AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันอย่างไร?

เพราะเด็กคนหนึ่งเกิดมาต้องใช้เงินมากมาย ซึ่งรัฐบาลก็มีนโยบาลมอบ เงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระคุณแม่คุณพ่อในอีกทางหนึ่ง แล้วต้องทำอย่างไรถึงคุณแม่จะได้เงินนั้นมาใช้เลี้ยงลูก

Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำถึงเงื่อนไข ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ การยื่นทำเอกสาร กรอกข้อมูลต่างๆ เพื่อรับเงินเงินอุดหนุนบุตร (หรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาท) และเงินสงเคราะห์บุตร จากประกันสังคม มาฝากค่ะ

เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท กับ เงินสงเคราะห์บุตร 400 บาท ต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นผู้เขียนอยากจะบอกให้คุณแม่ๆ เข้าใจก่อนว่า เงินอุดหนุนบุตร หรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะแม้ว่าทั้ง 2 จะเป็นเงินสำหรับลูกน้อยที่ทางรัฐบาลส่งเข้าบัญชีธนาคารทุกเดือน แต่การจะได้มาซึ่งเงินทั้ง 2 อย่างนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่มีทางที่คุณแม่จะได้รับเงินทั้ง 2 พร้อมกันอีกด้วย!!

เงินอุดหนุนบุตร หรือเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เป็นโครงการเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดย คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด (ประจำช่วงปีงบประมาณ 2560) คือ

รายละเอียดของเด็กแรกเกิด :

♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย

รายละเอียดของหญิงตั้งครรภ์ :

อ่านต่อ > > “สิทธิ์ประกันสังคม ค่าคลอดบุตร / เงินสงเคราะห์บุตร” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทั้งนี้สำหรับเรื่อง เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนต้องรู้ถึงเงื่อนไข คำนิยามของ ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน กันก่อนนะคะ

ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย ในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงจาเป็นต้องใช้การประเมิน

♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไม่เข้า เพราะ งบหมด จริงหรือ?
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : ประสบการณ์ตรง เรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 2560 เพิ่มเป็น 600 บาท

ความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะของครัวเรือนมาประกอบการพิจารณาด้วย (แบบ ดร.02 ในกรอบขวาล่าง หน้า 23) โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1) ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีหรือคนว่างงาน อายุ 15 – 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

2) สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า

3) ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้

4) เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่

การรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) ต้องมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้

ผู้รับรองคนที่ 1

ผู้รับรองคนที่ 2

ขอบคุณข้อมูลจาก https://csg.dcy.go.th/index.php/en/2015-09-18-03-15-53

 

สิทธิ์ประกันสังคม ค่าคลอดบุตร / เงินสงเคราะห์บุตร

สำหรับคุณแม่และคุณพ่อที่ส่งเงินประกันสังคมต้องทราบเลยนะคะ ว่าเราสามารถเบิกค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ อย่ามัวแต่ส่งเงินอย่างเดียว ต้องคอยเช็คสิทธิ์ของเราด้วยนะคะ เพราะวางแผนว่าจะมีลูกสักคนก็ถือเป็นภาระยิ่งใหญ่ที่ทั้งพ่อและแม่จะต้องเจอ ซึ่งอันดับแรกที่ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีเริ่มตั้งแต่ท้องจนถึงคลอดและเลี้ยงดูมาจนเติบโต คือเรื่องของค่าใช้จ่าย ซึ่งเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์จากประกันสังคม นี้จะสามารถมาช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่คุณพ่อไปได้บ้าง

ค่าคลอดบุตร

สำหรับกรณีคลอดบุตรนี้ผู้มีสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ ค่าคลอดบุตรให้ในอัตราเหมาจ่ายคนละ 13,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

นอกจากค่าคลอดบุตรแล้วผู้ประกันตนหญิงยังมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเป็นแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ในส่วนของเงินสงเคราะห์การลาคลอดนี้จะใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

