AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือนพ่อแม่! อย่าเพิกเฉย ทุกครั้งที่ “ลูกปวดหัว”

เมื่อไหร่ก็ตามที่ ลูกปวดหัว คุณพ่อคุณแม่อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะอาการปวดหัวดังกล่าว อาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงโรคบางอย่างก็เป็นได้!

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองบางท่านอาจจะตั้งคำถามว่า “ลูกปวดหัว ได้ด้วยหรือ?” คำตอบก็คือ ได้ค่ะ เพียงแต่ว่าตอนเล็ก ๆ ลูกอาจจะยังสื่อให้พวกเราเข้าใจไม่ได้ อาจจะมีบ้างที่บอกว่า “เจ็บหัว” หรือ “แสดงออกด้วยการร้องไห้งอแง” แต่เมื่อไหร่ที่เขาเริ่มโตขึ้น ลูกจะสามารถเริ่มอธิบายถึงอาการดังกล่าวได้มากกว่าเดิม 

 

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า อาการปวดหัวของเด็กนั้น จะพบได้มากในเด็กที่อยู่ในวัยเรียน และอาการดังกล่าว จะเริ่มดีขึ้นหรือหายได้เองภายหลังจากที่ลูกรับประทานยาแก้ปวดและได้นอนพักแล้ว

อาการปวดหัวของลูกเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

  1. อาการปวดหัวเฉียบพลันในเด็กอันเกิดจากเวลาที่ลูกมีไข้ ความเครียด อุบัติเหตุ หรือการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อันเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
  2. อาการปวดหัวเรื้อรังในเด็ก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากอาการผิดปกติของอวัยวะบนใบหน้า ยกตัวอย่างเช่น หูชั้นกลางหรือไซนัสอักเสบ ฟันผุ สายตาผิดปกติ มีบ้างที่ ลูกปวดหัว อันเนื่องมาจากกลุ่มอาการไมเกรน ภาวะเลือดออกในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น
  3. สำหรับบ้านไหนที่มีลูกสาวที่โตแล้ว การปวดประจำเดือน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกันค่ะ
  4. อาการปวดหัวอันเกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง หากไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้เด็กหมดสติ อาการปวดหัวมักไม่รุนแรงมาก อาการดังกล่าวก็จะสามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน

ดูแลอย่างไร เมื่อ “ลูกปวดหัว”

ในยามที่ ลูกปวดหัว คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ไม่ยาก หากทราบถึงสาเหตุของอาการดังกล่าวและแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด ยกตัวอย่างเช่น

  1. วิธีการดูแลลูกในกรณีที่ปวดหัวแบบไม่รุนแรง หากลูกยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถดูแลลูกได้ด้วยการสังเกตและเฝ้าติดตามอาการในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่ ลูกปวดหัว นั้น เป็นเพราะอะไร สามารถแก้ไขได้หรือไม่ หากเป็นเพราะลูกเครียดเรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะเป็นที่ปรึกษาลูก และไม่ควรที่จะดุหรือว่าลูกอีก เพราะการกระทำดังกล่าว อาจจะเป็นการกระตุ้นให้อาการดังกล่าวเป็นมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
  2. หากลูกปวดหัวแต่ไม่มีไข้หรือไม่มีอาการอื่นแทรกแซง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ให้ยาแก้ปวดกับลูก ยกตัวอย่างเช่น ยาพาราเซตามอล เป็นต้น หลังจากนั้นก็ควรให้ลูกนอนพักผ่อนให้เต็มที่
  3. ในกรณีที่ลูกปวดหัวเพราะสาเหตุของการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง คุณพ่อคุณแม่ ควรที่จะเฝ้าดูแลอาการของลูกอย่างใกล้ชิด และต้องสังเกตว่า ลูกมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงหรือไม่ มีอาเจียนพุ่ง หรือซึมลงหรือเปล่า ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น เป็นอาการที่บ่งชี้ว่า ลูกอาจจะมีเลือดออกในสมองก็เป็นได้ และสำหรับการส่งเด็กไปเพื่อรับการตรวจเอ็กซเรย์กระโหลกศีรษะหรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทันที่หลังได้รับการกระทบกระเทือนนั้น ไม่มีประโยชน์ค่ะ เว้นเสียแต่ว่า ลูกมีอาการเปลี่ยนแปลงในสมองจนสังเกตเห็นได้ชัด หรืออาจจะมีอาการอื่นป่วยร่วมด้วย

อาการปวดหัวแบบไหนที่พบบ่อยในเด็ก หาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

 

