AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เงินประกันสังคมของพ่อแม่ ส่งต่อสู่ทายาทได้

เงินประกันสังคมที่คุณพ่อคุณแม่สมทบทุกเดือนนั้น สำนักงานประกันสังคมได้จัดเก็บไว้เพื่อจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนใน 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิตไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แม่ทราบไหม? ในสิทธิประโยชน์ทั้งหมดนี้ มี 2 กรณีที่สิทธิประกันสังคมของพ่อแม่ส่งต่อสู่ทายาทได้ โดยครอบครัวและลูกหลานของเราเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

เงินประกันสังคมของพ่อแม่ ส่งต่อสู่ทายาทได้

  1. เงินประกันสังคมของพ่อแม่ กรณีเสียชีวิต

หากผู้ประกันตนเสียชีวิต ซึ่งทายาทหรือผู้รับสิทธิตามกฎหมายสามารถยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทนกรณีชีวิตจากกองทุนประกันสังคมภายใน 1 ปีหลังผู้ประกันตนเสียชีวิต โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบก่อนเสียชีวิต ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ได้แก่
1.1 ค่าทำศพ จำนวน 40,000 บาท
1.2 
เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต จำนวนตามเงื่อนไขดังนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ>>สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ และการขอรับเงิน คลิกหน้า 2

  1. เงินประกันสังคมของพ่อแม่ กรณีชราภาพ

โดยต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปีหลังผู้ประกันตนเสียชีวิตเช่นกัน มีเงื่อนไขดังนี้
กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี (ก่อนได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญจากกองทุนฯ) กองทุนฯ จะจ่ายประโยชน์ทดแทนสิทธิประกันสังคม กรณีชราภาพให้ทายาท โดยจำนวนเงินขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ ดังนี้

จ่ายสมทบไม่ถึง 12 เดือน : ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้าสมทบกรณีชราภาพ (ไม่ได้รับในส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ) เช่น นายเดชจ่ายเงินสมทบกองทุนฯ มา 10 เดือน เดือนละ 750 บาท โดยนับเป็นเงินสมทบกรณีชราภาพ 450 บาท ต่อมานายเดชเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 4,500 บาท (450 x 10 เดือน)

จ่ายสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป : ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่จ่ายเข้าสมทบกรณีชราภาพทั้งในส่วนที่ผู้ประกันตนจ่าย ส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบ รวมถึงผลตอบแทนจากกองทุนฯ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด เช่น นางสร้อยจ่ายเงินสมทบกองทุนฯ มา 120 เดือน คิดเป็นเงินสมทบกรณีชราภาพ 900 บาทต่อเดือน (ส่วนของนางสร้อย 450 บาทและของนายจ้างจ่ายสมทบอีก 450 บาท) ต่อมานางสร้อยเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 108,000 บาท (900 x 120 เดือน) พร้อมผลตอบแทนจากเงินสมทบอีก 120 เดือน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังอายุ 55 ปี (หลังได้รับบำเหน็จหรือบำนาญจากกองทุนฯ)

เมื่อผู้ประกันตนเกษียณอายุ (เฉพาะผู้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ) และเสียชีวิตภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนฯ จำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้ายที่ผู้ประกันตนได้รับก่อนเสียชีวิต

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิเงินบำนาญชราภาพก็ต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ หากจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนขึ้นไป อัตราเงินบำนาญชราภาพจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุก 12 เดือน

เช่น นายเก่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ มาแล้ว 180 เดือน โดยค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณอยู่ที่ 15,000 บาท เมื่อนายเก่งเกษียณอายุ (55 ปี) และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน นายเก่งจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000 บาทต่อเดือน (20% x 15,000) ต่อมานายเก่งเสียชีวิต ทายาทก็จะได้รับเงินทดแทนเป็นบำเหน็จชราภาพจำนวน 30,000 บาท (10 เท่าของเงินบำนาญเดือนสุดท้ายก่อนผู้ประกันตนเสียชีวิต)

อ่านต่อ>>การขอรับเงินกรณีเสียชีวิต และชราภาพ คลิกหน้า 3

การจ่ายประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตจะจ่ายให้กับบุคคลที่ผู้ประกันตนระบุไว้ให้เป็นผู้รับสิทธิตามกฎหมาย

หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ บิดา มารดา สามีหรือภรรยา และบุตรโดยหารเฉลี่ยคนละเท่าๆ กัน

สำหรับกรณีที่ผู้ประกันตนไม่มีทายาทหรือโสด หากประสงค์จะมอบให้แก่บุคคลอื่น ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุเจตนาสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต เพื่อแสดงความจำนงให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตได้

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต กรณีขอรับค่าทำศพ

– แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต (สปส 2-01)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพ พร้อมตัวจริง
– หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ

ใครคือผู้จัดการศพ

(ก) บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

(ข) สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
(ค) บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

– สำเนาใบมรณบัตร พร้อมตัวจริง
– สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้มีสิทธิ 9 ธนาคาร ได้แก่

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

กรณีขอรับเงินสงเคราะห์

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริงและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต/ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
3. สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
4. สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร

การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

1. หนังสือมอบอำนาจ
2. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
3. หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานประกันสังคม
4. การยื่นคำร้องขอรับค่าทำศพ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในการยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ผู้จัดการศพผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ โดยมีหลักฐานครบถ้วน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
4. พิจารณาสั่งจ่าย

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

ข่าวดีเพื่อทุกครอบครัว! 10 โรคมะเร็งรักษาฟรี ประกันสังคมจ่ายให้

ทำฟันประกันสังคม เพิ่มวงเงินเป็น 900 บาทต่อปี


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม, K-expert