แพท คลอดลูกแล้ว …หลังจากที่ให้กำเนิดลูกชาย ไปเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ด้วยการผ่าคลอด ซึ่งต่อมาได้มีกระแสดราม่า จากการที่คุณแพทโพสต์ภาพลูกกินนมจากขวด จนเกิดคำถามจากคุณแม่ๆ ชาวโซเชียลมากมายว่า ทำไมไม่ให้นมลูกเอง!?
(ขอบคุณภาพจาก IG : racing.patbenz)
โดยคุณแพทได้เปิดใจเคลียร์ บอกว่า ตอนแรกน้ำนมน้อยมาก แต่ลูกกินเก่งมาก ครั้งละ 2 ออนซ์ ลูกก็จะหิวจนร้อง น้องเรซซิ่งดูดนมจนหัวนมช้ำ ด้วยความที่ลูกแรงเยอะ แต่ตอนนี้น้ำนมมาแล้ว ก็ให้ลูกกินนมจากเต้าตามปกติแล้วค่ะ พร้อมกันนี้คุณแม่แพท ก็ได้โชว์ภาพน้องเรซซิ่งกำลังดูดนมจากเต้า เพื่อสยบเรื่องดราม่า
(ขอบคุณภาพจาก IG : sakpipat)
ซึ่งทางด้านคุณแพท จึงได้มีการอัพเดทโพสต์ไอจีเพิ่มเติม พร้อมข้อความว่า
“หลังคลอด สิ่งแรกที่มนุษย์แม่อย่างเราต้องการคือน้ำนมแรกคลอด ซึ่งเป็นน้ำนมที่มีโคลอสตัมสูง สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก แพทให้พี่หนูมานวดเปิดท่อน้ำนม @nhu_yufai_panthai #นวดเปิดท่อน้ำนม”
Must read : น้ำนมเหลือง สิ่งมหัศจรรย์ปกป้องลูกจากโรคร้าย
Must read : ผลวิจัยเผย! “นมแม่” สามารถสกัดกั้นเชื้อโรคได้จริง!
Must read : ประโยชน์คับเต้า นมแม่ ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
(ขอบคุณภาพจาก IG :pat_napapa)
จากกระแสดราม่านี้เอง Amarin Baby & Kids จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อสงสัยที่ว่า … ผ่าคลอดแล้วทำให้น้ำนมมาช้าจริงหรือ!? และหากน้ำนมมาช้าลูกสามารถกินนมชงจากขวดได้หรือไม่? ไปหาคำตอบของเรื่องนี้กันค่ะ
แพท คลอดลูกแล้ว ผ่าคลอด ไม่มีน้ำนม จริงหรือ?
ไม่ว่าแม่จะคลอดด้วยวิธีใด ธรรมชาติก็สร้างให้แม่ทุกคนมีน้ำนมสำหรับลูกที่เกิดมาอยู่แล้ว โดยปกติน้ำนมแม่จะมาอย่างเต็มที่ภายใน 1-5 วันหลังจากคลอด แม่ที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ แม่จะฟื้นตัวเร็วไม่ต้องอดอาหารและน้ำ ลูกก็จะไม่ได้รับผลข้างเคียงจากยาใดๆ ก็จะตื่นตัวเร็วตอบสนองต่อแรงกระตุ้นในการดูดนมแม่ได้ดี นมแม่ก็จะมาเร็ว ทำให้การคลอดธรรมชาติได้เปรียบกว่าเล็กน้อย
อ่านต่อ >> “ผ่าคลอด ทำให้น้ำนมมาช้า จริงหรือ?” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
(ขอบคุณภาพจาก IG :pat_napapa)