ค่าสงเคราะห์บุตร

ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตรผู้ที่ต้องการรับสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สิทธิ์ที่จะได้รับในกรณีสงเคราะห์บุตรเป็นการเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อคน ใช้สิทธิ์ได้ 3 ครั้ง และจะได้เงินสงเคราะห์บุตรจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธ์ของประกันสังคมโดยมากก็จะเขียนไว้กว้าง ๆ แต่เมื่อถึงเวลาก็จะมีคำถามหรือข้อสงสัยในรายละเอียดต่าง ๆ ของหลายกรณี ทำให้มีคำถามเพิ่มเติมมากมาย วันนี้เราจะนำมาสรุปกันเฉพาะในเรื่องของค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรให้คลายความสงสัยกันค่ะ

อ่านต่อ >> “รวม 11 คำถามสำคัญที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องการเบิกค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรเบิกได้ทั้งคุณพ่อคุณแม่หรือไม่?

โดยมากเนื่องจากคุณแม่เป็นผู้คลอดบุตร หากคุณแม่เองเป็นผู้ประกันตนก็ควรเบิกโดยใช้สิทธิ์ของตัวคุณแม่ไปเลย เพราะจะได้เบิกได้ทั้งค่าคลอดบุตร เงินลาคลอด (ได้ 3 เดือนโดยแบ่งมาจากทางบริษัทที่ทำงานและทางประกันสังคม) และเงินสงเคราะห์บุตรไปในคราวเดียวกันเลย ซึ่งในส่วนของค่าคลอดบุตร ปัจจุบันสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ส่วนเงินลาคลอดจะเบิกได้แค่ 2 ครั้ง และเงินสงเคราะห์บุตรก็จะได้ 3 ครั้ง

ในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่จะเลือกเบิกโดยใช้สิทธิ์ของใครก็ได้ เพียงแต่บุตรคนใดที่เคยเบิกใช้สิทธิ์จากอีกฝ่ายแล้วก็ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์กับอีกฝ่ายที่เหลือได้ (ใช้ได้ครั้งละคน)

หากคลอดลูกเป็นแฝดจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ 2 เท่าหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ได้ค่ะ เพราะค่าคลอดบุตรที่จ่ายให้เป็นแบบเหมาจ่ายต่อการคลอดหนึ่งครั้ง ดังนั้น ในกรณีที่ได้ลูกแฝดก็จะถือเป็นการคลอดแค่ครั้งเดียว จึงเบิกค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายได้ 13,000 บาทเท่านั้น แต่การทำเรื่องเบิกค่าสงเคราะห์บุตรสามารถทำเป็น 2 คนได้

หากต้องการนอนห้องพิเศษตอนคลอด รวมเบิกในค่าคลอดได้หรือไม่?

ค่าคลอดบุตรที่จ่ายจะเป็นแบบเหมาจ่ายต่อการคลอดหนึ่งครั้ง คือ ครั้งละ 13,000 บาทเท่านั้นค่ะ

หากมีการแท้งหรือลูกเสียชีวิตหลังคลอด สามารถเบิกค่าคลอดได้หรือไม่?

ต้องเป็นการตั้งครรภ์ที่เกินกว่า 28 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีการคลอดออกจากครรภ์มารดา จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ค่ะ  รวมถึงสามารถเบิกเงินค่าลาคลอด 90 วัน ได้ด้วยเช่นกัน

ถ้าไม่มีทะเบียนสมรส และต้องการใช้สิทธิ์ของฝ่ายตัวคุณพ่อ จะต้องทำอย่างไร!

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสและตัวคุณพ่อเป็นผู้ประกันตน ซึ่งหากจะใช้สิทธิ์นี้ ให้ตรวจสอบชื่อ-สกุลของคุณพ่อ ในสูติบัตรให้ตรงกับชื่อ-สกุลของผู้ประกันตน ส่วนชื่อคุณแม่ก็ต้องตรวจสอบชื่อ-สกุลในใบสูติบัตรให้ตรงกับชื่อ-สกุลของคู่สมรสในหนังสือรับรองของผู้ประกันตน จึงจะทำเรื่องใช้สิทธิ์นั้นได้

ถ้าคุณแม่ลาคลอดไม่ถึง 90 วัน สามารถเบิกค่าลาคลอดได้เต็มหรือไม่?

ค่าลาคลอด 90 วันเป็นแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 50:50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน โดยคิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ไม่ว่าจะลาคลอดกี่วันก็สามารถเบิกได้เต็มค่ะ เพราะคิดเป็นแบบเหมาจ่ายให้แล้ว

ยื่นเรื่องย้อนหลังเพื่อเบิกค่าคลอดหรือค่าสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่?

สามารถยื่นเรื่องย้อนหลังได้ หากเป็นการคลอดบุตรให้ยื่นเรื่องได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่บุตรเกิด ส่วนการสงเคราะห์บุตรหากยังอยู่ในเงื่อนไขของการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนที่ผ่านมา ก็สามารถยื่นเพื่อรับสิทธิ์ได้ โดยจะย้อนหลัง 1 ปี หากส่งเงินสมทบครบ แต่หากขาดส่งเงินสมทบก่อนหน้านี้ ก็ให้ตั้งแต่วันที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีสิทธิ์เบิกค่าคลอดและค่าสงเคราะห์บุตรหรือไม่!

มีสิทธิ์เบิกได้เหมือนกับมาตรา 39 ทุกประการในเรื่องของค่าคลอดและค่าสงเคราะห์บุตร ยกเว้นค่าลาคลอด 90 วัน ที่เบิกได้เช่นกัน ในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 90 วัน แต่คิดจากฐานค่าจ้างของมาตรา 39 ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 4,800 บาทค่ะ

จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่?

เงินสงเคราะห์บุตรจะได้รับตั้งแต่เดือนแรกที่ลูกเกิดไปจนถึงเดือนสุดท้ายที่บุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ในอัตราเดือนละ 400 บาท

หากลาออกจากงานไปแล้ว เงินสงเคราะห์บุตรจะได้รับต่อเนื่องหรือไม่?

เมื่อลาออกจากงานหรือลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน เงินสงเคราะห์บุตรก็จะไม่ได้รับต่อ หากอยากได้รับเงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงสิทธิ์ประกันสังคมต่อก็สามารถเลือกทำประกันตนเองตามมาตรา 39 ได้

เคยได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแล้วลาออก กลับเข้าทำงานใหม่จะได้รับต่อหรือไม่?

เมื่อผู้ประกันตนยังรับสิทธ์เงินสงเคราะห์บุตรยังไม่ครบ เช่น บุตรยังมีอายุไม่ครบ 6 ปีบริบูรณ์ เมื่อกลับเข้าทำงานสามารถยื่นเรื่องใหม่ เพื่อขอรับสิทธิ์ต่อเนื่องที่สำนักงานประกันสังคมที่เคยยื่นเรื่องไว้

ทั้งนี้จากที่กล่าวมา สิทธิ์ประกันสังคม ถือเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดและข้อสงสัยมากมาย อย่างไรก็ตามหากคุณแม่หรือคุณพ่อมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้เลยค่ะ

สรุปแล้ว จากข้อมูลข้างต้น เมื่อถามถึงเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท นั้นจึงเป็นเงินที่คุณแม่ที่มีฐานะยากจนซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบบาลยื่นมือเข้าช่วย ซึ่งคุณแม่สามารถไปลงทะเบียนหรือขอข้อมูลได้ที่ อบต. ส่วน ชื่อที่เรียกว่าเงินสงเคราะห์บุตร 400 บาท คือเงินที่ได้จากการที่คุณแม่เป็นผู้ประกันตนมีสิทธิ์ประกันสังคมตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นั่นเอง

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


แหล่งอ้างอิง : www.sso.go.th , www.sso.go.th , th.jobsdb.com