ค่าไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายประจำบ้านที่ทุกครอบครัวต้องแบกรับ โดยเฉพาะในฤดูร้อนที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และเป็นช่วงปิดเทอมของเด็กๆ ทำให้อัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ค่าไฟแพงกันถ้วนหน้า ผนวกกับวิกฤต “โควิด-19” ที่กระทบต่อรายได้ของคนหลายอาชีพ รัฐบาลจึงออกมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้วยการ “ลดค่าไฟและใช้ฟรี”ทั่วประเทศ นาน 3 เดือน ใครจะได้รับสิทธิ์บ้าง มาเช็กกันเลยค่ะ
รัฐออกมาตรการบรรเทา ค่าไฟฟ้า แพง ช่วยคนไทยจากพิษโควิด
การประชุมคณะรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563) ทางกระทรวงพลังงานได้นำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพิ่มเติม เนื่องจากกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจในหลายส่วน ประชาชนจำนวนมากกลับอยู่บ้านเกิด และหลายหน่วยงานต้องให้พนักงานการทำงานที่บ้าน (Work From Home) การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือจึงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบถึงแนวงทางดังกล่าว โดยให้กระทรวงพลังงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และกฎหมายต่างๆให้ถูกต้อง พร้อมทั้งพิจารณาแหล่งเงินสมทบให้รอบคอบ
มาตรการที่ผ่านการเห็นชอบเพิ่มเติมมี 2 ลักษณะ ได้แก่ “ใช้ไฟฟรี“ สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน และ “ลดค่าไฟฟ้า” สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ในอัตรา 30 % และ 50 % เป็นระยะเวลาทั้งหมด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2563
รายละเอียดมาตรการลด ค่าไฟฟ้า เดือนมีค – พ.ค.
แนวทางการช่วยบรรเทาค่าใช้ไฟฟ้านี้เป็นการเพิ่มเติมมาจากมาตรการครั้งแรกที่พิจารณาเพียงขนาดมิเตอร์ไฟ โดยให้มารวมกับจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้า ด้วยเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบคลุมคนไทยทั่วประเทศ โดยมีรายละเอียดที่แม่ๆต้องทราบ ดังต่อไปนี้
1.มาตรการใช้ไฟฟ้าฟรี แยกเป็น 2 ส่วน คือ
บ้านใช้มิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ได้รับสิทธิ์ ใช้ไฟฟ้าฟรี ตลอด 3 เดือน
2.มาตรการลด ค่าไฟฟ้า
กรณีที่ 1 บ้านที่ใช้จำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม –พฤษภาคม น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ให้จ่ายค่าไฟฟ้าตามจริง
กรณีที่ 2 บ้านที่ใช้จำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม –พฤษภาคม มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์แต่ไม่ถึง 800 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์
กรณีที่ 3 บ้านที่ใช้จำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม –พฤษภาคมมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ แต่ไม่ถึง 3,000 หน่วย ให้นำยอดเดือนกุมภาพันธ์มาบวกกับ 50 % ของยอดเดือนนั้นๆ
เช่น เดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟ 1500 หน่วย เดือนมีนาคมใช้ไฟ 2500 หน่วย ( 50% ของ 2500) + 1500 = 2750 หน่วย ซึ่งจะนำมาคำนวนเป็นค่าไฟตามจริง
