AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สอนลูกให้มีน้ำใจ อยู่ได้บนโลกที่เห็นแก่ตัว

เครดิต: Slate

จำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้อง สอนลูกให้มีน้ำใจ สอนไปแล้วได้อะไร ไปหาคำตอบกันค่ะ!

 

 

โลกของเราจะสวยงาม น่าอยู่และมีความสุขได้ ถ้าทุกคนบนโลกมีน้ำใจให้กันและกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้ แต่จะทำอย่างไรละ ให้คนทุกคนรู้จักถึงความมีน้ำใจและการแบ่งกัน หากไม่เริ่มปลูกฝังจากสถาบันครอบครัว การมีน้ำใจนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีน้ำใจแต่เฉพาะคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก การแสดงออกต่อคนแปลกหน้า ก็สามารถช่วยทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น
เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เรานำมาฝากในวันนี้ค่ะ เป็นเหตุการณ์ที่เด็กนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดฟุกุโอกะ ที่เขาสามารถช่วยพาผู้หญิงสูงวัยอายุ 91 ปีที่หายตัวไปกลับมาส่งบ้านได้อย่างปลอดภัย!
เครดิต: Asahi
ฮิโรโตะ คิตะโอกะ เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่าว่า วันนั้นในขณะที่เขากำลังนั่งรถเมล์กลับบ้าน ก็ได้ยินคุณยายพูดคุยกับพนักงานคนขับรถเมล์ โดยพนักงานบอกให้คุณยายท่านนี้ลงรถ เพราะว่าคุณยายขึ้นรถผิดทาง ฮิโรโตะ คิดว่า เขาจะปล่อยให้คุณยายคนนี้อยู่คนเดียวไม่ได้เด็ดขาด
จึงลงรถเมล์พร้อมกับคุณยายท่านนี้ และโทรหาคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ของ ฮิโรโตะ ก็เต็มใจช่วยคุณยายอย่างเต็มที่ จึงอาสาขับรถพาคุณยายกลับไปส่งแถวบ้านตามที่คุณยายบอก และเมื่อมาถึงบ้านก็ต้องพบว่า บ้านของคุณยายนั้นเต็มไปด้วยตำรวจและเจ้าหน้าที่เขต จึงได้ทราบความจากลูกชายคุณยายว่า “คุณยายนั้นหายตัวออกไปจากบ้านเมื่อตอนบ่ายที่ผ่านมา”
เรื่องราวนี้ถือเป็นเรื่องของเด็กคนหนึ่งที่แน่นอนว่า เขาจะต้องถูกครอบครัวของเขานั้นปลูกเรื่องของความมีน้ำใจมาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ แน่ ๆ และผลขอกงารทำความดีในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงกับมอบประกาศนียบัตรให้กับ ฮิโรโตะ เลยทีเดียวละค่ะ … ช่างเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากเลยละค่ะ อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่า ความมีน้ำใจนั้นสามารถทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นเยอะเลยจริง ๆ

ปลูกฝังอย่างไรให้ลูกมีน้ำใจ คลิก!


เครดิต: Asahi

เครดิต: All My Children Daycare

 

สอนลูกให้มีน้ำใจ ปลูกฝังแบบไหนถึงจะได้ผลดี?

  1. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น สำหรับเด็กในวัย 1 – 3 ขวบนั้น คนที่พวกเขาสนใจที่จะให้เป็นต้นแบบก็คือ คุณพ่อคุณแม่เองนี่แหละค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีน้ำใจ ก็ต้องทำให้ลูกเห็นก่อน และต้องทำอย่างสม่ำเสมอด้วย เพียงแค่นี้ลูกก็จะสามารถซึมซับพฤติกรรมดังกล่าวไปได้เอง แบบที่คุณพ่อคุณแม่นั้นไม่ต้องเหนื่อยเลยละค่ะ
  2. สร้างบรรยากาศภายในบ้านให้อบอุ่น ได้มีผลการวิจัยพบว่า หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่อบอุ่น เด็กส่วนใหญ่ก็จะเติบโตมาเป็นคนที่มีน้ำใจ และรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเด็กไม่ได้รับความรัก ก็มีแนวโน้มว่าโตมาแล้วจะเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เพราะพวกเขาไม่เคย “ได้รับ” จึงไม่มีโอกาสที่จะเรียนรู้ที่จะ “ให้”
  3. ถามความรู้สึกของลูก เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกได้รับสิ่งของจากผู้อื่น แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองถามลูกดูค่ะว่า พวกเขารู้สึกอย่างไร … แน่นอนคำตอบที่ได้ก็คือ รู้สึกดีใจและมีความสุข จากคำตอบนี้นี่แหละค่ะ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสานต่อให้เขาได้เห็นภาพง่ายขึ้นด้วยคำพูดง่าย ๆ ว่า “ลูกรู้ไหมจ้ะ หากเราแบ่งปันสิ่งนี้ให้กับคนอื่น ผู้ที่ได้รับก็จะมีความสุขเช่นเดียวกันกับลูกนี่ละค่ะ” เป็นต้น
4. ชวนให้ลูกเป็นผู้ให้อย่างสม่ำเสมอ ลองชักชวนลูก ๆ นะคะ ให้เก็บของเล่น เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้หรือหนังสือนิทาน ที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีไปบริจาคกับเด็กคนอื่น ๆ หรือพยายามสอนให้ลูกช่วยเหลืองานต่าง ๆ ที่เขาสามารถทำได้เป็นประจำทุกวัน เมื่อเขาไปอยู่นอกบ้าน เขาจะได้แสดงออกถึงความมีน้ำใจนั้นกับคนอื่นได้เอง โดยที่ไม่มีใครต้องไปบังคับเขาเลยละค่ะ

 ข้อดีของการสอนให้ลูกมีน้ำใจ คลิก!

 

เครดิต: Positive Parenting Connection

ลูกจะได้อะไรบ้างจากคำสอนนี้?

ประโยชน์ที่ลูก ๆ จะได้รับหากคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกเป็นเด็กที่ดีมีน้ำใจก็คือ
ดังนั้น การสั่งสอนสิ่งดี ๆ ให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก ก็เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพในวันข้างหน้า

การสอนลูกให้มีน้ำใจสำคัญอย่างไรกับชีวิตของลูก?

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูก ๆ ได้รับการบ่มเพาะนิสัยดีในด้านของจิตใจ ลูกก็จะเป็นผู้ที่ยินดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจทั้งกาย วาจาและใจ และรู้จักช่วยเหลือในกันและกัน เช่น ช่วยจูงน้องอนุบาลที่เล็กกว่าเดินไปส่งที่ห้อง การแบ่งขนมของตัวเองให้กับคนอื่น ๆ เป็นต้น เด็กที่มีน้ำใจนั้นจะรู้จักชื่นชมความดีงามของผู้อื่น อีกทั้งยังมีข้อดีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ที่ส่งผลโดยตรงกับชีวิตของลูก เช่น
นอกจากนี้นะคะ ยังเป็นการช่วยให้ลูกได้รับรู้ความรู้สึกดี ๆ ตั้งแต่เล็กว่า การทำเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนนั้น นอกจากความสุขยังได้รับแก่ผู้ที่ได้รับแล้ว ผู้ให้ก็มีความสุขกับการให้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น อย่าลืมมาช่วยกันปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กที่มีน้ำใจกันตั้งแต่เล็ก ๆ นะคะ

เครดิต: Taamkru และ ผู้จัดการออนไลน์

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids