AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พ่อแม่เฮได้! เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี “ลูกคนที่ 2 – ค่าฝากครรภ์ – ค่าคลอด”

ข่าวดีสำหรับทุกครอบครัว ครม. มีมติเห็นชอบเพื่อสนับสนุนการมีลูก เพิ่มค่าลดหย่อน ภาษี สำหรับ “ลูกคนที่ 2 ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด” สูงถึง 60,000 บาท

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร โดยอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร และ ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

พ่อแม่เฮได้ เพิ่มค่าลดหย่อน ภาษี “ลูกคนที่ 2 ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด”

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลรัษฎากร คือ กำหนดให้ปรับเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปของผู้มีเงินได้ หรือของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเกิดตั้งแต่ปี 61 เป็นต้นไป โดย นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า…

ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการมีลูก

อย่างไรก็ตาม สิทธิการหักลดหย่อนดังกล่าวให้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรจากแหล่งอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ เป็นต้น

อ่านต่อ >> “รายละเอียดมาตรการภาษีเพื่อผู้มีบุตร” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เพิ่มค่าลดหย่อน กับ มาตรการภาษีเพื่อคนมีลูก

การ เพิ่มค่าลดหย่อน หรือ มาตรการภาษีเพื่อผู้มีบุตร เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรองรับโครงสร้างประชากรของประเทศที่กำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานลดลง

หรือเรียกว่าเพื่อจูงใจให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีรายได้และอยู่ในระบบภาษี และยังเป็นการสนับสนุนให้บุตรได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตอย่างมีคุณภาพอันจะทำให้ประเทศไทยมีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นการเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ทั้งนี้มีข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า…ไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด มีสัดส่วนประชากรสูงอายุถึง 30% ในปี 2579 กระทรวงการคลังจึงต้องออกมาตรการดังกล่าวมาสร้างแรงจูงใจให้คนไทยมีลูกเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ที่มีรายได้และอยู่ในระบบภาษี และยังช่วยสนับสนุนให้เด็กที่เกิดมาได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยกระทรวงการคลัง คาดว่า…โครงการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 2,500 ล้านบาท

โดยเมื่อปี 2560 มีการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ ตามภาพด้านล่าง

ตารางคำนวณภาษี 2561 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วางแผนลดหย่อนภาษี

วัตถุประสงค์ของการเพิ่มค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือน หรือที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน” โดยเน้นไปที่กลุ่มคนในระดับล่างเป็นสำคัญ หากนำข้อมูลโครงสร้างของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2557 มีผู้มีเงินได้มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 ประมาณ 10 ล้านคน มาวิเคราะห์ จะเห็นว่า กลุ่มคนที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จำนวน 6.3 ล้านคน ยังคงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ต่อไป ส่วนคนที่มีเงินได้ในช่วง 150,001-300,000 บาท มีจำนวน 2 ล้านคน ได้รับสิทธิหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 70,000 บาทต่อคน รวมผู้เสียภาษีทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีของรัฐบาลประมาณ 8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 80% ของผู้ที่มายื่นภาษีกับกรมสรรพากร

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสถานประกอบการของบริษัทเอกชน โดยกำหนดให้เอกชนที่จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว…

สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจริง และสามารถหักได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 – 31 ธ.ค. 2563 คาดว่าการดำเนินการดังกล่าว แม้จะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ไปประมาณปีละ 20 ล้านบาท แต่ก็สร้างสวัสดิการให้กับลูกจ้างได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2560 พบว่า…

มีจำนวนสถานประกอบการมากกว่า 442,040 แห่ง แต่มีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวอยู่เพียง 82 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นศูนย์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมกิจการเด็กและเยาวชนเพียง 11 แห่ง ขณะที่จำนวนเด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีอยู่ 4 ล้านคน และศูนย์รับเลี้ยงเด็กเอกชนมีจำนวน 1,604 แห่ง สามารถรองรับเด็กปฐมวัยได้เพียง 76,502 คนเท่านั้น

อ่านต่อ >> รายการค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับคนมีครอบครัว ที่พ่อแม่ควรรู้!” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th , www.prachachat.net

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ค่าลดหย่อน เป็นหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากการเพิ่มค่าลดหย่อน กับการ ลูกคนที่ 2 ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด สำหรับคนที่มีครอบครัวควรรู้เรื่องเกี่ยวกับค่าลดหย่อนอื่นๆ นอกเหนือจาก การเพิ่มค่าลดหย่อน ข้างต้นนี้ นั้นก็เพื่อไม่ให้เสียสิทธิไป โดยมีรายการค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับคนมีครอบครัว ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

>> ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

>> คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท

>> ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท

>> ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายและลูกบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้

ลูกที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

การนับจำนวนลูก ให้นับเฉพาะลูกที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของลูก โดยนับรวมลูกที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อนด้วย

>> ค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยพ่อแม่ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท

>> ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ หากคู่สมรสมีการประกันชีวิต และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่หากสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้

(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึง มาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

>> ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th