ตีลูกบ่อย ไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก เพราะมีผลการศึกษาพบว่าการ ตีลูก และใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ ส่งผลและเติบโตไปกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง จากรายงานของ Unicef พบว่า 3 ใน 10 ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ในโลกนี้ เชื่อว่าการลงโทษทางกายเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูเด็ก แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงว่า การลงโทษทางร่างกาย และทำให้รู้สึกด้อยค่า ไม่ได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก อีกทั้ง การตะคอก การ ตีลูก การใช้คำพูดให้รู้สึกด้อยค่า กลับทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก รวมถึงการสร้างวงจรแห่งความรุนแรง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้นไปก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบใช้ความรุนแรง
ตีลูกบ่อย ไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก
รู้หรือไม่ว่า ? เด็กๆ ส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ใหญ่พูดดีๆ และอธิบายว่าทำผิดอะไรหรืออย่างไร โดยที่ไม่ต้องลงโทษ หยุดลงโทษทางกายและใจเด็ก เพราะการตีลูกไม่สร้างวินัย ส่งผลร้ายได้มากกว่าที่คิด
การลงโทษทางร่างกาย จนทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า คือ การลงโทษใดๆ ก็ตามที่มีการใช้กำลัง ตั้งใจให้เกิดความเจ็บปวด หรือความรู้สึกไม่สบาย อึดอัด ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เช่น การตี ตบ ทุบเด็ก ไม่ว่าจะด้วยมือเปล่าหรือด้วยวัตถุ เช่น ไม้เรียว ไม้ เข็มขัด รองเท้า ช้อนไม้ หรืออื่นๆ เช่น การเตะ การจับเขย่า จับโยน ข่วน หยิก กัด ดึงผม ดีดหรือต่อยกกหู บังคับให้เด็กอยู่ในท่าทางที่ผิดธรรมชาติ การนาบด้วยของร้อน จี้ด้วยก้นบุหรี่ การเอาน้ำร้อนลวก การบังคับให้กินหรือกลืนหรือกลั้วปากด้วยสบู่ พริก ยาเส้น
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการลงโทษเด็กอื่นๆ อีก ที่เป็นการทารุณ และทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่าด้วยวาจาหรือคำพูด เช่น การตีตรา การล้อเลียน ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เช่น การดูถูกดูแคลน ทำให้เด็กอับอาย การใส่ร้ายป้ายสี การขู่ ทำให้กลัว หรือการไม่ใส่เด็ก
เด็กสามในสี่คนทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย เผชิญการกระทำด้วยความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมถึงถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ถูกทอดทิ้งและปล่อยปละละเลย จึงมีองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงรวมตัวกันสนับสนุนเป็นโครงการรณรงค์ “ประเทศนี้ไม่ตีเด็ก บ้าน รัฐ โรงเรียน ทราบแล้วเปลี่ยน”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ตีลูกบ่อยไม่สร้างวินัยแต่คือการทำร้ายทำลายอนาคตลูก
ตีลูกบ่อย ไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก
เด็กถูกตี ด่าว่า ส่งผลกระทบร้ายไปจนโต
มาดูกันว่าผลกระทบจากการที่ลูกของเราหรือเด็กถูกตี ถูกทำโทษทางร่างกายและทำให้ลูกรู้สึกด้อยค่ามีอะไรกันบ้าง โดยข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานการวิจัยของต่างประเทศ โดย Gershoff, 2002
- ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก จากการประเมินระดับความสุขในเด็ก พบว่า เด็กที่ถูกลงโทษทางกายมีระดับความสุขต่ำกว่าเด็กทั่วไป
- ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก การลงโทษเด็กทำให้เกิดความรู้สึกเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือขัดแย้งกับพ่อแม่
- นำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายและต่อต้านสังคมสูง จากการสำรวจเด็กในสถานพินิจ พบว่า เด็กเหล่านี้มีประสบการณ์การถูกทำโทษมาก่อน
- นำไปสู่การทำร้ายทั้งทางร่างกายและทำร้ายจิตใจด้วยวาจา
- นำไปสู่ความล้มเหวในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเด็ก