กรณีที่ 4 บ้านที่ใช้จำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม –พฤษภาคมมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ และมากกว่า 3,000 หน่วย ให้นำยอดเดือนกุมภาพันธ์มาบวกกับ 70 % ของยอดเดือนนั้นๆ
เช่น เดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟ 3500 หน่วย เดือนมีนาคมใช้ไฟ 5000 หน่วย ( 70% ของ 5000) + 3500 = 7000 หน่วย ซึ่งจะนำมาคำนวนเป็นค่าไฟตามจริง
ยการลดหย่อนดังกล่าวจะมีการคืนค่าใช้จ่ายให้ในรอบบิลถัดไป จากมาตรการดังกล่าวกระทรวงพลังงานประเมินว่าจะสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนได้จำนวน 22 ล้านราย โดยคิดเป็นวงเงินประมาณ 23,668 ล้านบาท
อ่าน วิธีลดค่าไฟฟ้าหน้าร้อนที่ใครก็ทำได้ หน้า 2
เชื่อว่าแม่ๆได้เห็นบิล ค่าไฟฟ้า เดือนนี้แทบเป็นลม เพราะทั้ง “อากาศร้อน ลูกปิดเทอม พ่อแม่ต้อง work from home” เป็น 3 ปัจจัยหลักๆที่หนุนให้ ค่าไฟฟ้า ช่วงนี้แพงหูฉี่ แม้มาตรการจากภาครัฐจะช่วยแบ่งเบาภาระไปได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในบ้านก็ช่วยประหยัดค่าไฟเพิ่มได้อีกหนึ่ง ที่สำคัญทุกคนในบ้านสามารถทำตามได้ไม่ยาก โดยมี 6 วิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้
6 วิธีประหยัดค่าไฟฟ้าทำแบบไหนเวิร์คสุด
ใช้พัดลมระบายอากาศในบ้าน ก่อนเปิดแอร์
การเปิดพัดลมตั้งพื้นหรือพัดลมเพดาน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นลงก่อนเปิดแอร์ เพราะช่วยให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ประหยัดค่าไฟได้
เปิดแอร์แค่ 26 องศาก็เย็นพอ
ก่อนหน้านี้เราจำมาตลอดว่าการเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียสจะช่วยประหยัดไป แต่ข้อมูลใหม่ระบุชัดเจนว่าการเพิ่มอุณหภูมิเพียง 1 องศาช่วยประหยัดไฟได้มากขึ้นแถมยังเป็นอากาศที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เหมาะสมกับสภาพร่างกายด้วย
ปิดแอร์เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง
ควรตั้งเวลาปิดแอร์ก่อนตื่นนอน หรือออกจากบ้านล่วงหน้า 1 ชั่วโมงเพื่อลดการอันตราการใช้ไฟลงได้ ขณะเดียวกันคนในบ้านยังทำกิจกรรมต่างๆต่อได้เพราะความเย็นยังมีอยู่
เปิดหน้าต่าง
แทนที่จะเปิดแอร์ตลอดทั้งวัน ลองปิดแอร์แล้วเปิดหน้าต่างมารับลมธรรมชาติในช่วงเช้า ซึ่งอากาศยังไม่ร้อน ยังช่วยให้เย็นสบาย และรู้สึกสดชื่น นอกจากนี้ยังทำให้อุณหภูมิในบ้านลดลงด้วย
รีดผ้าและซักผ้าครั้งละมาก
ลองเปลี่ยนการซักผ้าแบบวันเว้นวัน มาเป็น 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อลดจำนวนการซักผ้าต่อเดือนให้น้อยลงได้ นอกจากช่วยประหยัดไฟจากเครื่องซักผ้าแล้ว ยังลดการใช้น้ำลงด้วย สำหรับผ้าที่มีรอยเปื้อน เลอะเทอะอาจใช้วิธีซักรอยเปื้อนเฉพาะจุด
ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นจะยังมีกระแสไฟไหลเวียนอยู่แม้ไม่ได้ใช้งาน จึงเท่ากับว่าเรากำลังใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน การถอดปลั๊ก จึงช่วยตัดการใช้กระแสไฟฟ้าได้มากทีเดียว แถมยังช่วยถนอมการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย
บทความน่าสนใจอื่นๆ
วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?
เปิด ลงทะเบียนว่างงาน รับเงินชดเชย โดนเลิกจ้าง หยุดทำงานเพราะพิษโควิด-19
แหล่งข้อมูล www.prachachat.net www.thebangkokinsight.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่