แพทย์เผย ต่อให้ ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก โอกาสที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกก็ยังเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่…
พบกับข้อมูลใหม่ โดย นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กับผลการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนไข้เลือดออก ร่วมกับสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศุนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งผลการประชุมนั้น อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านตกใจ และต้องตื่นตัว พร้อมระวังกันมากขึ้น โดยข้อสรุปนั้นได้กล่าวเอาไว้ว่า วัคซีนไข้เลือดออกนี้ มีประโยชน์ป้องกันโรค ลดการนอนโรงพยาบาล และป้องกันไข้เลือดออกรุนแรงได้ร้อยละ 93 ลดความรุนแรงของโรคใน “ผู้รับวัคซีนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน”
แต่พบว่า ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน แล้วไปฉีดวัคซีนนี้ จะมีความเสี่ยงนอนโรงพยาบาล จากโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในคนที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ต้องจึงใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ถ้าจะฉีดวัคซีน
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม >>
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออก ไม่ว่าจะเคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ก็มีความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ผลการศึกษาในไทย ยังพบอีกว่า เด็กอายุ 9 ปีขึ้นไป ติดเชื้อไข้เลือดออกมากในแต่ละปี ถ้าเคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อนแล้วหาย ก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ได้
สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน หรือไม่รู้ตัว รวมทั้งได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วแต่ยังไม่ครบ และจะฉีดวัคซีน ควรได้รับทราบความเสี่ยง และประโยชน์จากวัคซีนนี้ก่อนตัดสินใจฉีด นั่นเองค่ะ
ชมคลิป!
สรุปว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือ กำจัดลูกน้ำยุงลายและหาทางไล่ยุง กำจัดยุง ไม่ให้ยุงกัด เพื่อให้ลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นไข้เลือดออกได้สูงสุด
นอกจากนี้ ตัวเลขของสถานการณ์ไข้เลือดออกของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ประมาณ 480,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว ประมาณ 59 คน
โรคไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร อ่านต่อ >>
เครดิต: CH7 News
โรคไข้เลือดออก อันตรายต่อคนทุกเพศทุกวัย
ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น การติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งแรกผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรง แต่หากติดเชื้อครั้งที่ 2 ด้วยเชื้อต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อกได้
ผู้ป่วย ไข้เลือดออก ในระยะที่มีไข้สูงจะมีเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงลายมากัดผู้ป่วย เชื้อไวรัสนั้นก็จะเข้าสู่ตัวยุง จากนั้นเชื้อจะเพิ่มจำนวนขึ้นในตัวยุงและไปรวมกันที่ต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงไปกัดคนครั้งต่อไปจึงแพร่เชื้อเข้าสู่คนที่โดนยุงตัวนั้นกัดนั่นเอง
อาการของโรคไข้เลือดออก
- มีระยะฟักตัวของเชื้อก่อนที่จะแสดงอาการ 5-8 วัน
- มีไข้สูงลอย 2-7 วัน (38.5-41 องศาเซลเซียส)
- ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ร่วมกับปวดตามกล้ามเนื้อมาก
- บางรายมีเลือดออกผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นสีดำ อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง
- อาจพบตับโต คือ กดเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา
** ในรายที่รุนแรงจะมีภาวะช็อก หากรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น **
ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่อยู่ภายในบ้านให้หมดไป และอย่าลืมทายากันยุงที่ปลอดภัยต่อผิว และมีกลิ่นที่อ่อนโยน ให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยกันด้วยนะคะ
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- อาการขั้นวิกฤต ไข้ลด ตัวเย็น เสี่ยงช็อกเสียชีวิต จากไข้เลือดออก!
- รู้ไหมว่า ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่