ภาวะเพศกำกวมมีกี่ประเภท?
แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ภาวะเพศกำกวมประเภทแท้ หมายถึง เด็กหรือบุคคลคนนั้นมีฮอร์โมนทั้ง 2 ประเภท หรือมีต่อมฮอร์โมนทั้ง 2 เพศ โดยมีทั้งรังไข่ และลูกอัณฑะในคน ๆ เดียวกัน
- ภาวะเพศกำกวมประเภทเทียม คือ มีฮอร์โมนหรือต่อมฮอร์โมนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเภทหญิงก็ประเภทหญิง ประเภทชายก็ประเภทชายอย่างเดียว แต่ลักษณะของอวัยวะเพศที่ปรากฏนั้นไม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นเภทใด
ภาวะเพศกำกวมมีวิธีการรักษาอย่างไร?
แพทย์จะพิจารณาว่าเด็กมีภาวะเพศกำกวมประเภทไหนก่อน โดยวิธีการรักษาภาวะเพศกำกวมประเภทแท้และประเภทเทียม นั้นแตกต่างกัน
- ประเภทแรก รักษาด้วยการให้ฮอร์โมน และ ผ่าตัดดูว่าเด็กเข้าข่ายลักษณะไหน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ผ่าตัดให้เป็นอวัยวะหญิง เช่น ไม่มีช่องคลอดก็ทำช่องคลอด
- ส่วนอวัยวะเพศกำกวมเทียมต้องดูตามลักษณะของเด็กและฮอร์โมนของเด็ก ถ้าเด็กมีรังไข่ก็จะพยายามผ่าตัดเด็กคนนั้นให้เป็นผู้หญิง ถ้ามีลูกอัณฑะก็ผ่าตัดเป็นเพศชาย
สิทธิบัตรทองรักษาภาวะเพศกำกวมได้หรือไม่?
ล่าสุด สปสช.แจงบุคคลภาวะเพศกำกวม เช่น เกิดมามี 2 เพศ หรือมีหน้าอกแต่มีอวัยวะเพศชาย สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพผ่าตัดรักษาตรงตามเพศสภาพที่เป็นจริงตามแพทย์รับรองได้ กรณีบุคคลที่มีภาวะเพศกำกวม เช่น มีหน้าอกแบบผู้หญิงแต่มีอวัยวะเพศเป็นผู้ชาย แต่มีลักษณะร่างกายอื่นๆ ฮอร์โมนเป็นเพศหญิง แพทย์ตรวจรับรองว่าเป็นหญิงจริง จำเป็นต้องได้รับการรักษาให้ตรงกับเพศสภาพที่แท้จริง สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการตรวจวินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูจนสิ้นสุดการรักษาได้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่การแปลงเพศ แต่เป็นการทำให้ตรงกับหลักฐานหรือเพศสภาพที่ปรากฎ
เด็ก 2 เพศ เป็นภาวะที่ป้องกันไม่ได้ และยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น แม่ท้องจึงยังไม่ควรเป็นกังวลว่าอาจจะเกิดขึ้นกับลูกในท้อง เพราะโอกาสที่จะเกิดมีเพียง 1 ใน 1,000 คน เท่านั้นค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
เด็กข้ามเพศ คนแรกที่ผ่านการรับรองจากแพทย์ว่าเป็นหญิง
สมองพิการ ภาวะผิดปกติในเด็ก รักษาได้หรือไม่?
คลิปสรุป! “สิทธิบัตรทองเด็ก” กับประโยชน์ที่จะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิด-24 ปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.posttoday.com/social/general/557454, http://www.si.mahidol.ac.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่