กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าว “พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : เด็กเยาวชนได้รับประโยชน์จริงหรือ?” โดยความร่วมมือของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส. กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติหรือ UNFPA มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิงมูลนิธิแพธทูเฮลท์สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยและเครือข่ายยุวทัศน์กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ช่วยให้เด็กที่ ท้องก่อนวัยอันควร ได้กลับมาเรียนหนังสือ
น.พ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในวันที่ 29 ก.ค.นี้เป็นวันที่พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีผลบังคับใช้ซึ่งเด็กและเยาวชนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 5 เรื่องที่สำคัญคือ
พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
1.สถานศึกษาต้องจัดให้มีการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างเหมาะสมจัดหาและพัฒนาผู้สอนเพศวิถีศึกษาการให้คำปรึกษาช่วยเหลือและคุ้มครองวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาต่ออย่างเหมาะสมรวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
- สถานบริการต้องให้ข้อมูลความรู้และจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
3.สถานประกอบกิจการต้องให้ข้อมูลความรู้และส่งเสริมให้เข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
4.การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและ
- ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่น
น.พ.กิตติพงศ์ กล่าวว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกฎหมายจึงกำหนดให้มี 5 กระทรวงหลักคือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงมหาดไทยกระทรวงแรงงานกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขโดยกำหนดให้รัฐมนตรีของแต่ละกระทรวงมีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ
อ่านต่อ “พ.ร.บ. ช่วยเด็กที่ ท้องก่อนวัยอันควร ได้กลับมาเรียนหนังสือ” คลิกหน้า 2
สสส.กล่าวว่าจากที่สสส.ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยทำการสอบถามนักเรียนในระดับชั้นม.ต้นม.ปลายและปวช. ในพื้นที่กทม.และ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ขอนแก่น , ชลบุรีและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,053 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2559 พบว่า
สาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
1 คือมาจากพฤติกรรมเลียนแบบจากกลุ่มเพื่อนและสื่อต่างๆ (73.9%) ตามด้วยอันดับ
2 การดื่มแอลกอฮอล์(73%) และอันดับ
3 การพักอาศัยอยู่ตามลำพังของวัยรุ่นโดยไม่มีผู้ปกครองอยู่ด้วย (72.7%)
ส่วนความคิดเห็นต่อการยอมรับหากเพื่อนสนิทที่เรียนอยู่ด้วยกันตั้งครรภ์ระหว่างเรียนพบว่าส่วนใหญ่ 65.4% ยอมรับได้ส่วน 28.4% ไม่แน่ใจและ 6.2% ยอมรับไม่ได้แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนการยอมรับได้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจะลดน้อยลงคือ 58.3% เช่นเดียวกับสัดส่วนการยอมรับได้ในเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชายโดยเพศหญิงยอมรับได้อยู่ที่ 70.1% ส่วนเพศชาย 59.8%
สิ่งที่เด็กเยาวชนมองว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์มากที่สุดจากกฎหมายป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
อันดับ 1 คือการได้รับสิทธิรับบริการส่งเสริมป้องกันรักษาและฟื้นฟูที่เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ (99%)
อันดับ 2 การได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ (98.8%)
อันดับ 3 หากเป็นพ่อแม่วัยรุ่นจะได้รับสิทธิในการจัดสวัสดิการที่เสมอภาคไม่ถูกเลือกปฏิบัติ (94%)
อันดับ 4 การได้รับสิทธิคุ้มครองในการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว (93.4%) และ
อันดับ 5 ให้สิทธิผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อได้ (87.3%)
เสียงสะท้อนต่อโรงเรียนและสถานศึกษาภายหลังจากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้สิ่งที่เด็กเยาวชนต้องการมากที่สุดคือ
- การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเพศศึกษาอย่างรอบด้านและวิธีการคุมกำเนิด
- โรงเรียนต้องประสานหรือหาแหล่งช่วยเหลือด้านสังคมและ
- การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ตั้งครรภ์ส่งต่อระบบสวัสดิการสังคม
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก
วิธีเริ่มคุยเรื่องเซ็กซ์กับลูกวัยใส
เวลา สิ่งสำคัญสำหรับลูกวัยรุ่น
ที่มาจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข