พ่อแม่เฮได้! ร่าง พ.ร.บ.ปฐมวัย ฉบับแรก ผ่าน ครม. แล้ว ขีดเส้นชัด! ห้ามทุกโรงเรียนจัด สอบเข้าอนุบาล และ ยกเลิก สอบเข้า ป.1 หากฝ่าฝืน โทษปรับ 5 แสน
พ.ร.บ.ปฐมวัยฉบับแรก ห้ามจัด สอบเข้า ป.1 ฝ่าฝืนปรับ 5 แสน
ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในฐานะกรรมการคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก เปิดเผยว่า มติร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!
โดยเนื้อหาสาระกำหนดไว้ว่า… คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นผู้กำหนดแนวทางการรับเด็กเข้าเรียนทั้งในระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 จะไม่มีการสอบ เรียกได้ว่าไม่มีการ สอบเข้าอนุบาล และ ยกเลิก สอบเข้า ป.1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากสถานศึกษาใดฝ่าฝืน จะถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาท โดยนำเข้ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายยังมีข้อห่วงใยในประเด็นค่าปรับในกรณีที่มีการละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ซึ่งคาดว่าอาจจะสามารถไปปรับแก้ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือการพิจารณาขั้นกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ หากเห็นว่าอาจจะมีวิธีการอื่นที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้แทนการปรับในกรณีที่มีการละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ทั้งนี้จากที่ คณะรัฐมนตรียังได้มีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ… โดยมีสาระสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา 5 ประเด็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ คือ
กำหนดให้มีระบบการพัฒนา เด็กปฐมวัย เป็น 4 ช่วง ครอบคลุมตั้งแต่
- ช่วงก่อนคลอด หรือ ทารกในครรภ์แม่
- ช่วงแรกเกิด ถึง ก่อนอายุ 3 ปีบริบูรณ์ หรือ ช่วงวัยเด็กเล็ก
- ช่วงอายุ 3-6 ปี หรือ ช่วงเด็กก่อนวัยเรียน หรือ ช่วงวัยอนุบาล
- ช่วงอายุ 6-8 ปี หรือ ช่วงวัยรอยต่อระหว่าง วัยอนุบาลกับวัยประถมศึกษาปีที่ 1-2
อ่านต่อ >> “สาระสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการปฏิรูป
การศึกษาคุณพ่อคุณแม่ควรรู้” คลิกหน้า 2
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- 9 สิ่ง ที่พ่อแม่ควรฝึกลูกน้อยเพื่อ เตรียมเข้าอนุบาล
- เช็กลิสต์และเตรียมของใช้ลูก ก่อนไปโรงเรียนอนุบาลวันแรก!
- ลูกเราควรไปโรงเรียนตอนอายุเท่าไหร่?
- 5 ขั้นตอนฝึกสมอง ให้ลูกพร้อมแยกจากแม่เมื่อไปโรงเรียนวันแรก
ต่อ สาระสำคัญนอกเหนือจากการห้ามทางโรงเรียนจัด สอบเข้า ป.1
Good to know : เด็กปฐมวัย คือ ตั้งแต่อนุบาล1 – ป.3 การเรียนการสอนที่ถูกต้องควรเน้นให้เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมตามสมรรถนะตามวัยของเขา เน้นการเรียนให้สนุก เรียนรู้กับธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เป็นการเรียนรู้วิชาการตามสมรรถนะของวัย ที่เตรียมความพร้อม ให้อ่านออกเขียนได้เพื่อให้สามารถเรียนต่อได้ในชั้นที่สูงขึ้น
กำหนดให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแล พัฒนาและจัดการเรียนรู้ โดยให้อยู่รอดปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด ให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญาที่ดีสมวัย สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพและความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ มีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ การเลี้ยงดูบุตร การพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีสวัสดิการแก่หญิงมีครรภ์ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
กำหนดหน้าที่ให้รัฐและอปท.จัดให้มีบริการและสวัสดิการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านสังคมอย่างมีคุณภาพ แก่เด็กปฐมวัย หญิงมีครรภ์ และบุคคลในครอบครัวของเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย เว้นแต่หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
กำหนดให้การรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้ารับการพัฒนาในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติโดยวิธีการสอบคัดเลือกจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม จากนี้คณะกรรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ…ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ซึ่งสำหรับร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ฉบับนี้ถือเป็นฉบับแรก ที่สำคัญมีการระบุไว้ชัดด้วยว่า… การรับเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 ให้คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นผู้กำหนดแนวทางโดยจะไม่มีการสอบ หากสถานศึกษาใดฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ซึ่งเงินดังกล่าวจะนำเข้ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
