ข่าวการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิค-19 สร้างความตื่นกลัวให้คนในสังคม ทุกคนต่างใส่หน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์เจล เพื่อป้องกันเชื้อดังกล่าว เพราะหากติดเชื้ออาจต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่ไม่น้อย สปสช. และกระทรวงแรงงาน จึงมีการอนุมัติ ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทอง และสิทธิประกันสังคม
ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทอง
สปสช. กระทรวงสาธารณสุข มีมติเห็นชอบให้โรคติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในขอบเขตบริการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง หลายคนมีคำถามว่า จะสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ในกรณีใดบ้าง หากมีอาการเสี่ยง และมีค่าใช้จ่ายอย่างไร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดข้อปฏิบัติ ก่อนไปใช้สิทธิตรวจรักษา ไว้ดังนี้
- ตรวจอาการว่าเข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ คือ
- มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก
- เดินทาง หรืออาศัยในพื้นที่เสี่ยง ช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ
- มีอาชีพที่ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง โควิด-19
- มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19
- เป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบุคลากรทางการแพทย์
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้
- หากมีอาการเข้าข่าย ให้โทรหาสายด่วน กรมควบคุมโรค และรีบตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิ อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย ป้องกัน และแจ้งข้อมูลตามความจริง (กรณีต่างจังหวัดให้ไปที่โรงพยาบาลของรัฐ)
- เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จะถูกส่งตัวรักษาตามกระบวนการ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- หากไม่มีอาการเข้าข่าย ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข แต่สงสัยเองว่าจะป่วย ไม่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อขอตรวจเอง ใช้สิทธิบัตรทองไม่ได้ แม้จะจ่ายเงินเองก็ไม่ควรไป และด้วยน้ำยาที่ใช้ตรวจ โรคโควิด-19 มีจำนวนจำกัด ต้องเก็บไว้ใช้เมื่อจำเป็น กับผู้ป่วยกลุ่มเฝ้าระวังเท่านั้น
สอบถามข้อมูลเรื่องสิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
สอบถามข้อมูล ขอคำปรึกษา และคำแนะนำ เรื่องโรค โควิด-19 โทรสายด่วน กรมควบคุมโรค 1422
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่าน “ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิประกันสังคม” คลิกหน้า 2
ตรวจรักษาโควิดด้วยสิทธิประกันสังคม
ทางกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 และย้ำเตือนผู้ประกันตนที่มีอาการป่วย ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ ให้เข้าไปตรวจรักษา ซักประวัติในโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องให้ข้อมูลตามความจริงว่ามีประวัติไปต่างประเทศหรือไม่ มีญาติป่วยเป็นไข้หวัดหรือไม่ เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการได้ถูกต้อง หากแพทย์สงสัยว่าเข้าข่าย แพทย์จะส่งตรวจเพาะเชื้อทางห้องแล็บต่อไป ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่าตรวจหรือค่ายาใดๆ แต่ถ้าไม่เข้าข่าย ไม่แนะนำให้ไปขอตรวจเอง
นอกจากนี้ ถ้าไม่สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิได้ เช่น อยู่ต่างจังหวัด หรือต่างพื้นที่ ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่งตามระบบประกันสังคม และจะสามารถเบิกจ่ายได้เป็นกรณีฉุกเฉิน ภายใน 72 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องถูกกักกันเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิให้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ทางกระทรวงแรงงาน ยังย้ำเตือนอีกว่า ถ้าไม่มีอาการเข้าข่าย ไม่แนะนำให้ไปขอตรวจเอง เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับเชื้อในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ประกันตนที่กลับมาจากต่างประเทศแต่ไม่ได้มีอาการ ก็ไม่ควรเข้าไปในโรงพยาบาล เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยแนะนำการเฝ้าระวังตนเองไว้ดังนี้
- ควรเฝ้าระวังตนเอง และสังเกตอาการอยู่ในบ้าน
- ใช้อุปกรณ์ป้องกัน สวมหน้ากากอนามัย
- ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
- รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
- ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
- กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อับอากาศ
หากมีอาการ ได้แก่ มีไข้ ไอ น้ำมูก ให้รีบเข้าโรงพยาบาลตามสิทธิ ตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย และคัดกรองโรค เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม และแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
โควิด-19 พ่อแม่ติดเชื้อส่งผลกระทบถึงลูกน้อย
11 ข้อพ่อแม่ควรทำ & ไม่ควรทำ รับมือ COVID-19 โดย พ่อเอก
วิธีทำหน้ากากอนามัย ใช้เองได้ง่ายนิดเดียว
8 วิธีป้องกันไวรัสโคโรนา ฉบับประชาชน จากกระทรวงสาธารณสุข
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่