ประกันสังคมอัดฉีดมาตรการช่วยเหลือลูกจ้าง พนักงานบริษัท ที่โดนเลิกจ้าง หรือต้องหยุดพักงานจากพิษโควิด-19 ระบาดหนัก หลังมาตรการปิดสถานที่เสี่ยงในหลายพื้นที่ พร้อมเปิดให้ ลงทะเบียนว่างงาน เงื่อนไขพิเศษ พร้อมปรับอัตราเงินชดเชยให้สูงขึ้น เพื่อชดเชยรายได้ที่เสียไป
ลงทะเบียนว่างงาน แล้วได้สิทธิรับเงินชดเชยส่วนใดบ้าง ?
ภายหลังการประกาศมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้นทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ที่ผ่านมาระยะหนึ่งและยังต้องดำเนินต่อไปอีก 1 เดือน ทั้งการปิดห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง สถานบริการ สนามกีฬา ฟิตเนส และสถาบันสอนต่างๆ รวมถึงการประกาศปิดร้านค้าในช่วงเวลา 23.00 -05.00 น. ในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้าง ทั้งเจ้าของกิจการ พ่อค้าแม่ค้า รวมถึงพนักงานลูกจ้างที่ตกงาน หรือหยุดพักงานชั่วคราวทันทีนับแสนคน
รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-12 ในระยะที่ 2 โดยส่วนแรก เป็นการดูแลผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม (กลุ่มแรงงานนอกระบบ) โดยจะสนับสนุนเปิดให้ ลงทะเบียนรับเงิน 5000 เพื่อให้มีค่าครองชีพเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท (เมษายน-มิถุนายน 2563) อ่านวิธีลงทะเบียนรับเงิน 5000 บาท ได้ที่นี่
พนักงาน ลูกจ้างตามสิทธิประกันสังคม ได้เงินชดเชยหรือไม่
ส่วนลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท ลูกจ้างทั่วไป หรือผู้ทำอาชีพอิสระที่ส่งประกันสังคมด้วยตัวเอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ใน 2 ลักษณะ ได้แก่
-
กรณีนายจ้างให้หยุดงานเพื่อกักตัวสังเกตอาการ 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
-
กรณีภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ส่งให้ผลลูกจ้างไม่สามารถทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง
ทางสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดให้มีการ ลงทะเบียนว่างงาน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ทั้งหมด 2 มาตรการหลัก ดังต่อไปนี้
- การเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อนายจ้างไม่ให้ทำงานเพราะต้องกักตัวสังเกตอาการ 14 วัน
เมื่อผู้ประกันตนมา ลงทะเบียนว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยเพิ่มขึ้นเป็น 60 % ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไปก่อนหน้านี้ ให้ได้รับค่าชดเชย 50 % ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน แต่ไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินกระเป๋าให้มากขึ้นสำหรับการใช้สอยในชีวิตประจำวัน
- ในกรณีถูกเลิกจ้าง หรือหยุดพักงานแล้วไม่ได้รับค่าจ้าง เนื่องจาก “ภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดกิจการเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค” เมื่อเข้าไป ลงทะเบียนว่างงาน ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชยในกรณีว่างงานเพิ่มเป็น 62 % ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่ง แต่ไม่เกิน 90 วัน เพิ่มขึ้นจากเดิม
คุณพ่อคุณแม่ที่ยังทำงานกันอยู่ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะสำนักงานประกันสังคมได้ออกมาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกจ้างเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยให้สิทธิพนักงานตามสิทธิประกันสังคมที่ยังทำงานอยู่ รวมถึงเจ้าของกิจการ สามารถลดอัตราเงินสมทบนายจ้างให้เหลือเพียง 4 % ส่วนลูกจ้างให้เหลือ 1 % เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2563 รายละเอียดตามภาพ
อ่านต่อ มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างประกันสังคม และเจ้าของกิจการ เพิ่มที่หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง เช่น ผู้ทำอาชีพอิสระ ได้รับสิทธิให้ส่งเงินเข้ากองทุนลดลงจากเดิม 221 บาท เป็น 86 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ลูกจ้างตามสิทธิประกันสังคมทุกคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 จะยังได้รับสิทธิการรักษาเท่าเทียมกับการรักษาทั้ง 3 กองทุน
ลงทะเบียนว่างงาน เพราะพิษโควิด-19 ทำอย่างไร
พนักงาน ลูกจ้างที่ตกงานหรือถูกให้หยุดพักงาน จากกรณีที่ภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้
-
เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th
-
เลือกหัวข้อ “ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน” แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
-
ให้นายจ้างรับรองวันที่ที่ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้
-
รอการติดต่อกลับจากสำนักงานประกันสังคม
หมายเหตุ: กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ (โรคโควิด-19) และนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างในอัตรา 75 % ของค่าจ้าง
หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ผ่านช่องทาง e-mail (info@sso1506.com), Web board. Live chat และทาง Facebook ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน) หรือโทร 1506 (ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)
เกณฑ์ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ ลงทะเบียนว่างงาน
- ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือ กรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
- มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
- ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออก หรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
- ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัด ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
- เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
- ผู้ที่ว่างงาน ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
- ผู้ที่ว่างงาน ต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้
- ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
- ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
บทความน่าสนใจอื่นๆ
วิธีเคลมประกันโควิด-19 เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรรู้
เมื่อแม่จิตตก! 9 วิธีคลายเครียด ดูแลสุขภาพใจไม่ให้ Panic ช่วงโควิด-19
แม่ขอแชร์ 8 ไอเดีย วิธีประหยัดเงิน ในกระเป๋า ช่วย save cost สู้วิกฤติในยามนี้
แหล่งข้อมูล
www.prachachat.net www.sso.go.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่