” ภัยร้ายออนไลน์ ” คืออะไร?! ทำไมถึงน่ากลัวต่อเด็กและเยาวชน!
” Cyberbullying “ หรือมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ” ภัยร้ายออนไลน์ “ คือภัยที่มาพร้อมกับโลกที่กว้างไกล อันตรายและน่ากลัวกับคนทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่มักจะกลายเป็นเหยื่อของการถูกโจมตีโดยใช้สื่อโซเชียลไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม แชท หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหลักในการรังแกและกลั่นแกล้งกัน โดยการกลั่นแกล้งนี้สามารถทำได้ 24 ชั่วโมง ต่างจากสมัยก่อนที่เด็ก ๆ จะรังแกกันได้ในโรงเรียนหรือแบบซึ่ง ๆ หน้าเท่านั้น
เช่นเดียวกับเรื่องราวอันน่าสลดใจที่เราได้นำมาฝากไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ในวันนี้ มัลลอรี่ เด็กหญิงวัยเพียง 12 ปีคนนี้เธอเป็นเด็กเรียนดีเรียนเก่งอีกทั้งยังเป็นเชียร์ลีดเดอร์ประจำโรงเรียน แต่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา มัลลอรี่ กลับถูกเพื่อน ๆ กลั่นแกล้งเธอผ่านโลกของอินเทอร์เน็ตผ่านแอพฯดังอย่าง อินสตาแกรมและสแนปแชท
หนึ่งในเพื่อนของเธอได้ไปโพสต์ว่าเธอว่าเป็น “ยายขี้แพ้” และบอกให้เพื่อนคนอื่นอย่าไปสนใจเธอ อย่าไปเล่น และให้ทำเหมือนกับเธอไม่มีตัวตน เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพ่อแม่ ทั้งคู่ต่างก็ได้พยายามบอกกับทางโรงเรียนให้จัดการกับเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ โดยทางโรงเรียนมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญอะไร และนี่เองคือสาเหตุที่ทำให้ หนูน้อยผู้น่าสงสารรายนี้เริ่มไม่อยากไปโรงเรียน เริ่มเก็บตัว เงียบขรึม ทำให้ในที่สุดเธอตัดสินใจจบชีวิตของตัวเองลงด้วยการฆ่าตัวตาย
สถานการณ์ล่าสุด พ่อแม่ของมัลลอรี่กำลังอยู่ในช่วงของการยื่นฟ้องร้องผู้บริหารของโรงเรียนในข้อหาเพิกเฉยต่อการจัดการปัญหาที่ลูกสาวถูกกลั่นแกล้ง รวมถึงอาจจะฟ้องดำเนินคดีผู้ปกครองของเด็กที่มารุมแกล้งลูกสาวของพวกเขาได้ พร้อมกับกล่าวว่า พวกเขาอยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับมัลลอรี่นั้น เป็นเหตุการณ์สุดท้าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนรอบข้างจะมีความละเอียดอ่อนพอ พร้อมกับหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลานของตัวเองต้องกลายเป็นเหยื่อของโลกออนไลน์
Cyberbullying คืออะไร คลิก!
เครดิต: Faith Family America และเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา
” ภัยร้ายออนไลน์ ” คืออะไร?
Cyberbulling ภัยร้ายที่มากับเทคโนโลยีผ่านช่องทางสื่อสารบนโลกอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีการจำกัดเวลาการกลั่นแกล้ง เพราะสามารถทำเมื่อไหร่ก็ได้ภายใน 24 ชั่วโมง โดยการกลั่นแกล้งส่วนใหญ่นั้น แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบดังนี้
- การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ด้วยการการโพสต์ถ้วยคำด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย หรือขู่ทำร้าย ผ่านช่องทางการสนทนา หรือโพสต์อย่างโจ่งแจ้งที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ
- การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดีย การบังคับให้แสดงกิจกรรมทางเพศผ่านกล้อง การส่งภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือยมาให้โดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ การแฉหรือตัดต่อภาพโป๊เปลือยไปโพสต์ในโซเชียลเพื่อให้ได้รับความอับอาย เป็นต้น
- การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ให้เพื่อนหรือคนอื่นสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้ แล้วเพื่อนคนนั้นรู้รหัส จึงเข้ามาสวมรอยใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น โพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ
- แบล็กเมล์กัน เป็นการนับภาพลับหรือความลับมาเปิดเผยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพน่าเกลียด ๆ หรือการแอบถ่ายภาพหลุดที่น่าขำมาโพสต์ประจาน และแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนานเกินเลย
- การหลอกลวง แบบนี้พบเห็นเยอะมากในสังคมบ้านเรา เป็นการหลอกออกมานัดเจอเพื่อทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา
- สร้างกลุ่มเฉพาะในโซเชียลเพื่อโจมตีบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ มีการจับผิดทุกอิริยาบถ แล้วนำมาถกประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อคนที่ตัวเองไม่ชอบ หรืออาจมีการโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ และกีดกันให้ออกจากกลุ่ม จากสังคมที่อยู่ เป็นต้น
อ่าน วิธีการป้องกันลูกหลานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ คลิก!
5 วิธีป้องกันลูกหลานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
- ปลูกฝังให้ลูกอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น
- คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนคนไหนที่ลูกคุยด้วยบ่อย ๆ หรือคนที่เขากำลังแชทด้วยนั้นเป็นใคร
- สอนลูกให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ที่สำคัญควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนในโลกออนไลน์โดยเด็ดขาด
- ทำการกำหนดข้อตกลงกันก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกใช้เครื่องมือสื่อสารและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกใช้โซเชียลมีเดียยังไง คุยกับใครบ้าง หรือมีความผิดปกติอะไรในนั้นหรือไม่
- พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกไว้วางใจมากพอจะบอกเล่าทุกเรื่องราวในชีวิตเขาได้ เมื่อมีปัญหาอะไรลูกจะได้กล้าขอคำปรึกษากับเรา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่