AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เซฟไว้ดูเลย! ตารางวัคซีน 2563 อัปเดตจากสมาคมโรคติดเชื้อฯ

ตารางวัคซีน 2563 จาก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

มาแล้ว! ตารางวัคซีน 2563 จาก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย การให้วัคซีนในเด็กไทย 2020 ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 12 ปี ลูกต้องได้รับวัคซีนอะไร ตอนอายุเท่าไหร่บ้าง พ่อแม่เช็กเลย!

ตารางวัคซีน 2563
จากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

ประโยชน์ของวัคซีน

จาก ตารางวัคซีน 2563 อาจมีหลายคนสงสัยว่า จำเป็นหรือไม่ และ ทำไมเด็กต้องฉีดวัคซีน??  นั่นก็เพราะ การฉีดวัคซีน เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค ซึ่งก่อนที่จะมีวัคซีนใช้ คนส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ และโรคระบาด แต่ปัจจุบันโรคติดเชื้อร้ายแรงที่เคยคร่าชีวิตเด็กๆ ไม่ได้เป็นปัญหาแล้ว เพราะมีวัคซีนป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง และมีวัคซีนป้องกันเชื้อใหม่ๆ พัฒนาขึ้นใหม่ทุกวัน

Must read >> วัคซีนภูมิแพ้ คืออะไร? ราคาเท่าไหร่? ฉีดแล้วหายขาดไหม?

Must read >> 6 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูก ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย

… แต่ก็มีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนสงสัยว่า แล้วลูกของเราต้องได้รับวัคซีนอะไรบ้าง? วัคซีนของลูกน้อยตัวไหนควรฉีดก่อน! ตัวไหนฉีดหลัง! ลูกวัยนี้…ถึงเวลาต้องฉีดตัวนี้แล้วรึยัง? หรือ ตัวนี้ต้องฉีดห่างจากเข็มแรกนานแค่ไหน กับคำถามที่เกิดขึ้นร้อยแปดพันข้อที่เกี่ยวกับเรื่อง การฉีดวัคซีนของทารก

ทั้งนี้การให้วัคซีนแก่เด็ก จะมีกำหนดออกมาจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นวัคซีนพื้นฐานที่ได้จัดหาให้ฟรี ซึ่งเด็กไทยทุกคนสามารถรับวัคซีนเหล่านี้ได้จากสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานีอนามัยทุกแห่ง ดังนั้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังจะพาลูกไปรับวัคซีน ก็ควรจะรู้ว่าวัคซีนที่ควรต้องได้รับมีอะไรบ้าง?

ทีมแม่ ABK จึงมี ตารางวัคซีน 2563 จาก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มาแนะนำ ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว เพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ใช้ดูและเช็ก ก่อนพาลูกน้อยวัยแรกเกิด – 12 ปี ไปรับวัคซีน vaccine 2020 ดูได้จาก ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย ด้านล่างนี้ได้เลย

ขอบคุณภาพ ตารางวัคซีน 2563 จาก เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว

ตารางวัคซีน 2563 สำหรับเด็กไทย

แนะนำโดย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดไฟล์แนบแบบภาพใหญ่ชัดๆ ได้ที่นี่!

ประเด็นสำคัญ vaccine 2020

(1) บรรจุวัคซีนโรต้าในวัคซีนหลักฟรี (EPI)
– หยอดที่อายุ 2,4,6 เดือน
– ครั้งแรกอายุ 6-15 สัปดาห์ ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน
– แต่ละครั้งต้องห่างมากกว่า 4 สัปดาห์
– อาจให้อายุมากกว่าที่กำหนด แต่อายุไม่เกิน 2 ปี (องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำ)

Must read >> กทม.ชวนแม่ รับ วัคซีนไวรัสโรต้า ฟรี ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข

(2) MMR

(3) Tdap ที่ให้อายุ 11 ปี สามารถให้ทุก 10 ปี หรืออายุที่ลงท้ายด้วย เลข 0 ได้

(4) สุกใส

(5) JE

 

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ดูตารางแล้วยังไม่เข้าใจ สามารถอ่านดูสรุปคำอธิบายประเด็น ตารางฉีดวัคซีน 2020 ซึ่งอัปเดตจากงานประชุมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจากคุณหมอ เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้ที่หน้าถัดไปกันเลยค่ะ

 

ดูสรุปประเด็น ตารางการให้วัคซีน 2563 คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สำหรับภาพ ตารางวัคซีน ปี 2563 จากหน้าแรก คุณหมอแอดมินเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้เขียนสรุปประเด็นซึ่งอัปเดตจากงานประชุมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (วันที่ 19-21 ก.พ. 2563) มาให้ดังนี้

รายละเอียดแต่ละวัคซีน จาก ตารางวัคซีน 2563

(1) วัคซีนไข้หวัดใหญ่
– เริ่มฉีดให้เด็กได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน โดยเฉพาะ ต่ำกว่า 2 ปี
– อายุต่ำกว่า 9 ปี ฉีดปีแรกต้อง 2 เข็มห่าง 1 เดือน … แต่ถ้าปีแรกได้แค่ 1 เข็ม ปีถัดมาต้องฉีด 2 เข็ม และถัดมาจึงค่อยปีละเข็ม
และกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่  คือ

Must read >> ไขข้อสงสัย ลูกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วทำไมยังต้องฉีดซ้ำ!!