ส่วนการผ่าคลอด แม่ต้องอดอาหารและน้ำหลังการผ่าตัด ร่างกายอ่อนเพลียจากการผ่าตัด ทำให้การสร้างน้ำนมของแม่ที่ผ่าตัดคลอดจะช้ากว่าแม่ที่คลอดธรรมชาติ 2-3 วัน เพื่อช่วยให้การสร้างน้ำนมเร็วขึ้น จะต้องให้ลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด ดูดบ่อยๆ ดูดให้ถูกวิธี และเมื่อแพทย์อนุญาตให้ทานอาหารได้ แม่ก็ต้องทานอาหารประเภทน้ำมากๆ เพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้น้ำในการสร้างน้ำนม นอกจากนี้ แม่ก็ต้องพักผ่อนให้พอเพียงอีกด้วย การต้อนรับญาติๆ หรือเพื่อนๆที่มาเยี่ยมตลอด ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด จนไม่ได้พักผ่อน สามารถส่งผลกระทบทำให้สร้างน้ำนมได้น้อยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเต้านมโดยให้ทารกดูดนมประมาณ 3-5 นาทีแม้ยังไม่มีน้ำนมมา (ให้ก่อนให้นมลูกทุกครั้ง) วันละอย่างน้อย 6 ครั้งในช่วงแรกจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและมากเพียงพอ และเมื่อน้ำนมมาแล้ว เพิ่มการให้ในแต่ละครั้งนานขึ้นเป็นครั้งละ 10-15 นาที การมีความพยายามและตั้งใจของคุณแม่โดยให้กระตุ้นบ่อยพอและนานพอในแต่ละครั้งจะช่วยให้ปริมาณน้ำนมมาได้พอเพียงกับความต้องการของลูกได้ และคุณแม่จะภูมิใจที่สามารถให้นมแม่ที่มีประโยชน์แก่ลูกได้
Must read : อุ้มลูกดูดนม ด้วย 6 เคล็ดลับ ท่าอุ้มกระตุ้นน้ำนม
กระบวนการสร้างน้ำนม
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ได้ 8 สัปดาห์ เต้านมจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คือ ที่ลานหัวนมจะใหญ่และสีเข้มขึ้น หัวนมอาจจะตั้งขึ้น เต้านมแข็งและตึง จากนั้นจะค่อยๆ ขยายขนาดออก ซึ่งเต้านมใหญ่หรือเล็กนั้นขึ้นอยู่กับไขมันในเต้านม ฉะนั้นจึงไม่เกี่ยวกับการมีน้ำนมว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนต่อมน้ำนมภายในเต้านมมากกว่าเมื่อตั้งครรภ์ในช่วง 2 – 3 เดือนสุดท้ายก่อนครบกำหนดการคลอดฮอร์โมนโปรแลคตินจะมีระดับสูงขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เป็นตัวการสำคัญในการผลิตน้ำนม แต่ไม่เกี่ยวกับการไหลของน้ำนม ซึ่งน้ำนมจะไหลออกมาได้ดีต้องมีขึ้นร่วมกับการดูดของลูกน้อย ซึ่งเราจะเรียกว่า Reflex 5 อย่าง
- Reflex 3 อย่างจากลูก 1. ลูกอ้าปากหาหัวนม (Searching) 2. ลูกดูด (Sucking)3. ลูกกลืนน้ำนม (Swallowing)
- Reflex 2 อย่างจากแม่ 4. Plolactin reflex (เป็น reflex จากร่างกาย) ยิ่งลูกดูดมาก ร่างกายก็จะหลั่งโปรแลคตินมาก ทำให้มีการผลิตน้ำนมมากขึ้น 5. Oxytocin reflex (เป็น reflex จากจิตใจแม่) ถ้าแม่มีอารมณ์ดี ไม่เครียด จะยิ่งทำให้การไหลของน้ำนมเป็นไปด้วยดี
Must read : กลไกการหลั่งน้ำนมที่แม่มือใหม่ควรรู้!
ท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจาก?
เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงหลายคนที่จะมีอาการท่อน้ำนมอุดตันถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ท่อน้ำนมอุดตันมีอาการปวดบวมและเป็นก้อนในเต้านม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการมีไข้หรืออาการอื่น ท่อน้ำนมอุดตันเกิดขึ้นเมื่อน้ำนมไม่ถูกระบายออกและเกิดการอักเสบ จากนั้นแรงดันที่เกิดจากการอุดตัน และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงจะเกิดการอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันมักเกิดทีละข้าง ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน เป็นเพราะน้ำนมบริเวณนั้นข้นมากจนทำให้ไหลไม่สะดวก และอุดตันคั่งค้างอยู่ในท่อน้ำนมท่อใดท่อหนึ่ง น้ำนมส่วนที่เหนือจุดที่อุดตันขึ้นไปจะคั่งจนเกิดเป็นก้อนไตแข็งๆ อาจเกิดจาก
- ให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ เพราะแม่เจ็บนมอันเนื่องมาจากหัวนมแตก เป็นต้น
- ระบายน้ำนมออกจากเต้าไม่หมด
- ผลจากแรงกดทับเต้านม อาจเกิดจากการสวมเสื้อชั้นในที่คับเกินไป นอนตะแคงทับข้างนั้นนาน เป็นต้น
- เต้านมใหญ่หย่อนยาน ทำให้ส่วนล่างระบายน้ำนมออกไม่ได้ดี
ทำไมต้องเปิดท่อน้ำนม?
อาการท่อน้ำนมอุดตันนั้น เกิดจากการที่น้ำนมไหลไม่สะดวกจากการอุดตันของท่อส่งน้ำนม ทำให้เต้านมแข็ง เป็นแผ่นหนา หรือเป็นก้อนอยู่ใต้ผิวหนัง คลำพบก้อนแข็งบริเวณที่ท่อน้ำนมอุดตัน ลักษณะหัวนมและลานนมผิดรูปไป บางครั้งอาจมีอาการเส้นเลือดปูดออกมาอย่างเห็นได้ชัด ลูกดูดนมไม่ออก หรือดูดได้เพียง 20%เท่านั้น บางครั้งอาจจะพบจุดสีขาวที่หัวนม (White dot) อาการท่อน้ำนมอุดตัน สามารถพัฒนาไปเป็นเต้านมอักเสบ Mastitis ได้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน และไม่ได้รับการรักษา
Must read : เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ?
ชมคลิป >> “การนวดเปิดท่อน้ำนม” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คลิปการนวดเปิดท่อน้ำนม
(ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Mareeya Z)
ทั้งนี้สามารถใช้วิธี ประคบร้อน อาจจะใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนจัดประคบ หรือแช่น้ำฝักบัว โดยเปิดน้ำร้อนจ่อไปที่หน้าอกบริเวณที่ท่อน้ำนมอุดตัน หลังจากประคบร้อนหรือแช่น้ำฝักบัวร้อนๆสัก 15 นาทีแล้ว ให้ใช้มือนวดวนเป็นก้นหอย จากรอบๆหน้าอกด้านนอกเข้ามาจนลานนม
***แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ
1. ลูกและแม่ควรจะอยู่ด้วยกันตลอดเวลาหลังคลอด เพื่อให้ลูกได้ดูดนมแม่เร็ว และได้ดูดตามต้องการตลอดเวลา
2. ให้ลูกดูดนมถูกวิธี ดูดบ่อย และดูดนานพอ
3. ไม่ให้ลูกดูดนมผสมร่วมกับนมแม่
4. ขจัดความกังวลหรือความเครียดที่มีอยู่ให้หมดไป ก่อนให้นมลูกทำจิตใจให้สบายทุกครั้ง
5. คุณแม่ต้องกินอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอ
6. พักผ่อนให้เพียงพอ
7. ปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคหรือการคุมกำเนิด
Must read : ท่อน้ำนมอุดตัน แก้อาการ ด้วยมะเขือเปราะ
ควรให้ลูกกินนมจากขวดหรือไม่?
การที่คุณแม่เพิ่งคลอด แล้วอาจทำให้มีน้ำนมจากเต้าออกมาน้อย มีคุณแม่จำนวนมากที่ได้รับความรู้ผิดๆ จากบุคลากรในโรงพยาบาลว่า น้ำนมน้อย ต้องเสริมนมผสมให้ลูกก่อน รอให้น้ำนมมาก่อน แล้วค่อยให้นมแม่ ซึ่งการทำเช่นนั้นยิ่งทำให้น้ำนมแม่มาช้ากว่าเดิม วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็วๆ คือ ต้องพยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด มากที่สุด ด้วยการให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ ซึ่งในช่วงสองสามวันแรกนั้น ลูกจะหลับเป็นส่วนใหญ่ และดูดยังไม่ค่อยเก่ง แม่ก็อ่อนเพลียจากการคลอด การใช้มือบีบหรือเครื่องปั๊มคุณภาพดีจะช่วยให้สามารถนำน้ำนมออกมาจากร่างกายได้มากขึ้นกว่าการรอให้ลูกดูดอย่างเดียว และจะช่วยให้การผลิตน้ำนมเร็วและมากขึ้น
แต่การบีบหรือปั๊มในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ นี้ก็มีข้อควรระวังคือ ร่างกายที่ผ่านการคลอดมาใหม่ๆ นั้น มักจะอ่อนเพลียและ อ่อนไหวง่าย การบีบหรือปั๊ม หรือแม้แต่ให้ลูกดูด ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บหัวนม เต้านมมากๆได้ จนทำให้แม่หลายๆ ท่าน รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ช่างเจ็บปวด และทรมานเสียจริง ขอให้เข้าใจว่าความรู้สึกเจ็บปวดทรมานแบบนั้นจะคงอยู่ไม่นาน จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากนั้น ไม่ว่าลูกจะดูด ใช้มือบีบ หรือใช้เครื่องปั๊ม ก็จะไม่เจ็บอีกต่อไป
ปัญหาติดจุก NIPPLE CONFUSION
อีกหนึ่งเรื่องหากคุณแม่ให้ลูกกินนมจากขวด ก่อนเข้าเต้า ก็อาจทำให้ลูกติดขวดได้จึงไม่ควรให้ลูกน้อยที่เพิ่งเกิดกินนมจากขวดก่อน เพราะถ้าเด็กดูดนมจากขวด ซึ่งมันจะเป็นการดูดคนละแบบกับการดูดนมจากเต้า และดูดง่ายกว่าเยอะ
ทำให้เด็กจะชินกับการดูดนมจากขวดมากกว่า แล้วจะไม่ยอมดูดนมจากเต้าอีก ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า ว่า nipple confusion หรืออาการสับสนระหว่างจุกนมแม่และจุกนมปลอม
ปัญหานี้เกิดจากความเข้าใจผิดๆ ว่า การกินนมจากเต้าแม่ก็เหมือนกับการกินนมจากขวด ทารกที่กินนมจากขวดตั้งแต่อายุน้อยมากๆ จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ เพราะนมแม่และขวดมีวิธีดูดที่แตกต่างกัน
อ่านต่อ >> “วิธีแก้อาการติดจุก ทำอย่างไรให้ทารกหายสับสน” คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
√ เพราะการดูดนมแม่
- ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามล่างเพื่อ “รีด” น้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม
- เมื่อลูกกินนมแม่ ลูกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม หัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก
- ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืดและกดให้แนบไปกับเพดานปาก
- เมื่อลูกขยับลิ้นและกราม น้ำนมจะถูกรีดออกมาตามจังหวะที่ลูกขยับกราม
- หากลูกดูดตามวิธีดังกล่าว หัวนมจะอยู่ด้านในสุดของช่องปาก ทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บหัวนม
X แต่การดูดนมขวด (จุกนมยาง)
- น้ำนมจะไหลผ่านรูที่จุกนมยาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ดังนั้นลูกไม่ต้องออกแรงในการกินนม
- ลูกไม่ต้องอ้าปากกว้าง แต่จะห่อริมฝีปากให้เล็กและแน่น
- จุกนมยางไม่ยืดถึงส่วนในสุดของช่องปาก ลูกไม่ต้องใช้ลิ้นรีดเพื่อเอาน้ำนมออกจากจุกนมยาง
- ลูกจะดูดแผ่วๆ และงับกัดจุกนมยางเพื่อให้น้ำนมไหลออกจากขวด
- เมื่อน้ำนมไหลเร็วเกินไป ลูกจะใช้ลิ้นดุนขึ้นเพื่อชะลอการไหลของนม
- น้ำนมไหลไม่หยุดและเอ่อล้นอยู่ในปาก ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูดก็ตาม
เมื่อลูกเคยชินกับการกินนมจากขวด ซึ่งง่ายกว่าการกินนมแม่ จะทำให้ลูกปฏิเสธเต้าแม่ และถึงแม้ว่าลูกจะยอมกินนมแม่ก็ตาม ลูกจะกัดนมแม่ ด้วยเหตุที่เคยชินกับการกัดงับให้น้ำนมไหลเข้าปากนั่นเองผลเสียคือ พอเด็กไม่ดูดนมแม่ นมก็จะไม่ถูกกระตุ้นแล้ว
♥ วิธีป้องกันปัญหาติดจุก
เพราะทารกต้องฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก จึงไม่ควรให้ทารกกินนมจากจุกนมยางในช่วงอายุน้อยกว่า 1-2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ pacifier ด้วย)
แม่หลายคนที่ต้องกลับไปทำงานอาจกังวลเรื่องลูกติดเต้า ไม่ยอมกินนมจากขวดระหว่างแม่ไปทำงาน จึงต้องการฝึกให้ลูกยอมรับขวดตั้งแต่วัยเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาติดจุกได้ เพราะเมื่อลูกติดจุกและไม่ยอมดูดจากเต้า ปัญหาอื่นๆ อาจจะหนักกว่ากับการอดทนฝึกให้ลูกกินจากขวดหรือวิธีอื่นๆ (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) ตอนลูกอายุ 2-3 เดือน
√ วิธีแก้อาการติดจุก ทำอย่างไรให้หายสับสน
(ขอบคุณภาพจาก :mamasmilknochaser.com)
- งดขวด จุกนมยาง จุกนมหลอก (ต้องใจแข็งค่ะ)
- ป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่น (แก้ว/ ช้อน/ หลอด)
- อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกเคยชินกับไออุ่นจากอกแม่
- ให้ลูกกินนมจากอกเมื่อลูกอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด อย่ารอให้ลูกหิวจัด
- เช็กดูว่าลูกกินนมถูกวิธีหรือไม่ อ้าปากกว้างก่อนงับ และอมถึงลานนมหรือไม่
- ปั๊มนมหรือกระตุ้นให้น้ำนมพุ่งก่อนให้ลูกดูด ทารกที่ติดจุกจะพอใจเมื่อดูดปุ๊บ น้ำนมไหลปั๊บ จะยอมรับเต้านมแม่ง่ายขึ้น
- ใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์หยอดน้ำนมที่มุมปากของลูกทันทีเมื่อลูกเข้าเต้า ก่อนที่ลูกจะหงุดหงิดไม่ยอมรับเต้าแม่
- ปรึกษาคลินิคนมแม่ หรือแม่อาสา
ทารกที่ติดจุกจะทำหน้างงงวยเมื่อต้องกินนมแม่แทนนมขวด ปัญหานี้แก้ไม่ยากถ้าแม่เข้มแข็งและแน่วแน่ แม่จะต้องอดทนกับเสียงร้องของลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น อย่าลืมให้กำลังใจหรือชมลูกเมื่อลูกยอมดูด แม้จะเป็นเพียงชั่วครู่ก็ตาม
อย่าลืมว่าการป้องกันปัญหาติดจุกง่ายกว่าการแก้นะคะ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคืออย่าเริ่มให้ลูกกินนมจากขวดเร็วเกินไป ให้ใช้แก้ว ช้อน หรือหลอดป้อน จะสามารถป้องกันมิให้ลูกเกิดความสับสนระหว่างนมแม่และจุกนมยางได้ค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- เคล็ดไม่ลับ การปั๊มนม วิธีเพิ่มน้ำนม ฉบับคุณแม่มืออาชีพ
- เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี
- เมนูอาหารเพิ่มน้ำนมให้แม่ลูกอ่อน
- เคล็ดลับ ทำจี๊ด !!เพิ่มน้ำนมคุณแม่ให้ไหลมาเทมา (มีคลิป)
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.breastfeedingthai.com , www.thaibreastfeeding.org , www.panthaidelivery.com , www.breastfeedingthai.com