AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลดหย่อนภาษี 2560 เพิ่มสิทธิลดหย่อนสามี-ภรรยาและลูกเป็น 2 เท่า

ลดหย่อนภาษี 2560  …กฎหมายภาษีฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลดหย่อนคู่สมรส ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลดหย่อนคู่สมรสที่มีเงินได้ 60,000 บาท บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

ภาษี คืออะไร ?

ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฏร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกนัยหนึ่งคือ เงินที่ได้จากเอกชนไปสู่รัฐบาล โดยการเก็บภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้พอใช้กับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบาลทางธุรกิจในอนาคต

ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น บุคคลธรรมดา , ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล , ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี , กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และ วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

กฎหมายภาษีฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิ ยื่น ลดหย่อนภาษี 2560

ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการหักค่าใช้จ่าย การหัก ลดหย่อนภาษี 2560 การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้นั้น …ตามประมวลรัษฎากร ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป จึงสมควรต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหัก ลดหย่อนภาษี 2560 การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดาและอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

Must readลงทะเบียนคนจนรอบสอง พ่อแม่ผู้มีรายได้น้อย

โดยมีรายงานจาก ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 (สมเด็ จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน ระบุว่า …อ่าน พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 คลิก!

อ่านต่อ >> “กฎหมายภาษีฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลดหย่อนสามี-ภรรยา และลูก อย่างไร” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สรุปการปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?

Must readคุณแม่ควรรู้ไว้!! ประโยชน์ของทะเบียนสมรสที่คุณอาจไม่เคยรู้
Must readสิทธิการเลี้ยงดูบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียน
Must readแบ่งทรัพย์สินอย่างไร หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ขอบคุณภาพจาก : Facebook กรมสรรพากร ( Revenue Department )

อ่านต่อ >> “การจัดเก็บภาษีแบบใหม่ต้องมีรายได้เดือนละกี่บาทจึงจะเริ่มเสียภาษี” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โครงสร้างการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ?

(หมายเหตุ : เป็นการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ โดยจากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป)

ทั้งนี้การปรับเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป (ยื่นแบบภาษีในปี 2561) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งนี้ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเป็นธรรมมากขึ้น สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยต้องมีรายได้เดือนละ 26,000 บาทขึ้นไปจึงจะเริ่มเสียภาษี กรณีมีรายได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น และหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น

ขอบคุณภาพจาก : Facebook กรมสรรพากร ( Revenue Department )

ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่หลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสําหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สําหรับบุคคลธรรมดาที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร ได้ใช้บังคับ มาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุง หลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนด เงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสําหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สําหรับบุคคลธรรมดาดังกล่าว ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : news.mthai.com , money.kapook.com