(2) วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (เริ่มอายุ 9 – 45 ปี)
– ฉีดทั้งชาย-หญิง เริ่มตั้งแต่ 9 – 26 ปี เน้น 11 – 12 ปี จำนวน 3 เข็ม (ระยะห่าง 0, 1 – 2, 6 เดือน) อาจจะ 2 หรือ 4 สายพันธุ์ก็ได้
– และอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งชายและหญิงสามารถฉีดได้ 2 เข็ม (ระยะห่าง0, 6 เดือน)
– แผนจากกระทรวง คือ ฉีดเด็กป.5 จำนวน 2 เข็ม ห่าง 6-12 เดือน
เด็กชายฉีดเพราะป้องกันหูดหงอนไก่

Must read >> ไขข้อสงสัย? ทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกวัยรุ่นไปฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งจากไวรัส HPV

(3) บีซีจี (เด็กแรกเกิด)
– ฉีด 0.1 ซีซี ที่หัวไหล่ซ้าย
– ไม่ควรฉีดสะโพก, ส้นเท้า ถ้าเคยฉีดแล้วไม่มีแผล ไม่ต้องฉีดซ้ำ
– ป้องกันวัณโรค 50%, สมอง 64%, แพร่กระจาย 71%
– ถ้าฉีดแล้วมีหนอง ห้าม I and D รักษาโดย aspirate พิจารณา INH+- Rifam 1 – 3 เดือน

(4) ตับอักเสบบี
– ทุกคนต้องได้อย่างน้อย 3 เข็ม และเข็มสุดท้ายอายุมากกว่าเท่ากับ 6 เดือน
– เด็กที่แม่เป็น HBsAg-positive (โดยเฉพาะแม่ HBeAg+) ให้ HBIG ภายใน 12 ชม. และไม่เกิน 7 วัน และต้องตรวจเลือดลูกอายุ 9 – 12 เดือน (HBsAg และ Anti-HBs) ถ้า neg ต้องฉีด 1 เข็มแล้วอีก 2 เดือนตรวจซ้ำ
– ถ้าเป็นพาหะตับบี viral load >200,000 ต้องให้ TDF ตั้งแต่ GA 26 week ขึ้นไปถึงหลังคลอด 4 week

Must read >> คุณพ่อเสียชีวิต จากตับอักเสบบี เพราะใช้หลอดดูดร่วมกับคนอื่น

(4) คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ (เริ่มอายุ 2 เดือน)
– DTP มีภูมิดังนี้ D=100%, T 95%, P 80-85%
– DTaP แทน DTwP ได้ทุกเข็ม
– 3 เข็มแรก ควรเป็นชนิดเดียวกัน ถ้าหาไม่ได้ต่างชนิดก็ได้
– อายุ 4 – 6 ปี อาจใช้ Tdap แทนได้
– อายุ 10 – 15 ปี ควรได้ Td หรือ Tdap (boostrix, Adacel) หรือ TdaP (Boostagen) ไม่ว่าจะเคยได้ Tdap ตอน 4 – 6 ปี มาก่อนหรือไม่
– หญิงตั้งครรภ์ควรได้ Tdap, หรือ dT ที่อายุ 27 – 36 สัปดาห์ทุกการตั้งครรภ์ เพื่อลด pertussive ไอกรนในเด็กแรกเกิด -6 เดือน
– dT ฉีดทุก10 ปี เริ่มอายุ > 20,30,40,50,60.. โดย – พฤษภาคม 2562 จัดตั้งคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่
-aP Pertagen อายุ 11 ปีขึ้นไป

(5) โปลิโอ
– หยอด 2 สายพันธุ์ (type 1,3) 5 ครั้ง+ IPV (มี1,2,3สายพันธุ์) 1 ครั้ง อายุ 4 เดือน
– IPV สามารถแทน OPV ได้ทุกโด๊ส (ยังพบเคสในประเทศอาฟกานิสถาน,ปากีสถาน,ไนจีเรีย)
– ชนิดฉีดแทนกินได้ทุกครั้ง กรณีฉีดอย่างเดียว ให้แค่ 4 ครั้งได้ (ยกเว้นโด๊ส 18 เดือน)