- ส่งผลทำให้เด็กเกิดความหวาดหลัวและมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง
- การลงโทษทางกายนำไปสู่การทำร้ายร่างกายเด็ก จากกรณีศึกษา พบว่า 77%ของการทำร้ายร่างกายเด็ก เริ่มต้นจากการตีลงโทษเพื่ออบรมสั่งสอน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ตีลูกบ่อยไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก
ขณะนี้มีเพียง 53 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายห้ามการลงโทษเด็กทางกายครบถ้วนทุกสถานที่
ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ตี…เด็กก็ดีได้ ด้วย วินัยเชิงบวก
การสร้างวินัยเชิงบวกที่ปลอดความรุนแรงทั้งบ้านและที่โรงเรียน คือ
* ให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิดและตัดสินใจเอง และคำนึงถึงผู้อื่น รับผิดชอบในการกระทำของตน เน้นในเรื่องความเคารพต่อผู้อื่น ความเมตตา ความเที่ยงตรง ความเท่าเทียม การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง และความยุติธรรม
* ผู้ใหญ่ พ่อแม่ คือผู้ดูแล ไม่ใช้เจ้าของตัวเด็ก ฉะนั้นต้องเคารพความซื่อสัตย์ของเด็กทั้งในเชิงสังคมและศีลธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กรวมทั้งครู ต้องได้รับความเคารพ และการสนับสนุนในฐานะคนซึ่งดูแลและให้สิทธิแก่เด็ก รวมทั้งคุ้มครองเด็กจากอันตรายทุกรูปแบบ
* สัมพันธภาพระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเชื่อใจกันและความเคารพซึ่งกันและกัน โดยมีพื้นฐานมาจากความอดกลั้นและการแบ่งปัน และรับฟังความเห็นโดยเท่าเทียมกัน
* การใช้คำอธิบายกับเด็ก การฝึกอบรม และหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยสมานฉันท์ เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทุบตีหรือการทำให้อับอาย
เราจะสร้างวินัยเชิงบวกได้อย่างไร?
มีคุณพ่อคุณแม่และคุณครูจำนวนมากที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง โดยคุณพ่อคุณแม่ และครูเหล่านั้นใช้วิธีการสร้างวินัยที่ปราศจากความรุนแรง และให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กด้วยทัศคติเชิงบวก นั่นคือ
-
-
- ใช้อำนาจที่มี โดยยังคงให้ความเคารพต่อผู้อื่น มากกว่าที่จะใช้การบังคับและความกลัว
- เคารพทุกคนเท่าเทียมกัน
- มองปัญหาหรือความขัดแย้งเป็นโอกาสในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกัน
- รับฟังเพื่อที่จะเรียนรู้เด็กให้มากขึ้น
- มองหาสันติและความกลมกลืน
- พูดคุยและตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับเหตุผลกฎระเบียบที่มุ่งให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ
- สนับสนุนให้เด็กมีความอดกลั้น ความเท่าเทียม ความเคารพผู้อื่น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
- ควรอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยไม่ตัดสินว่าเด็กเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้พ่อแม่มีความมั่นใจและมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิเด็กและพัฒนาการเด็ก
- โรงเรียนช่วยสนับสนุนให้เด็ก ครูและพ่อแม่คุยกันถึงปัญหาต่างๆ และหาทางแก้ไขร่วมกัน
- พ่อแม่และครูพร้อมที่จะให้คำอธิบายต่อเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอยากรู้เหตุผลของการกระทำนั้นๆ
- ผู้ใหญ่ต้องไม่กลัวหรือไม่อายที่จะพูดคำว่า”ขอโทษ”และยอมรับความผิดพลาด หรือความไม้รู้ของตน
- ผู้ใหญ่ช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้เด็ก สนับสนุนให้เด็กเกิดความเข้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ผู้ใหญ่และเด็กควรสื่อสารกันอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้ความก้าวร้าว
-
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิรักษ์เด็ก, Unicef, องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children),มูลนิธิสายเด็ก 1387
วิธีลงโทษลูก อย่างไรให้ได้ผลดี โดยไม่ต้องลงมือตี
สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!
พฤติกรรมลูกสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่