AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รับเงินประกันสังคมคืน เมื่ออายุ ครบ 55 ปี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินสบทบ ประกันสังคม ที่ถูกหักออกจากเงินเดือน เดือนละ 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท จากการรับเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป เงินที่เราจ่ายไปทุกเดือน คือการบังคับให้มนุษย์เงินเดือนทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง ซึ่งสามารถรับเงินประกันสังคมคืนได้ เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

ข้อดีของ ประกันสังคม

ข้อดีของเงินประกันสังคม คือ เราจะจ่ายเงินสมทบเพียง 1 ใน 3 ส่วน โดยแบ่งหน้าที่ในการจ่ายคือ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง เราจึงจ่ายเงินสมทบเพียง 5% จากค่าจ้าง โดยแบ่งเงินในการจ่ายออกเป็น เงินสมทบกรณีเจ็บป่วย, เงินสมทบกรณีชราภาพ และเงินสมทบกรณีว่างงาน

ตัวอย่างการเก็บเงินสมทบจากเงินเดือนต่างๆ กัน

ถ้าได้รับเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาท เงินประกันสังคม 750 บาทที่นำมาสมทบ จะถูกแบ่งออกเป็น

  1. 225 บาท สำหรับดูแล รักษาอาการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน
  2. 450 บาท สำหรับเก็บเป็นเงินออม และจะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  3. 75 บาท สำหรับใช่ในกรณีว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถมารับเงินส่วนนี้ได้ระหว่างที่ตกงาน หรือหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

ตัวอย่างการจ่ายเงินกรณีว่างงาน

อ่านต่อ “เงื่อนไขการรับเงินประกันสังคม เมื่ออายุครบ 55 ปี” คลิกหน้า 2

เงื่อนไขในการรับเงินประกันสังคมคืน เมื่ออายุครบ 55 ปี

เงินทดแทน กรณีบำเหน็จชราภาพ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวนเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายเงินทุกเดือน โดยเงื่อนไขในการรับเงินมีดังนี้

1.ถ้าจ่ายเงินไม่ครบ 1 ปี จะได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาท 10 เดือน จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้เงินคืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2.จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้รับเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ ที่มากกว่าแบบแรก คือได้ส่วนที่นายจ้างสมทบไว้ด้วย เช่น จ่ายเงินสมทบ 750 บาทตลอด 6 ปี (72 เดือน)  จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท และจากนายจ้าง 450 บาท จะได้เงินคืน 450 บาท + 450 บาท x 72 เดือน = 64,800 บาท

3.จ่ายเงินตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่าบำนาญ-ชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณีคือ

อ่านต่อ “คำนวณบำนาญรายเดือน กรณีจ่ายมากกว่า 15 ปี” คลิกหน้า 3

สูตรคำนวณบำนาญรายเดือน กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 15 ปี

{[20 + (เงินโบนัส 1.5 x (จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบ – 15 ปี))] x เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย} / 100

ตัวอย่างการคำนวณ

จ่ายเงินสมทบ 20 ปี ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 15,000 บาท

{[20 + (1.5 x (20 – 15))] x 15,000} / 100

= {[20 + (1.5 x 5)] x 15,000} / 100

= {[20 + 7.5] x 15,000} / 100

= {27.5 x 15,000} / 100

= 412,500 / 100

= 4,125 บาท

ตัวอย่างตารางคำนวณเงินบำนาญรายเดือน

ถ้าได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว แต่ยังไม่ครบ 5 ปี แต่เสียชีวิตก่อน จะได้เงินบำเหน็จ 10 เท่า ของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญ เช่น เดือนสุดท้ายได้รับเงินบำนาญ 6,375 บาท เมื่อเสียชีวิตจะได้รับเงินคืน 63,750 บาท

อ่านต่อ “หลักฐานในการขอรับประโยชน์ทดแทน” คลิกหน้า 4

หลักฐานในการขอรับประโยชน์ทดแทน

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตน และของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีถึงแก่ความตาย)

4.ใบมรณะบัตรพร้อมสำเนา (กรณีถึงแก่ความตาย)

5.สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 9 ธนาคาร ดังนี้

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

1.ผู้ประกันตน หรือทายาท กรอกแบบ สปส. 2-01 ลงลายมือชื่อ นำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน

2.เจ้าหน้าที่จะตรวจหลักฐาน และพิจารณา

3.สำนักงานประกันสังคม จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

4.พิจารณาสั่งจ่าย

หมายเหตุ: เงินบำนาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายครั้งเดียว

เครดิต: สำนักงานประกันสังคม

อ่านเพิ่มเติม คลิก!

ทำฟันประกันสังคม เพิ่มวงเงินเป็น 900 บาทต่อปี

เบิกค่าคลอดประกันสังคม พร้อมขั้นตอนและวิธีการยื่น

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เรื่องดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้