เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิต แล้วใครบ้างที่จะมีสิทธิได้รับมรดกจากคนๆ นั้น ซึ่งตาม กฎหมายมรดก กำหนดไว้ว่า คนที่จะได้มรดกนั้นมี 2 กรณีคือ เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม หรือได้รับมรดกโดยผลทางกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก แม้ว่าจะไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ก็ตาม
กฎหมายมรดก
สมมติว่า นาย ก ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ นาย ข ซึ่งเป็นน้องชายต่างแม่ แต่ทรัพย์สินอื่นๆ นาย ก ไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ทรัพย์สินนั้นก็จะตกเป็นของทายาทโดยชอบธรรมของ นาย ก ทันที
คุณสมบัติของทายาทโดยชอบธรรม
ทายาทโดยชอบธรรม ต้องเป็นไปโดยมาตรา 1629 โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
คือบุคคลที่มีฐานะเป็นทายาทของเจ้าของมรดก ได้แก่ บุคคลที่จดทะเบียนสมรสกับเจ้าของมรดก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ยกเว้นคู่สมรสที่เกิดจากการสมรสซ้อน
2.ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ
- ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร หลาน เหลน เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานที่อยู่ในขณะถึงแก่ความตาย บุตรเท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับมรดก เว้นแต่ว่าเจ้าของมรดกไม่มีมีบุตรสืบสันดาน หลานก็จะได้รับสิทธิแทน และเหลนจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อ ไม่มีบุตร และหลาน
- บุตรต้องชอบด้วยกฎหมายของมารดา หรือบิดา ที่เกิดจากการรับรองบุตร หรือทะเบียนสมรส บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรนอกสมรสจะไม่มีสิทธิในการได้รับมรดก เว้นแต่ว่าบิดาจะทำให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายภายหลัง เช่น บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันหลังเด็กเกิด บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาว่าฝ่ายชายเป็นบิดา
- บุตรบุญธรรม ถึงว่าเป็นผู้สืบสันดานเช่นเดียวกัน และชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของมรดก
- บิดามารดาของเจ้าของมรดก โดยต้องเป็นผู้ที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ จดทะเบียนสมรสกับบิดา หรือมารดาของผู้ตาย มีการจดทะเบียนเป็นบุตรของบิดา หรือมารดา แต่บิดา หรือมารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรซึ่งเป็นเจ้าของมรดก
- พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือมีบิดา หรือมารดาร่วมกัน นอกจากนี้ยังมี ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
อ่านต่อ “คุณสมบัติของทายาทโดยพินัยกรรม” คลิกหน้า 2
พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนากำหนดการ เผื่อเสียชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่า คำสั่งเสีย ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย เมื่อทำตามรูปแบบที่กำหนดไว้ 5 แบบ ดังนี้
1.แบบธรรมดา จะทำเป็นหนังสือ ลงวันเดือนปีขณะที่ทำ ระบุคำสั่งเสียชัดเจน แล้วลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม ต่อหน้าพยาน 2 คน จะเขียนด้วยลายมือ หรือพิมพ์ก็ได้ หรือจะให้บุคคลอื่นเป็นผู้เขียน หรือพิมพ์ก็ได้ แต่ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้เขียนชัดเจน
2.แบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความทั้งหมดด้วยตัวเอง ทั้งวันเดือนปี คำสั่งเสีย และการลงลายมือชื่อ ซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีพยาน คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีพยานก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้น การนำแบบพิมพ์พินัยกรรมมากรอดข้อความลงไป ไม่ใช่การทำแบบเขียนเองทั้งฉบับ แต่คือแบบธรรมดา
4.แบบลับ ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมแล้วปิดผนึก ลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก แล้วนำไปแสดงต่อนายอำเภอ และพยาน 2 คน ให้นายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม วันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไว้บนซอง ประทับตราตำแหน่ง ลงลายมือชื่อนายอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน
5.แบบวาจา มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายได้ต่อเมื่อ ทำขึ้นในขณะที่มีพฤติกรรมพิเศษ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย มีโรคระบาด สงคราม โดยแสดงเจตนาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน โดยพยานจะต้องแสดงตนต่อนายอำเภอโดยเร็ว แจ้งข้อความที่ผู้ตายสั่งไว้ พร้อมแจ้งวันเดือนปี สถานที่ และเหตุการณ์ที่ทำพินัยกรรมไว้
อ่านต่อ “ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม” คลิกหน้า 3
1.ต้องมีพยาน 2 คน ในขณะที่ทำพินัยกรรม ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ซึ่งพยานทั้ง 2 คนจะต้องเห็นโดยตลอด
2.ห้ามพยาน ผู้เขียน คู่สมรสของพยาน เป็นผู้ได้รับมรดกตามพินัยกรรม มิเช่นนั้นจะหมดสิทธิในการได้รับมรดกตามพินัยกรรม
3.พยานต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่เป็นบุคลวิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ ไม่หูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้ง 2 ข้าง
5.ถ้าผู้ทำพินัยกรรมเปลี่ยนใจ ไม่อยากทำก็สามารถเพิกถอนพินัยกรรมที่ทำขึ้นได้ โดยทำลายพินัยกรรมทิ้งไป ด้วยวิธีใดก็ได้ ถ้าทำเอาไว้หลายฉบับก็ต้องทำลายทิ้งทุกฉบับ
ใครจะทำพินัยกรรมได้บ้าง?
