มีคุณแม่หลายคนสอบถามคุณทนายในเพจทนายใกล้ตัว ด้วยหลากหลายคำถาม เช่น ฝ่ายชาย ทำผู้หญิงท้อง แล้วไม่รับผิดชอบ หนีไปมีภรรยาใหม่ ไม่ยอมส่งเสียเลี้ยงดู จะเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่? หรือแต่งงานกันแล้วพาลูกหนี ไม่ยอมให้เจอหน้าลูก จะเรียกร้องอะไรได้หรือไม่?
ปัญหา ทำผู้หญิงท้อง แล้วไม่รับผิดชอบ
ในสังคมปัจจุบัน ชีวิตคู่ไม่ได้ยาวนานเหมือนสมัยก่อน และเริ่มต้นความรักเร็วกว่าวัยอันสมควร ตั้งแต่ชั้นประถมที่แสดงความรักต่อกันไม่อายสายตาคนอื่น เมื่อฝ่ายหญิงพลาด ทำให้ตั้งท้อง ก็ทำให้เรียนไม่จบ งานก็ยังไม่ได้ทำ บางคนกลัวคุณพ่อ คุณแม่รู้ก็แอบไปทำแท้ง หรือถ้ามีความรับผิดชอบก็จะลาออกมาจากโรงเรียนมาเลี้ยงลูก แต่ผู้ชายบางส่วนเมื่อรู้ว่าผู้หญิงท้องก็เริ่มเปลี่ยนนิสัย ทำตัวออกห่าง ไม่ดูแล และเอาใจเหมือนเมื่อก่อน เลิกรากัน บางครั้งก็ถึงขั้นทำร้ายจนเสียชีวิต สำหรับคนที่รอดก็จะตกเป็นความลำบากของผู้หญิงที่ต้องเลี้ยงลูกต่อไป
ถ้าคุณพ่อจดทะเบียนรับรองบุตร คุณแม่ก็สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูลูกได้ แต่ถ้าคุณพ่อไม่ยอมจดทะเบียนรับรองลูก คุณแม่ก็ต้องทำเรื่องยื่นฟ้องศาล ให้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้คุณพ่อรับผิดชอบด้วยกฎหมาย และเรียกร้องค่าเลี้ยงดูไปพร้อมกัน
อ่านต่อ “กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบลูกน้อย” คลิกหน้า 2
กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบลูกน้อย
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดา ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้
Save