หลายครั้งที่คุณพ่อ คุณแม่บอกให้ลูกทำในสิ่งที่อยากให้ทำ โดยที่ลูกน้อยไม่รู้เหตุผล สิ่งที่คุณสั่งให้ลูกทำนั้นตัวเขาเองอาจไม่ชอบ เช่นบังคับให้ลูกรับประทานอาหารที่ลูกไม่ชอบ เมื่อลูกต่อต้านคุณพ่อ คุณแม่อาจเผลอตะโกนใส่ลูก กลายเป็นปัญหา วิธีทำความเข้าใจลูกน้อย จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อลูกน้อยร้องไห้งอแง คุณพ่อ คุณแม่อาจเผลอควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ จนต้องตะโกนใส่ลูกว่า “หยุดร้องเดี๋ยวนี้นะ!” เมื่อลูกน้อยได้รับการปฏิบัติตัวแบบนี้ ลูกน้อยก็จะตะโกนกลับ เป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีให้ลูกน้อย
1.เข้าใจพฤติกรรมของลูกน้อย
Naomi Aldort นักเขียนหนังสือการเลี้ยงลูก กล่าวว่า เด็กทุกคนต้องการที่จะประพฤติดีต่อพ่อแม่ แต่เมื่อลูกน้อยทำสิ่งผิดพลาด ที่ดูไม่มีเหตุผล ลองหาเหตุผลก่อนว่าเขาทำแบบนั้นไปทำไม เด็กๆ ทุกคนไม่ได้ต้องการทำสิ่งไม่ดี เมื่อเราทราบสาเหตุที่แท้จริงของการกระทำนั้น เราจะเข้าใจลูกน้อยมากขึ้น
ลองถามตัวเอง สมมติว่าลูกน้อยของเราชอบรังแกคนอื่น เพื่อเรียกร้องความสนใจของเรารึเปล่า? บางทีคุณพ่อ คุณแม่อาจติดเล่นโทรศัพท์มือถือมากเกินไป ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลารับประทานอาหาร การกระทำของคุณอาจส่งผลต่อการกระทำของลูกในเชิงลบได้เช่นกัน
2.ควบคุมอารมณ์ของตัวเอง
คุณพ่อ คุณแม่ควรควบคุมอารมณ์ของตัวเอง มากกว่าควบคุมอารมณ์ของลูก มันอาจจะยากที่จะต้องทำใจเย็นในขณะที่มีเรื่องน่าโมโหอยู่ตรงหน้า แต่คุณพ่อ คุณแม่ต้องคิดเสมอว่าพฤติกรรมเหล่านั้น ลูกน้อยอาจเลียนแบบ การตะโกนใส่ลูกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะอาจส่งผลให้ลูกกลายเป็นเด็กอารมณ์รุนแรง ลองนับ 1 ถึง 10 หายใจลึกๆ หรือเดินออกมาจากตรงนั้น ให้เวลาในการทบทวนความคิดกับตัวเอง
แทนที่คุณจะตะโกนต่อว่าลูกเมื่อลูกทำอะไรผิด ลองเปลี่ยนเป็นการร้องเพลง หรือเล่าเรื่องของเด็กที่กระทำตัวไม่ดี แล้วส่งจะส่งผลอย่างไรบ้างดีกว่า
อ่านต่อ “วิธีทำความเข้าใจลูกน้อย ด้วยเหตุผลเชิงบวก เพียง 6 ข้อ” คลิกหน้า 2
3.มองในสิ่งที่ลูกพยายาม
คุณพ่อ คุณแม่มักจะมองข้ามสิ่งที่ลูกพยายาม แต่กลับมองในสิ่งที่ลูกผิดพลาด บางครั้งเด็กๆ อาจจะไม่รู้ขีดจำกัดความสามารถของตัวเอง จึงทำอะไรที่ไม่ถูกใจอยู่บ่อย แทนที่คุณพ่อ คุณแม่จะสนใจในสิ่งที่ลูกผิดพลาด ให้มองในสิ่งที่ลูกกำลังพยายาม
สมมติว่าคุณพ่อ คุณแม่พาลูกน้อยวัยเด็กเล็กไปที่ร้านอาหาร ลูกน้อยใช้มือคว้าหมับหยิบอาหารเข้าปาก และทำหกเลอะเทอะ จนอาหารตกพื้น คุณพ่อ คุณแม่กลับตีลูกน้อย แล้วต่อว่า “ทำแบบนี้ทำไม?!” อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นพ่อแม่ที่มีแต่คำว่า “ทำไม” ลูกน้อยอาจกำลังต้องการลองรับประทานอาหารด้วยตัวเอง
4.ให้ความสนใจในพฤติกรรม
เด็กๆ มักชอบเรียกร้องความสนใจ เพราะพวกเขาต้องการการตอบสนอง บางครั้งอาจทำให้คุณพ่อ คุณแม่รู้สึกเบื่อหน่าย และไม่อยากตอบคำถามที่ไร้สาระ บางเวลาลูกน้อยก็ทำเสียงดังจนหนวกหูน่ารำคาญ รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น ทำให้ลูกได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
อ่านต่อ “วิธีทำความเข้าใจลูกน้อย ด้วยเหตุผลเชิงบวก เพียง 6 ข้อ” คลิกหน้า 3
5.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวก
เด็กๆ ที่ได้ยินแต่คำว่า “ไม่” หรือ “ไม่ได้” ตลอดเวลา มีแนวโน้มที่จะต่อต้านจากคำสั่ง แทนที่คุณพ่อ คุณแม่ จะห้ามลูกน้อยไปซะทุกอย่าง ลองแนะนำในสิ่งที่ควรกระทำในเชิงบวก จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกน้อยได้ เช่น บอกให้ลูกช่วยเลือกสิ่งของที่จะซื้อในซุปเปอร์มาร์เก็ตแทนการปล่อยให้เขาวิ่งเล่นซุกซนไปทั่ว หรือแทนที่จะบอกว่าห้ามวิ่งรอบๆ สระว่ายน้ำ เปลี่ยนเป็น ถ้าหนูเดินแทนการวิ่งแม่มีขนมเป็นของรางวัล เป็นต้น
6.ให้รางวัลลูกน้อยด้วยการอยู่กับลูก
รางวัลที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือเวลาที่ได้อยู่กับพ่อแม่ เวลาที่มีคุณภาพคือกุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีความสุข มีความประพฤติที่ดี ใช้เวลาอย่างวันละ 15 นาที ทำให้ในสิ่งที่ลูกต้องการ แล้วบอกกับลูกว่าเขาคือคนที่ยอดเยี่ยมที่สุด และคุณรักเขามากแค่ไหน
เครดิต: http://www.pbs.org/parents/talkingwithkids/positive_discipline_tips.html
Save
Save