AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ชี้ทางแม่! กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร ทำยังไง..ให้แม่ได้เปรียบ?

กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร ทำยังไง..ให้แม่ได้เปรียบ?

พ่อแม่หย่ากัน! กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร ลูกจะตกเป็นของใคร แม่จะได้อะไรจากการฟ้องร้อง พ่อจะมีสิทธิ์อะไรในตัวลูก หรือ ต้องรับผิดชอบ จ่ายเรื่องใดบ้าง ตามมาดูกันเลย

กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร ทำยังไง..ให้แม่ได้เปรียบ?

ปัจจุบันมี คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว – คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว เกิดขึ้นมากมาย เพราะคนเรารักกันอยู่ด้วยกันก็ต้องมีกระทบกระทั้งกันบ้าง และเมื่อความสัมพันธ์ในครอบครัวสะดุด ความรักหยุดอยู่กลางทาง ก็ทำให้ต้องเกิดเหตุเลิกลากัน แต่จะทำอย่างไรหากครอบครัวนั้นมีลูกด้วยกันแล้ว ซึ่งในทางกฎหมายตามที่ใครๆ เคยได้ยินคือ กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าลูกจะตกเป็นของแม่ในการดูแล โดยเรื่องนี้ ทนายชื่อดัง ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า..

เมื่อพ่อแม่แยกทางกัน ใครจะเป็นผู้มีสิทธิดูแลลูก

แบ่งเป็น 2 กรณี คือ พ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรส กับพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

สำหรับคู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อแยกทางกัน ลูกจะตกเป็นสิทธิแก่ฝ่ายแม่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎหมายกำหนดไว้แบบนั้น ส่วนพ่อไม่มีสิทธิเลย โดยแม่ผู้ที่วามารถใช้อำนาจปกครองกับลูกได้ มีสิทธิ ดังนี้
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(5) สิทธิในการให้ความยินยอมบุตรผู้เยาว์ทำการหมั้นและสมรส
(6) สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการอุปการะเลี้ยงดูบุตรในด้านต่างๆ เช่นการให้ความยินยอมในการเข้ารับการรักษาพยาบาลการผ่าตัดหรือการทำนิติกรรมต่างๆ

แต่ยกเว้นบางกรณีที่พ่อจะมีสิทธิเลี้ยงลูก หรือ สิทธิ์การดูแลบุตร  เช่น

⇒กรณีแรก ไปจดทะเบียนรับรองบุตร (การที่บิดาไปแจ้งเกิดมีชื่อเป็นพ่อในใบเกิด ไม่ใช่การจดทะเบียนรับรองบุตร) การจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ โดยความยินยอมของแม่
⇒ กรณีที่ 2 พ่อแม่สมรสกันในภายหลัง เช่น ลูกเกิดมาแล้ว แล้วก็ไปจดทะเบียนสมรสกัน แบบนี้พ่อก็จะมีสิทธิเลี้ยงดูลูก
⇒  กรณีที่ 3 คือ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลในทำนองที่ให้มีสิทธิเลี้ยงดูลูก ซึ่งพ่อก็อาจจะไปฟ้องศาลเพื่อขอให้ตนมีสิทธิเลี้ยงดูบุตรได้

ซึ่งกรณีที่พ่อจดรับรองบุตรแล้ว ก็จะทำให้ลูกมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเเละรับมรดกจากพ่อ เเละพ่อมีสิทธิในตัวลูก ส่วนเรื่องฝ่ายไหนจะเลี้ยงนั้น หากฝ่ายชายเมื่อรับรองบุตรแล้วสามารถจะเอาบุตรไปเลี้ยงได้ ต้องร้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองจากแม่ไปเป็นของพ่อเสียก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566(5)

โดยศาลจะพิจารณาว่า ลูกอยู่กับพ่อหรือแม่ลูกจะได้ประโยชน์มากที่สุด ก็จะพิจารณาไปตามที่สมควร อาจจะเป็นแม่หรือพ่อก็ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ได้มีอำนาจปกครองพบปะบุตรตามสมควร **เเต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเลี้ยงลูกนั้น หากต้องมีการฟ้องร้องการเลี้ยงดูลูกนั้น ว่าพ่อหรือเเม่มีความเหมาะสมมากกว่ากัน ศาลจะพิจารณาโดยอิงผลประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ในกรณีที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน ไม่มีกฎหมายข้อไหนระบุว่า ถ้าเป็นลูกสาวให้พ่อเป็นคนเลี้ยง ถ้าเป็นลูกชายให้แม่เลี้ยง ถ้าพ่อแม่จะแยกทางกัน ให้ตกลงกันเอง เช่น จ-ศ อยู่กับพ่อ ส-อา อยู่กับแม่ หรือมีลูก 2 คน ก็แบ่งไปเลย เอาไปเลี้ยงคนละคน … หรือจะตกลงกันยังไงก็ได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องไปฟ้องให้ศาลตัดสิน ซึ่งถ้าอยากจะชนะ แนะนำว่าให้หาทนายเก่งๆ ไปสู้คดี ถ้าตกลงกันได้ จะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเงินจ้างทนาย ไม่ต้องเสียเวลาไปศาล

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องขอค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

เมื่อคุณแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single mom) ในกรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกที่เกิดมาจะถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่เพียงผู้เดียว และจะเป็นลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นผู้เป็นพ่อก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย แต่ต่อมาถ้าแม่ต้องการให้พ่อจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็จะต้องดำเนินการให้พ่อดำเนินการรับรองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อเสียก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้

และเมื่อพ่อจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว กฎหมายกำหนดหลักไว้ว่าพ่อแม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะคืออายุ 20 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้แม่สามารถยื่นฟ้องพ่อต่อศาลเยาวชนและครอบครัว โดยการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียม และเพื่อความสะดวกรวดเร็วการฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็ยังสามารถฟ้องรวมกับการฟ้องให้บิดารับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่อง สิทธิ์การดูแลบุตร  นี้ ทั้งสองฝ่ายควรหันหน้ามาหากัน และหาจุดกึ่งกลาง วางทิฐิ วางความขัดแย้ง วางข้อกฎหมาย และวางความต้องการเอาชนะลงก่อน ที่สำคัญยึดผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวลูกเป็นที่ตั้งในการเจรจา ควรหาคนกลาง หรือนักจิตวิทยา หรือขอคำปรึกษาจากกรมสุขภาพจิต เพื่อช่วยแนะนำและคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็วที่สุด รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย เพราะทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดของเรื่องนี้ก็คือลูก แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นชีวิตเรายังต้องดำเนินต่อไป ทีมแม่ ABK ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ


ขอบคุณข้อมูลเรื่อง กฎหมาย สิทธิ์การดูแลบุตร จาก ทนายรัชพล ศิริสาครประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเพจ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรมโทร 0957563521 www.facebook.com/LawByRachaponsLawyer

และ www.thairath.co.thwww.scb.co.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

10 สัญญาณบอกอาการแบบนี้ สามีมีกิ๊ก แน่!

นี่คือ 10 ลักษณะ “ภรรยาที่ดี” ที่สามีต้องการ!

วิธีมัดใจสามี ให้อยู่หมัด ด้วย 5 เคล็ดลับเด็ด

6 เคล็ด(ไม่)ลับ มัดใจสามี ลูกๆ แฮปปี้ครอบครัวอบอุ่น จากคุณพลอยชิดจันทร์ คุณแม่ลูก 4

10 สูตรผัวรักผัวหลง มัดใจสามีให้ดิ้นไม่หลุด!

25 เคล็ดลับ พิชิตใจให้แม่สามีรัก ภายใน 7 วัน