วันออมสิน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เม.ย. ของทุกปี ธนาคารออมสินต้องการสร้างนิสัยการออมให้แก่เด็ก จึงได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องการจ่ายเงินทุนประเดิมเด็กเกิดในวันออมสิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เตรียมท้องด่วน! เด็กเกิด 1 เม.ย. “วันออมสิน” รับเงินคนละ 500
ข่าวดีสำหรับเด็กที่เกิด 1 เม.ย. ในปีนี้ และเด็กที่จะคลอดในวันที่ 1 เม.ย. ในปีหน้า เนื่องจากธนาคารออมสินได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เรื่องการจ่ายเงินทุนประเดิมเด็กเกิดในวันออมสิน โดยจะจ่ายให้เด็กที่เกิดในวันที่ 1 เม.ย. ของทุกปี เป็นจำนวนเงิน 500 บาทต่อคน นอกจากนี้ หากเด็กที่เกิดใน วันออมสิน มีชื่อในสูติบัตรว่าชื่อ “ออมสิน” ธนาคารออมสินจะจ่ายเงินทุนประเดิม เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาทต่อคน โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดการจ่ายเงิน ดังนี้
คุณสมบัติของเด็กที่จะได้รับเงินทุนประเดิม
- เป็นเด็กที่เกิดวันที่ 1 เม.ย. หรือ วันออมสิน จะได้รับเงินทุนประเดิม จํานวนเงิน 500 บาทต่อราย หรือ
- เป็นเด็กที่เกิดวันออมสินและได้มีการตั้งชื่อเด็ก โดยปรากฏในสูติบัตรว่า “ออมสิน” จะได้รับเงินทุนประเดิม จำนวนเงิน 5,000 บาทต่อคน
หลักเกณฑ์ในการขอรับเงินทุนประเดิม
- ผู้ขอรับเงินทุนประเดิมต้องเป็นบิดาหรือมารดาของเด็กที่มีคุณสมบัติในการรับเงินทุนประเดิม
- บิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย
ขอรับเงินทุนประเดิมได้ที่ธนาคารออมสินสาขา ภายในวันที่ 30 ธันวาคม ของปีที่เด็กเกิด
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินทุนประเดิม มีดังนี้
- ต้นฉบับและสำเนาสูติบัตรของเด็ก
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ของบิดาหรือมารดา หรือบัตรอื่นใดที่ทางราชการให้เป็นหลักฐานในการยืนยันตัวบุคคล ที่ระบุหมายเลขประจำตัวประชาชนไว้
- สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาหรือมารดา
โดยธนาคารจะนำเงินทุนประเดิม ฝากเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ และธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจ่ายเงินทุนประเดิมเด็กเกิดในวันออมสินตามประกาศนี้ได้ในภายหลังตามที่เห็นสมควร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ วิธีคำนวณกำหนดคลอด ท้องอย่างไรให้คลอด วันออมสิน
วิธีคำนวณกำหนดคลอด ท้องอย่างไรให้คลอดในวันออมสิน
การคำนวณวันคลอด ข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการใช้คำนวณคือ วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยส่วนมากเราจะเคยชินกับการจำว่าประจำเดือนหมดวันสุดท้ายเมื่อไหร่ ทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลที่ใช้นับนั้นคือวันแรกของการมีประจำเดือนต่างหาก เช่น คุณแม่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 1-3 มกราคม ข้อมูลที่จะนำมานับคือวันที่ 1 มกราคม และหากประจำเดือนมาไม่ตรงตามกำหนด ก็ไม่ควรนำมานับ เช่น ในช่วงเดือนมกราคม ประจำเดือนควรจะมาในวันที่ 1 มกราคม แต่กลับเลื่อนไปวันที่ 5 – 8 มกราคม ข้อมูลที่จะนำมานับในการคำนวณวันคลอด คือวันที่ 5 มกราคม นั่นเอง โดยมีสูตรในการคำนวณกำหนดคลอด ดังนี้
- นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่คือวันที่ 1 มกราคม ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม แล้วให้นับบวกต่อไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดคลอดของคุณแม่ก็จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม
- นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือนและนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด สมมติว่า วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่คือวันที่ 1 มกราคม ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดวันคลอดของคุณแม่จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม
จากตารางด้านบนนี้ แถวบน คือ วันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย / แถวล่าง คือ กำหนดวันคลอด โดยสูตรการนับทั้ง 2 วิธีนี้ จะให้ผลเหมือนกัน (แล้วแต่ว่าจะสะดวกนับแบบไหน) เป็นสูตรที่สูติแพทย์และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์และการทำสถิติการคลอดของคนทั่วโลก แต่จะให้ผลอย่างแม่นยำในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
คุณแม่ตั้งครรภ์ ข้อมูลการดูแลครรภ์ให้แข็งแรงจนคลอด
ทำไงให้ท้อง? 12 ทางลัด ที่คนอยากมีลูกไม่ควรพลาด
วิธีทำให้ท้องง่าย กับเคล็ดลับบ้านๆ แต่ช่วยมีลูกสมใจ
มาแล้ว! ฤกษ์คลอดบุตร 2562 ฤกษ์ดี ๆ มีให้เลือกตลอดทั้งปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : จส. 100
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่