อาการปวดหัวที่พบบ่อยในเด็ก

อาการปวดหัวของเด็กนั้น เป็นอาการที่เด็ก ๆ มักจะเกิดแบบไม่มีสาเหตุค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะนึกถึงอาการของโรคไมเกรน เป็นต้น แต่ทราบหรือไม่คะว่า ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะปวดหัวที่พบได้บ่อยกว่า โรคไมเกรนนั้นก็คือ “อาการปวดหัวแบบน่ารำคาญ”

อาการปวดหัวแบบน่ารำคาญนั้น สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “การปวดเป็นประจำวัน” ประกอบไปด้วย การปวดหัวหลากหลายรูปแบบ และพบว่า อาการดังกล่าวนั้นพบมากกว่าการปวดหัวแบบไมเกรนมากถึง 3 เท่าเลยละค่ะ

ซึ่งการปวดชนิดนี้นั้น จะมีลักษณะปวดแบบเล็กน้อย ไม่รุนแรง ปวดแบบดื้อ ๆ หรือเต้นตุบ ๆ ตามหัวใจ หรืออาจจะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่อาการที่บ่งชี้ชัดว่าเป็นอาการปวดเป็นประจำวันนั้นก็คือ ปวดด้านหน้าสองข้าง ปวดมาก ตอนบ่ายหรือตอนเย็นก็ได้ ซึ่งเด็กจะยังคงสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพียงแต่อาจจะชอบบ่นให้พ่อแม่ฟังว่า “ปวดหัว” เท่านั้น

และถ้าหากสืบหาสาเหตุของอาการปวดหัวของลูกอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า เด็กส่วนใหญ่มักจะมีอาการดังกล่าวเพราะมีปัญหาเรื่องการเรียน กลัวคุณพ่อคุณแม่ดุหรือทำโทษ จนทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า เป็นต้น

ส่วนอาการปวดหัวอันเนื่องมาจาก “ไมเกรน” นั้น จะมีอาการปวดหัวแบบฉับพลัน และรุนแรงกว่าการปวดหัวแบบน่ารำคาญ เพราะจะปวดหัวเป็นพัก ๆ โดยช่วงไหนที่มีอาการ ก็จะปวดหัวรุนแรง แต่ถ้าช่วงไหนหายเป็นปกติดีแล้ว ก็แลดูเหมือนคนที่ไม่เคยมีอาการใด ๆ เลย ซึ่งแตกต่างจากการปวดแบบพัก ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น

สำหรับเด็กที่ปวดหัวแบบไมเกรนนั้น อาจมีอาการซีด คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง อยากที่จะนอนหลับ ซึ่งอาการที่พบบ่อยก็คือ อาการทางสายตา ร่วมกับการมึนศีรษะ อาการทางสายตา ร่วมกับมึนศีรษะ เวียนศีรษะ หรือเดินเซ

อาการปวดหัวลักษณะไหนที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉย อ่านเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

อาการปวดหัวแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉย?         

สำหรับอาการปวดหัวของลูก ที่คุณพ่อคุณแม่คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรมากนั้น แนะนำให้เปลี่ยนความคิดนั้นค่ะ เพราะอาการดังกล่าวอาจจะเป็นอาการปวดหัวที่อันตราย จนคุณพ่อคุณแม่ต้องพาไปพบแพทย์

  1. อาการดังกล่าวเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
  2. ลูกมีอายุน้อย แล้วบ่นปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี
  3. เด็กที่ป่วยเป็นโรคพันธุกรรม ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด เนื้องอกในสมองบางชนิดได้
  4. ปวดหัวรุนแรงมากจนถึงมากที่สุดแบบที่ลูกไม่เคยเป็นมาก่อน
  5. บ่นปวดหัวทุกครั้งหลังตื่นนอน
  6. ปวดหัวด้านใดด้านหนึ่งหรือ เฉพาะที่เป็นเวลานาน

วิธีการป้องกันเบื้องต้น

คุณพ่อคุณแม่คะ สำหรับวิธีการป้องกันนั้น ก็สามารถทำได้ไม่ยากเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่คะ เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกมีอาการดังกล่าวขออย่าได้นิ่งนอนใจและคิดว่าเป็นเรื่องปกติ  ควรหมั่นให้การดูแลและสังเกตอาการของลูกให้ดีว่า สาเหตุของอาการปวดหัวที่ลูกกำลังเป็นอยู่นั้น เกิดจากอะไร และถ้าหากเราทราบแล้ว เราก็ควรที่จะยื่นมือเข้าช่วยลูกในทันที อย่างไรก็ดี หากดูแล้ว อาการของลูกรุนแรงมากขึ้น แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ รีบพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ เพราะอาการดังกล่าว อาจจะเป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดโรคร้ายก็เป็นได้

เครดิต: Thai Health

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ปวดหัว ลูกกลัวห้องน้ำ

4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่