AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พ่อแม่เตรียมตัว รัฐบาลเรียกเก็บภาษีสินสอด

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ หรือว่าที่สามีภรรยาที่มีฐานะ ที่จัดงานแต่งงาน มีเงินสินสอดทองหมั้น ทางกรมสรรพากรเตรียมเรียกเก็บ ภาษีสินสอด แล้ว โดยภาษีเหล่านั้น ถ้ามอบให้ก่อนทำการจดทะเบียนสมรส ก็ต้องนำสินสอดในส่วนที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป ไปเสียภาษีอัตรา 5%

ภาษีสินสอด ต้องเสียเท่าไหร่?

ตามข้อความที่ระบุในพระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 ระบุว่า

บุคคลที่ได้รับเงินได้จากการอุปการะ หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จากบุคคลซึ่งไม่ใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนเกินที่ 20 ล้านบาท สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ หรือจากการให้โดยเสน่หาจาก บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส และ 10 ล้านบาท สำหรับเงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส

โดยถ้ามอบให้ก่อนจดทะเบียนสมรส ก็ต้องนำสินสอดในส่วนที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ไปเสียภาษี 5% แต่ถ้ามอบให้หลังจดทะเบียนสมรสก็จะคิด 5% ในส่วนเกิน 20 ล้านบาท

เครดิตข่าว : มติชนออนไลน์

จากข้อมูลดังกล่าว Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมความรู้ด้านกฎหมาย เกี่ยวกับการหมั้น และสินสอดทองหมั้น เอาไว้ดังนี้

การหมั้นคืออะไร?

การหมั้น คือการทำสัญญาว่าจะแต่งงานกันในอนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการหมั้นก่อนที่จะแต่งงานเสมอไป อาจจะมีการแต่งงานโดยไม่มีการหมั้นเลยก็ได้ ซึ่งการหมั้นนั้นแตกต่างจากสัญญาอื่นๆ ที่ไม่สามารถบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญาได้ หรือไม่สามารถบังคับให้แต่งงานกันได้

เงื่อนไขในการหมั้น

1.อายุ

การหมั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อ ผู้หญิง และผู้ชาย มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถึงแม้ว่าพ่อแม่ของทั้ง 2 ฝ่ายจะยินยอมให้หมั้นกันก่อนอายุ 17 ปี ก็ถือเป็นโมฆะ จึงไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ถ้าไม่มีการแต่งงานเกิดขึ้น แต่สามารถเรียกของหมั้นคืนในฐานลาภมิควรได้ แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้ชายหญิงแต่งงานกันได้

2.ความยินยอม

ถ้าหมั้นกันในขณะที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโมฆะ และถ้าบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลอื่นอีก

3.เงื่อนไขในเรื่องของการหมั้น

การหมั้น จะต้องส่งมอบของหมั้นให้ฝ่ายหญิง เพื่อหลักฐานว่าจะแต่งงาน โดยจะมีมูลค่าเท่าใดก็ได้ ถ้าไม่มีการให้ของหมั้น ถือว่าการหมั้นนั้นไม่สมบูรณ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ของหมั้นมีอะไรบ้าง? และสินสอดคืออะไร?” คลิกหน้า 2

ของหมั้นมีอะไรบ้าง?

ของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย มอบให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะแต่งงาน ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงที่หมั้นด้วย เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง การหมั้นจะผูกพันกันต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงยินยอมหมั้นกันด้วย

กรณีต่อไปนี้ ฝ่ายหญิง ต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย

1.ฝ่ายหญิงไม่ยอมแต่งงานด้วย โดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าผิดสัญญาหมั้น

2.ฝ่ายชายขอถอนหมั้น เพราะมีสาเหตุมาจากฝ่ายหญิง

กรณีต่อไปนี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย

1.ฝ่ายชายผิดสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร

2.ฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงเสียชีวิต

3.ฝ่ายหญิงขอถอนหมั้น กรณีที่มีเหตุมากจากฝ่ายชาย

4.ต่างฝ่าย ต่างละเลย ไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นไม่ได้

สินสอดคืออะไร?

สินสอด คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนที่ฝ่ายหญิงยอมแต่งงานด้วย โดยจะส่งมอบให้เมื่อใดก็ได้ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อขอขมาพ่อแม่ของฝ่ายหญิงที่ตนเองล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นจะไม่ใช่สินสอด ฝ่ายชายจะเรียกเก็บคืนไม่ได้

ฝ่ายชายจะเรียกร้องสินสอดคืนได้ก็ต่อเมื่อ ไม่มีการแต่งงานเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากฝ่ายหญิง หรือไม่มีการสมรสโดยพฤติการณ์ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา ไม่แต่งงานกัน โดยไม่มีเหตุผลที่ทางกฎหมายยอมรับได้ ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนคู่สัญญาหมั้น ไม่ใช่แค่ชายและหญิงคู่หมั้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้น” คลิกหน้า 3

ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้น

1.ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อร่างกายของอีกฝ่าย

2.ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อชื่อเสียงของอีกฝ่าย

3.ค่าทดแทนความเสียหาย ในการใช้จ่าย หรือตกเป็นลูกหนี้ เนื่องจากการเตรียมการแต่งงานตามสมควร

4.ค่าทดแทนความเสียหาย ในกรณีที่ได้จัดการทรัพย์สิน ด้วยความคาดหมายว่าจะได้แต่งงาน

5.ค่าทดแทนความเสียหาย ในการจัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาชีพ หรือการทำมาหากิน ด้วยความคาดหมายว่าจะได้แต่งงาน

ค่าทดแทนในกรณีเสมือนผิดสัญญาหมั้น

1.ชายคู่หมั้น มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ร่วมประเวณีกับฝ่ายหญิงคู่หมั้น โดยรู้ว่าฝ่ายหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว ซึ่งจะเรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อบอกเลิกสัญญาหมั้น

2.ชายคู่หมั้น มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ข่มขืน หรือพยายามข่มขืนฝ่ายหญิงคู่หมั้น โดยรู้ว่าฝ่ายหญิงมีคู่หมั้นแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

สัญญาหมั้นจะสิ้นสุดเมื่อ

1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

2.ถอนหมั้นโดยสมัครใจทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้น และสินสอดแก่ฝ่ายชาย แล้วแต่ตกลงกัน

3.ถอนหมั้นโดยอ้างเหตุผลตามกฎหมาย เช่น ฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงไม่สมควรแต่งงานกับอีกฝ่ายหนึ่ง คู่หมั้นมีการกระทำชั่ว อย่างร้ายแรง ซึ่งได้กระทำหลังจากการหมั้น โดยกฎหมายถือว่าผิดสัญญา และกรณีเกิดจากในทางประเวณีกับฝ่ายหญิงคู่หมั้น

เครดิต: มติชนออนไลน์, มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

กระทรวงสาธารณสุข ชวนคนไทยมีลูกเพื่อชาติ

4 กับดักชีวิตคู่ ทำลาย “ความสุข-ความสำเร็จ” ของลูก

กฎหมายภาษีฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลดหย่อนสามี-ภรรยา และลูก เป็น 2 เท่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save