยโรคของคุณหมอมากจนเกินไป ลองศึกษาอาการป่วยเบื้องต้นของลูกน้อย ก่อนไปพบแพทย์ แล้วลองถามคุณหมอว่าอาการแบบนี้ ใช่โรคนี้ที่คุณพ่อ คุณแม่ได้ศึกษามาจริงหรือไม่ เพราะคุณหมอ และพยาบาลอาจไม่ได้วินิจฉัยโรคถูกต้องเสมอไป

3.ก่อนรับยาจากคุณหมอ คุณพ่อ คุณแม่ ควรตรวจสอบให้ดีก่อน ว่ายาที่ได้รับมาฉลากยามีข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ไม่ควรประมาท เมื่อรับยามาแล้ว ควรศึกษาให้ดีก่อนใช้ทุกครั้ง

เครดิต: เฟสบุ๊ค Mr.Princez, อนุกรรมการสาขาวิชาอุบัติเหตุและสารพิษ, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Save