อ่านต่อ >> “สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำให้ลูก
เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนชั้น ป.1” คลิกหน้า 3
โรงเรียนสาธิตเล็งปรับวิธีรับ ป.1 แบบผสม
ด้านผู้บริหาร ร.ร.สาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 21 แห่ง ได้หารือเรื่องนี้ร่วมกัน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเป็นเรื่องใหญ่จะต้องมีการหารือกันอีกหลายครั้ง โดยเบื้องต้นอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนเป็นแบบผสมผสาน ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องช่วยกันคิด โดยเฉพาะโรงเรียนสาธิต 3 แห่ง ที่มีผู้สนใจเข้าเรียนจำนวนมากต้องมาตกลงกันจะใช้วิธีไหน ซึ่งต้องไม่แตกต่างกันมากนัก
ทั้งนี้ ผอ.ร.ร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม กล่าวต่อว่า สำหรับปีการศึกษา 2562 ทาง ร.ร.สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมยังคงจัดสอบเพื่อคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในระดับชั้น ป.1 เหมือนเดิม เพราะโรงเรียนได้มีการเตรียมการล่วงหน้าไว้อย่างน้อย 6 เดือน ถ้าโรงเรียนจะเปลี่ยนแปลงอะไรจะต้องมีการวางแผน ทั้งนี้ การจัดสอบแต่ละครั้งต้องเป็นความลับ เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งโรงเรียนก็เครียดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าการห้ามสอบนั้นควรจะแก้ปัญหาที่โรงเรียน กวดวิชาหรือติวเตอร์ หรือครูที่เรียกเก็บค่าเรียนแพงๆกับผู้ปกครอง แต่กลับมาบีบโรงเรียนไม่ให้จัดสอบ
อย่างไรก็ตาม จากพ.ร.บ. ยกเลิก สอบเข้า ป.1 นั้น เป็นสิ่งที่ถูกเสนอร่างมาแล้ว และหมอเด็กหลายคนก็เห็นด้วย เพราะการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนที่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการที่เด็กเรียนได้จากการเล่นมากกว่า “การเล่น” คืองานของเด็ก การได้จับ ได้สัมผัส จะทำให้เด็กซึมซับความรู้ การคิด การแก้ปัญหาและสร้างปฏิสัมพันธ์ ขณะเล่น คุณครูจะต้องเป็นผู้เตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความหมายจากการเล่นหรือกิจกรรมพื้น ๆ
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกเพื่อสร้างความพร้อมเมื่อ ลูกขึ้น ป.1
ซึ่งการที่คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการมากกว่าการอ่าน คัด เขียน ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และปัญญาได้ไปพร้อมกัน ทำให้การเรียนเป็นความสุขมากกว่าการบังคับและความทุกข์ใจ โดยผลที่ตามมา คือ เด็กๆ มีความพร้อมในการเรียนรู้ในชั้นสูงขึ้นไป
โดยก่อนหน้านี้คุณพ่อคุณแม่มักจะพยายามหาซื้อหนังสือฝึกทักษะมาให้ลูกทำ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก แต่มีความหมายน้อยกว่าการให้ความรักแก่ลูก ดังนั้นหลังจากที่ลูกไม่ต้อง สอบเข้า ป.1 คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเคร่งเครียดหรือกวดขันลูกน้อยวัยอนุบาลมากจนเกินไป ซึ่งการปฏิบัติที่พ่อแม่ควรทำให้แก่ลูก หลังพ.ร.บ. ยกเลิกสอบเข้า ป.1 2561 เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนชั้น ป.1 คือ
1. กอดลูกรักลูก
2. มีเวลาให้ลูกเสมอ
3. สังเกตพฤติกรรมลูกพร้อมส่งเสริม หรือศึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก
4. ให้คำชมลูก
5. เป็นตัวอย่างที่ดีพร้อมกับสอนลูก
6. ไม่สร้างแรงกดดันให้ลูก
ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำกับลูกทุกวัน และทุกวัยได้ยิ่งดี เพราะหากคุณพ่อคุณแม่มามัวแต่กดดันลูกน้อยเพื่อที่จะ สอบเข้า ป.1 ให้ได้ ก็รังแต่จะทำให้ลูกเกิดความเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อเนื้อสมองของเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก แถมระยะยาวยังทำให้ลูกน้อยเรียนในชั้นประถมปลาย หรือ มัธยมได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะทุกอัดวิชาการมาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน ป.1 ด้วยซ้ำไป ทำให้เด็กหลายคนเบื่อที่จะเรียนวิชาการ เมื่อเรียนในชั้นที่สูงขึ้นกลายเป็นเด็กที่เรียนรู้ได้ไม่ดี เมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนมาแบบเน้นสมรรถนะตามวัย
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- สิ่งที่ต้องสอนลูกก่อนวัย 3 ขวบ เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าโรงเรียน
- ฝึกทักษะลูกก่อนเข้าโรงเรียน
- ทำอย่างไรเมื่อ…ลูกไม่อยากไปโรงเรียน !!
- เตรียมสอบเข้า ป.1 ให้ลูกด้วยแบบฝึกหัด กว่า 75 แบบฝึก
ขอบคุณข้อมูลจาก : mgronline.com , www.komchadluek.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่