(6) หัด หัดเยอรมัน คางทูม
เข็มแรก อายุ 9 – 12 เดือน (ฉีด 9 เดือน; มี failure 20%, ฉีด 12 เดือน; มี failure 5%)
ครั้งที่สอง อายุ 2-2 1/2 ปี

– กรณีระบาดและสัมผัสฉีดเข็มแรกอายุ 6 – 9 เดือน ให้ฉีดเข็มสองที่อายุ 12 เดือน และเข็มสามอายุ 2 – 4 ปี
– ถ้าเริ่ม 9 – 12 เดือน ให้เข็ม 2 ห่างเข็ม 1 อย่างน้อย 3 เดือน (ถือว่าให้ครบ 2 เข็ม)
– ถ้าฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน ฉีดเข็มสองห่างเข็มแรก 1 เดือน
– กรณีระบาด บุคลากรการแพทย์ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ควรให้วัคซีน MR กระตุ้น

(7) ไข้สมองอักเสบ JE

แต่กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ เข็ม 2 ห่าง 12 – 18 เดือน

กรณีได้แบบมีชีวิตมาก่อน 1 เข็ม สามารถให้ JEVAC 1 เข็มห่างเข็มแรก 1ปี

(8) ตับอักเสบเอ

(9) สุกใส
– อายุน้อยสุด 1 ปี แนะนำ 12 – 18 เดือน
– เข็ม 2 แนะนำใหม่ให้เมื่ออายุ 2 – 4ปี
– อาจฉีดเข็ม 2 ก่อนอายุ 4 ปี กรณีมีการระบาด อายุ 1 – 12 ปี ฉีด 2 เข็ม ห่าง 3 – 12 เดือน
– อายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าไม่เคยเป็นฉีด 2 เข็มห่าง 1 เดือน

(10) ไอพีดี

มี 10 กับ 13 สายพันธุ์

(11) ป้องกันท้องเสียโรต้า

– Mono valent มี 2 ชนิด (1)Rotarix กิน 2 ครั้ง 2,4 เดือน และ (2)Rotavac กิน 3 ครั้ง 2,4,6 เดือน
– Pentavalent 3 ครั้ง 2,4,6 เดือน ยี่ห้อ Rotateq

ทั้ง 2 ชนิดเริ่มให้ 6 – 15สัปดาห์ ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน และต้องห่างระหว่างเข็มมากกว่า 4 สัปดาห์ … ถ้าให้อายุมากกว่าที่กำหนด ได้แต่ต้องน้อยกว่า 2 ปี (องค์การอนามัยโลก)

(12) ไข้เลือดออก 
– อายุ 9 – 45 ปี จำนวน 3 เข็ม 0,6,12 เดือน ในผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน
– ผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ควรตรวจเลือดก่อนการฉีด (อ่านเพิ่มคำแนะนำในเว็บไซต์สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก)

(13) วัคซีน Hib
-ใน EPI เริ่ม มิถุนายน 2562 ให้ 3 ครั้ง; 2, 4, 6 เดือน
– เข็ม 4 ไม่จำเป็นต้องฉีดถ้าแข็งแรงดี แต่ถ้าเป็นผู้มีความเสี่ยง เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่มีม้าม ควรให้เข็ม 4 ที่อายุ 18 เดือน
– ไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนฮิปในเด็กปกติอายุมากกว่า 2 ปี

Must read >> อนุมัติแล้ว! เด็กไทยฉีดวัคซีน HIB ฟรี!! ป้องกันได้ 5 โรค

 

อย่างไรก็ดี จาก ตารางวัคซีน 2563 วัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่นไข้ งองแง ซึ่งมักไม่รุนแรง พ่อแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดช่วง 2-3 วันหลังฉีดวัคซีน อาจให้ยาลดไข้แก้ปวดได้ ถ้ามีอาการไข้หรือเจ็บปวดที่ไม่รุนแรง แต่หากมีอาการผิดปกติใดๆ ที่รุนแรงควรรีบไปหาหมอโดยด่วน

Must read >> เตือนแม่! ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนผิดวิธี เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง

และอย่าลืมพาลูกน้อยไปรับวัคซีนให้ครบ เพราะภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ถือเป็นของขวัญที่ดีซึ่งมันจะอยู่กับลูกตลอดชีวิต และอย่าลืมเก็บสมุดบันทึกวัคซีนไว้ให้ลูกจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย เพราะข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ในภายหลังทั้งนี้ถ้าถึงเวลาต้องไปรับวัคซีน แต่พ่อแม่ไม่ว่างขอให้รีบพาไปรับทันทีหลังจากนั้น เพราะการรับวัคซีนล่าช้าไปบ้างมักไม่ค่อยเป็นปัญหาและดีกว่าไม่ได้รับ แต่ไม่ควรทิ้งช่วงให้ล่าช้ามากเกิน

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูล ตารางวัคซีน 2563 จาก https://pidst.or.th/A826.html

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids