AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เผยโฉมหน้า ลูกแฝดชายทั้ง 2 ของคุณแม่ชมพู่ ก่อนครบกำหนดนัดคลอด!

ขอบคุณภาพจาก : araya.vogue และ @tanstudio

เผยโฉมหน้า ลูกชมพู่ อารยา ก่อนครบกำหนดนัดคลอดในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งก็เชื่อว่าวินาทีนี้ไม่มีใครตื่นเต้นเท่ากับว่าที่คุณพ่อน็อตและคุณแม่ชมพู่แน่นอน

เตรียมนับถอยหลังไปพร้อม ๆ กันเลย กับเวลาอีกแค่ 7 วันเท่านี้ ที่ทายาทหมื่นล้าน กับว่าที่คุณแม่ตัวอย่างของการตั้งครรภ์สมัยใหม่เลยก็ว่าได้ สำหรับนางเอกสาว “คุณชมพู่-อารยา เอฮารเก็ต” ที่ตอนนี้กำลังตั้งท้องลูกชายแฝดได้ 36 สัปดาห์แล้ว และมีกำหนดผ่าคลอดในเดือนกันยายนนี้ แต่ความสวยเป๊ะของว่าที่คุณแม่ “ชมพู่” ยังคงแซ่บเหมือนเดิม!

อ่านต่อ >> ฤกษ์คลอดลูกแฝดของชมพู่ อารยา มาแล้ว!
อ่านต่อ >> รู้แล้วลูกชมพู่ ชื่ออะไร!? ว่าที่พ่อน็อตแอบเผยกับแฮชแทก #thunderandstorm

เผยโฉมหน้า ลูกชมพู่ อารยา ก่อนครบกำหนดคลอด

โดยในช่วงระยะเวลาหลังๆ ว่าที่คุณแม่คนสวยก็ได้ขอเบรกรับงานแทบจะทุกอย่าง เพื่อหันมาบำรุงดูแลตัวเองและลูกน้อยทั้งสองที่อยู่ในครรภ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชมพู่ อารยา ก็ไม่ขออยู่เฉยๆ ซะทีเดียว เพราะถึงแม้ตอนนี้อายุครรภ์จะได้ 35 สัปดาห์แล้ว แต่เจ้าตัวยังคงอุ้มท้องน้องแฝดที่ใกล้จะคลอดเข้ายิมออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรง บวกกับความฟิตอย่างชิลล์ๆ โดยมีคนดูแลอยู่ไม่ห่าง

เห็นแบบนี้แล้วคงการันตีได้ว่า คุณแม่เตรียมพร้อมด้านความแข็งแรงแบบสุดๆ เพื่อต้อนรับลูกทั้งสองลืมตาดูโลกในอีกไม่กี่สัปดาห์แน่ๆ เลยจ้า

แต่ก่อนที่ลูกชายฝาแฝดของคุณแม่ชมพูจะออกมาดูโลก เราไปดูภาพจากอัลตร้าซาวน์กันก่อนดีกว่าค่ะ

และจากผลอัลตร้าซาวน์นี้ ก็ทำเอาเหล่าแฟน ๆ คาดเดากันไปว่า “น้องแฝด” จะเหมือน “พ่อน็อต” หรือ “แม่ชม” กันแน่?  ส่วนชื่อที่คุณพ่อน็อต ได้แท็กไว้คือ  Thunder กับ Strom จะเป็นชื่อของทั้งสองฝาแฝดทายาทหมื่นล้านหรือไม่นั้น อีกไม่กี่วันเราคงได้รู้กัน รอติดตามกันได้ที่หน้าเว็บไซต์เลยนะคะ

อย่างไรก็ดี ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอให้แข็งแรงทั้งคุณแม่และเจ้าตัวเล็กนะคะ ^^

 

ขอบคุณภาพจาก IG : @chomismaterialgirl

อ่านต่อ >> “วิธีที่แม่ท้องแฝดควรดูแลตัวเองก่อนคลอด” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นของการตั้งครรภ์แฝด

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์แฝด คนในครอบครัวทุกคนจะดีใจ ถือว่าเป็นเรื่องของความโชคดีที่ตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูกพร้อมกัน 2 คน แต่ในทางการแพทย์แล้วการตั้งครรภ์แฝดถือเป็นความซับซ้อนอย่างหนึ่ง เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ ได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว ทั้งในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ได้แก่

– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะคลอด ได้แก่

– ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะหลังคลอด ได้แก่

√ การดูแลตนเองเมื่อมีครรภ์แฝด

– ด้านทั่วๆไป

อ่านต่อ >> การดูแลตนเองเมื่อมีครรภ์แฝดในเรื่องอาหาร และการคลอด” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

– อาหารและการบริโภคอื่นๆ

– เพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้งดในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากกลัวการแท้งบุตร ส่วนในช่วง 7-8 เดือน ท้องจะใหญ่มาก แนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้เช่นกัน เนื่องจากเกรงจะทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นหากระหว่างตั้งครรภ์ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามที่กล่าวในหัวข้อ ภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ ช่วงตั้งครรภ์ตอน 4-5 เดือนได้ แต่หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ก็ต้องงดการมีเพศสัมพันธ์

การฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์แฝดแตกต่างจากการฝากครรภ์ปกติหรือไม่?

