วิธี ลงทะเบียนรับเงิน 5000 ฝ่าวิกฤติโควิด19 ใครมีสิทธิ์บ้าง? เช็กเลย!! - Amarin Baby & Kids
ลงทะเบียนรับเงิน 5000

วิธี ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท “ฝ่าวิกฤติโควิด-19” ใครมีสิทธิ์บ้าง? เช็กเลย!!

event
ลงทะเบียนรับเงิน 5000
ลงทะเบียนรับเงิน 5000

หลักเกณฑ์ รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 สามารถ ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ได้แก่

  • แรงงานลูกจ้าง

  • ลูกจ้างชั่วคราว / ลูกจ้างรายวัน

  • ผู้มีอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

  • หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เช่น สนามมวย สนามกีฬา ผับ สถานบันเทิง โรงมหรสพ นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส และสถานบริการอื่น ๆ

    ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบำนาญ และไม่รวมเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรได้รับความช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐบาลอยู่แล้ว)

ลงทะเบียนรับเงิน 5000

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนรับเงิน 5000 www.เราไม่ทิ้งกัน.com

  1. เตรียมเอกสารสำหรับ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ฝ่าวิกฤติโควิด-19 คือ
  • ข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรประชาชน
  • ข้อมูลบริษัทนายจ้าง
  • ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน
  • ข้อมูลบัญชีพร้อมเพย์ หรือ บัญชีธนาคาร ให้พร้อม

ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 ที่ไหน

ลงทะเบียนออนไลน์ ตรวจคุณสมบัติผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com (อาจเปิดให้ลงทะเบียนวันที่ 28 มี.ค. 63) ส่วน ช่องทางออฟไลน์ สามารถติดต่อ ลงทะเบียนรับเงิน 5000 บาท ได้ที่ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน และธนาคาร ธ.ก.ส.

  1. เงินเยียวยาจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือ พร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน ภายใน 5 วัน หลังการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์

***ในส่วนของผู้ที่อยู่ในประกันสังคม จะสามารถเพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน โดยธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

Must read >> ขึ้นทะเบียนว่างงาน ผู้ประกันตน ประกันสังคม ทำได้อย่างไร?

Must read >> วิธี เช็คยอดเงินประกันสังคม อย่างละเอียด เช็กง่ายแค่ปลายนิ้ว

ลงทะเบียนรับเงิน 5000

นอกจากนี้ การ ลงทะเบียนรับเงิน 5000 ตามมาตรการระยะที่ 2 สำหรับเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน จากปัญหาโรคระบาด โควิด 19 ก็ยังมีการเพิ่มสภาพคล่อง ลดภาระ และ เพิ่มทักษะ อีก 7 ข้อ คือ

  • สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย : วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท) ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
  • สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย : โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ วงเงิน 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน มีหลักประกัน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
  • สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ : เพื่อช่วยเหลือประชาชนฐานรากที่ได้รับผลกระทบ โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกิน 0.125 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี
  • ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไป จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563
  • หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น : เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท เมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป
  • ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์
  • ฝึกอบรมมีเงินใช้ : ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้, ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือกองทุนหมู่บ้าน

ดังนั้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือใครที่อยู่ในเกณฑ์อาชีพซึ่งสามารถ ลงทะเบียนรับเงิน 5000 บาท ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ ก็ขอให้เตรียมข้อมูลให้พร้อม เมื่อถึงวันเปิดให้ลงทะเบียน ก็ให้รีบดำเนินการ เพราะมาตรการนี้จำกัดสิทธิ์เพียง 3 ล้านรายเท่านั้น ก็ขอให้ทุกบ้านที่กำลังประสพปัญหานี้อยู่โชคดี และอยู่สู้โควิด19 ไปด้วยกันนะคะ ทีมแม่ ABK ขอเป็นกำลังใจให้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงที่มาจาก : คำอธิบายของ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระหว่างแถลงข่าววันที่ 24 มี.ค. 2563 และ เอกสารฉบับที่ 26/2563 ของกระทรวงการคลัง www.prachachat.netwww.thairath.co.thmoney.kapook.comwww.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up