การใช้ชีวิตคู่ร่วมกันถือเป็นการตัดสินใจของคนสองคน แต่บางครั้งการใช้ชีวิตคู่ก็ไม่ได้สุขสมดั่งใจหมาย มีทุกข์ มีสุข ปะปนกันไป หากคู่ไหนไปต่อไม่ได้เมื่อเดินมาถึงทางตันก็ต้องโบกมือบอกลากัน ถามว่าถ้าพ่อกับแม่ ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร ฝ่ายไหนจะได้สิทธิในการได้ลูกไปอยู่ด้วย ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะมาคลายข้อสงสัยนี้ให้ค่ะ
ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร?
เมื่อไม่นานมานี้ หลายครอบครัวคงเห็นข่าวดังที่มีคุณพ่อท่านหนึ่งนำตำรวจไปรับลูกที่โรงเรียนมาอยู่ที่บ้าน เรื่องนี้ถูกเป็นที่สนใจจากสังคมอย่างมาก เนื่องจากฝ่ายคุณแม่ได้ออกมาเรียกร้องขอลูกคืน และมีการพูดถึงสิทธิในการดูแลลูกแต่เพียงผู้เดียว
จากเรื่องนี้มีหลายครอบครัวเลยที่ส่งอีเมลมาสอบถามกรณีนี้ว่าในความเป็นจริงแล้ว ลูกควรได้อยู่กับใคร และใครมีสิทธิในตัวลูก ต้องย้อนกลับไปว่าพ่อกับแม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วยกันหรือไม่ เพราะหากเลิกกันจะมีข้อกฎหมายที่ระบุสิทธิว่าใครจะได้ลูกไปอยู่ด้วย ซึ่งในกรณีพ่อแม่เลิกกันแต่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร อยากให้หลายๆ ครอบครัวที่กำลังประสบกับเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกันนี้ได้ศึกษาข้อกฎหมายให้ละเอียด เพื่อจะได้ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการที่ตกลงเจรจากันไม่ลงตัว
เพราะอย่าลืมว่าถึงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ก็ต้องดูแลลูกร่วมกัน ที่ถึงแม้ว่าลูกจะต้องไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ตามแต่ เพราะท้ายที่สุดแล้วความเป็นพ่อแม่ก็ยังคงต้องทำหน้าที่มอบความรัก ความอบอุ่นให้ลูกกันอยู่ต่อไปค่ะ
อ่านต่อ >> ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่เลิกกัน หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่เลิกกัน?
ยามที่รักกันต่อให้มีเรื่องผิดใจกันมากแค่ไหนก็อภัยกันได้ แต่ยามที่หมดความอดทน หมดรักซึ่งกันและกัน ต่อให้เอาความดีที่เคยมีให้กันมาตั้งแต่เริ่มแรก ก็ไม่สามารถดึงสติให้กลับมาประนีประนอมกันได้อีก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับหลายๆ คู่ชีวิตในสังคมปัจจุบันนี้ค่ะ
เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง และชัดเจนในข้อกฎหมาย ผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกความรู้ในเรื่องนี้มาให้ทำความเข้าใจกัน ตามนี้ค่ะ ซึ่งข้อมูลกฎหมายนี้มาจาก สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ และผู้ตอบข้อกฎหมายในเรื่องนี้ คุณทนายลีนนท์[1]
1. ฝ่ายชายมีสิทธิในตัวเด็กมากน้อยเพียงใด ?
ฝ่ายชายเป็นบิดานอกกฎหมาย หญิงเป็นมารดาชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ ชายต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับบุตรในทางกฎหมายต้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตร ต้องดูว่าบุตรมีอายุเท่าใด สามารถให้ความยินยอมได้หรือไม่ หากอายุยังน้อยไม่ถึง 8 -9 ปี ก็ให้ศาลมีคำสั่งได้ ต่อไปก็ค่อยขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวได้ ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไรก็
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
อ่านต่อ >> ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. ฝ่ายชายสามารถนำเด็กมาเลี้ยงไว้เองได้หรือไม่ ?
เมื่อมารดาเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย บิดาเป็นบิดานอกกฎหมาย ดังนั้น มารดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร และสิทธิที่จะเรียกบุตรคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะกักบุตรไว้ ซึ่งรวมถึงบิดานอกกฎหมายด้วย
มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
Must Read >> แบ่งทรัพย์สินอย่างไร หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส
3. ฝ่ายหญิงเรียกร้องอะไรจากฝ่ายชายได้บ้าง ?
หากฝ่ายหญิงต้องการให้ฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองบุตร ย่อมมีใช้สิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมของบุตรฟ้องบิดาให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ เพราะหน้าที่บิดาชอบด้วยกฎหมายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร และให้การศึกษาแก่ผู้เยาว์ตามฐานะของบิดามารดา
มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้[1]
ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าพ่อกับแม่จะตกลงกันได้หรือไม่ ข้อกฎหมายที่มีสำหรับเรื่องนี้ก็เพื่อปกป้องเด็กให้ได้รับสิทธิที่ดีที่สุดจากฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ ผู้เขียนเอาใจช่วยอยากให้ทุกครอบครัวสามารถรักษาครอบครัวไว้ได้ ต่อให้จะจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้จดก็ตาม เพราะเมื่อมีลูกด้วยกันแล้วนั่นย่อมเกิดขึ้นจากความรัก ความเข้าใจที่คนสองคนมีให้แก่กัน และลูก็คือผ้าขาวบริสุทธิ์ที่ต้องการทั้งพ่อกับแม่จะขาดใครไปก็ไม่สมควรค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
12 กิจกรรมวันหยุดปิดเทอม สนุกสร้างสรรค์ทั้งครอบครัว
ถึงจะหย่าแล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังช่วยกันดูแลลูกได้เหมือนเดิม ด้วยหลัก Co-Parenting (มีคลิป)
สามีเป็นหมัน เธอจึงอยากหย่า แต่เมื่อรู้ความจริงถึงกับอึ้งจนพูดไม่ออก
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
[1]สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ. www.lawyerleenont.com