ครรภ์แฝด ต้องได้รับการดูแลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรก ซ้อนได้บ่อยกว่าสตรีที่ตั้งครรภ์เดี่ยว ในช่วงแรกหากมีคลื่นไส้อาเจียนมากผิดปกติ ควรนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แพทย์จะให้น้ำเกลือ แต่หากไม่มีอาการผิดปกติจะมีการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ ทุก 1 เดือน เพื่อติดตามความเจริญเติบโตของทารก และค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับทารก

แพทย์จะแนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าปกติ จะมีการให้ยาวิตามินบำ รุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล ในช่วงระยะหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์อาจนัดมาตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติ มีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วย เช่น Non stress test (ตรวจการทำงานของหัวใจของทารก) เพื่อแพทย์พิจารณาการดูแลรักษาทั้งมารดาและทารก

เมื่อตั้งครรภ์แฝดควรคลอดเองหรือให้แพทย์ผ่าท้องคลอดดี ?

การตั้งครรภ์แฝด ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการผ่าท้องคลอดเสมอไป ในกรณีที่เป็นการตั้งครรภ์แฝดสอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (เช่น ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ) หากทารกทั้ง 2 คน อยู่ในท่าศีรษะ มีศีรษะเป็นส่วนนำ สามารถชักนำให้คลอดทางช่องคลอดได้ ควรมีทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแล 2 ทีม (ดูแม่ และดูลูก) แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการเตรียม พร้อมสำหรับการผ่าท้องคลอดฉุกเฉินเสมอ เนื่องจากมีบางครั้งที่ทารกคนแรกคลอดไปแล้ว แต่ทารกคนที่ 2 มีการหมุนเปลี่ยนท่าเอง เช่น กลายเป็นท่าขวาง แพทย์ผู้ทำคลอดอาจต้องรีบไปผ่าท้องคลอด แต่หากทารกคนแรกมีส่วนนำ (ส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่องเชิงกรานมารดา) ไม่อยู่ในท่าศีรษะ มีคำแนะนำว่าควรต้องวางแผนผ่าท้องคลอด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์แฝดสาม แฝดสี่ ควรต้องผ่าท้องคลอดเลย เพื่อความปลอดภัยของลูก

การดูแลตนเองหลังคลอด

หลังคลอดต้องดูแลตนเองมากขึ้น ทั้งในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพราะต้องให้นมบุตรมากกว่า 1 คน ส่วนการดูแลแผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดหน้าท้องไม่แตกต่างการตั้งครรภ์เดี่ยวทั่วไป

โอกาสในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป

สำหรับการตั้งครรภ์บุตรคนต่อไป ควรปรึกษาคู่สมรส เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง บทบาทของการวางแผนครอบครัว) แนะนำให้เว้นระยะการตั้ง ครรภ์ใหม่ไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อที่จะได้ให้นมบุตรและเลี้ยงดูบุตรอย่างเต็มที่ก่อน

การให้นมลูก

การให้นมบุตรสามารถให้ทันทีหลังคลอดได้เลยเหมือนครรภ์เดี่ยว เพื่อสร้างสายใยรัก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก

ประจำเดือน

การกลับมาของประจำเดือนหลังคลอด ขึ้นกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหน การที่ให้ลูกดูดนมอย่างเดียว (Exclusive breast feeding) แม่จะประจำเดือนมาช้าหรือขาดประจำ เดือน (Lactating amenorrhea) นานกว่าสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมผง เนื่องจากเวลาที่ลูกดูดนมแม่ จะเป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งของฮอร์โมนสร้างน้ำนมมากขึ้น ซึ่งจะไปมีผลต่อฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ สตรีให้นมบุตรบางคนประจำเดือนอาจไม่มาเป็นปีได้ แต่ส่วนใหญ่ประจำเดือนจะมาประมาณ 5-6 เดือนหลังคลอดในคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนสตรีที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประจำเดือนจะมาตั้งแต่ 1-2 เดือนหลังคลอด

การคุมกำเนิด

แม้ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่แนะนำให้เริ่มคุมกำเนิดตั้งแต่ 6 สัปดาห์หลังคลอดเลย และสามารถเลือกใช้หลากหลายวิธีได้เหมือนครรภ์เดี่ยว ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการจะเว้นระ ยะการมีบุตร เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนอย่างเดียว ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรวมที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ควรใช้ขณะให้นมบุตร เพราะจะมีฮอร์โมนไปยับยั้งการสร้างน้ำนม

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : http://haamor.com