ทุกคนสามารถทำพินัยกรรมได้ ยกเว้น เด็กที่ยังอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
อ่านต่อ “เขียนอะไรลงไปในพินัยกรรม?” คลิกหน้า 4
การเขียนพินัยกรรม คือการสั่งเสียความต้องการของผู้ตายได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การจัดการมรดก การจัดงานศพ การตั้งผู้ปกครองดูแลบุตร การไม่ให้ทายาทบางคนได้รับมรดก เป็นต้น
1.การตั้งผู้ปกครองดูแลบุตร
ผู้เขียนพินัยกรรมสามารถกำหนดเกี่ยวกับการดูแลบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นผู้ปกครองเมื่อตนถึงความตาย โดยต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย และเต็มใจรับเป็นผู้ปกครอง
2.การตั้งผู้ปกครองทรัพย์
ผู้ทำพินัยกรรมต้องการยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถ แต่ไม่ต้องการให้ผู้ดูแลจัดการทรัพย์สินนั้น จึงทำพินัยกรรม ตั้งบุคคลอื่นให้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทน ซึ่งจะดูแลได้เฉพาะทรัพย์สินบางประเภท เช่น อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์พิเศษ
3.การตัดทายาทไม่ให้ได้รับมรดก
โดยทั่วไป เป็นการทำพินัยกรรมเพื่อให้คนใดคนหนึ่งได้รับมรดกของผู้ทำพินัยกรรม แต่บางกรณีผู้ทำพินัยกรรมอาจมีความต้องการตรงข้าม คือไม่ต้องการให้ทายาทได้รับมรดกของตนเอง ซึ่งสามารถทำได้เช่นกัน โดยระบุตัวทายาทที่ถูกตัดออกอย่างชัดเจน ใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ข้อควรระวังคือจะมีผลรวมไปถึงทายาทของผู้ตัดสิทธิในการได้รับมรดกด้วย เรียกได้ว่าตัดไม่ให้ได้รับมรดกตลอดสาย
โดยปกติจะเป็นการทำพินัยกรรมเพื่อยกมรดกให้กับคนๆ นั้น แต่ก็อาจมีบางกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการให้ผู้ที่ได้รับมรดกโอนมรดกให้บุคคลอื่นอีกทอดหนึ่ง เช่น นาย ก ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ นาย ข และให้นาย ข โอนที่ดินให้นาย ค เมื่อนาย ค บรรลุนิติภาวะ เหมือนเป็นการฝากมรดกเอาไว้ก่อน การทำพินัยกรรมในลักษณะนี้กฎหมายห้ามไม่ให้กระทำ เพราะไม่สามารถบังคับตามกฎหมายได้
5.การยกทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตัวเองให้บุคคลอื่น
กรณีนี้เกิดจากผู้ทำพินัยกรรมเข้าใจผิด คิดว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนเอง แล้วตัดสินใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินนั้นให้บุคคลอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะผู้ทำพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
6.การตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก คือผู้ที่มีอำนาจในการจัดการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของมรดกให้แก่ทายาท รวมถึงการจัดสรรทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของกองมรดก ถ้าทายาทสามารถตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันได้ ไม่มีปัญหาติดขัด ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นสามารถทำได้ 2 กรณีคือ จากพินัยกรรม หรือจากคำสั่งศาล
อ่านต่อ “สิทธิในการรับมรดก” คลิกหน้า 5
ถ้าเจ้าของมรดกทำพินัยกรรมยกมรดกให้ แต่ยังมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้สั่งเสียไว้ ทรัพย์สินดังกล่าวจะตกทอดให้กับทายาทโดยชอบธรรม แล้วถ้าทายาทนั้นได้รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว ก็ยังมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมอีกฐานะหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น เจ้าของมรดกมีลูกชาย 2 คน คือ นาย ก และ นาย ข โดยมีที่ดินอยู่ 2 แปลง เจ้าของมรดกเขียนพินัยกรรมไว้ว่ายกที่ดินแปลงหนึ่งให้นาย ก และที่ดินอีกแปลงไม่ได้ระบุไว้ ที่ดินแปลงนั้นจะตกเป็นของทั้งนาย ก และ นาย ข คนละครึ่งหนึ่ง
สิทธิโดยธรรมในการรับมรดกแทน
โดยปกติผู้ที่ได้รับมรดก คือผู้ที่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ซึ่งต้องมีฐานะตามมาตรา 1629 ที่ระบุเอาไว้ บุคคลอื่นที่ไม่มีฐานะดังกล่าว เช่น ลูกพี่ลูกน้อง หรือลูกของลุง ลูกของอา ไม่ได้เป็นทายาทในลำดับกฎหมาย แต่อาจมีสิทธิรับมรดกได้โดยอาศัยสิทธิการเข้ารับมรดกแทนลุง หรืออาได้ โดยเกิดจากทายาทที่มีฐานะตามมาตรา 1629 ถึงแก่ความตาย หรือถูกจำกัดไม่ให้ได้รับมรดก
1.ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีรูปร่าง เช่น รถ บ้าน ที่ดิน เครื่องประดับ เงิน ฯลฯ และทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิผูกพันกับสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ภาระจำยอม สิทธิในการครอบครอง
2.สิทธิต่างๆ ของผู้ตาย ได้แก่ สิทธิในการเรียกร้องให้บุคคลกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน เช่น เรียกร้องเงินคืนจากผู้กู้ที่เคยกู้ไว้กับผู้ตาย เรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ผู้ตายซื้อให้กับตนเอง หรือเรียกร้องให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ตายขายเอาไว้
3.หน้าที่ของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่ผู้ตายจะต้องทำ งดเว้นการชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้
4.ความรับผิดของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่ผู้ตายจะต้องชดใช้ด้วยทรัพย์สินของตนเอง เพราะไม่ได้ชำระหนี้ ผิดสัญญา หรือการทำละเมิด เช่น ก่อนผู้ตายเสียชีวิตได้ขับรถชนคนโดยประมาท ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ย่อมมีความรับผิดชอบชดใช้สินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกอบการงานของบุคคลนั้น ความรับผิดชอบทั้งหมดจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย
Save