AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีเคลมประกันโควิด-19 เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรรู้

วิธีเคลมประกันโควิด-19

หลังจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ติดต่อกันไปทั่วโลก คุณพ่อ คุณแม่หลายคน อาจกำลังตัดสินใจทำประกันเอาไว้ให้ทุกคนในครอบครัว เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินถ้าจำเป็นต้องใช้เงินในการรักษา มาเตรียมความพร้อมศึกษา วิธีเคลมประกันโควิด-19 หากเจ็บป่วยจะได้รับมือได้ทัน

ไขข้อข้องใจกับประกันโควิด-19

กระแสโรคติดต่อโควิด-19 ทำให้คุณพ่อ คุณแม่หลายคนเร่งซื้อประกัน เพื่อคุ้มครองสุขภาพของครอบครัว หลายบริษัทจึงรีบออกกรมธรรม์ประกันภายโควิด-19 ขึ้นมา โดยเฉพาะประกันในรูปแบบจ่ายเบี้ยประกันเพียงหลักร้อย ก็สามารถคุ้มครองได้หลักแสน และมีการจูงใจว่าสามารถรับเงินได้ทันทีถ้าพบว่าติดเชื้อจริง ซึ่งมีเบี้ยประกันต่ำสุด 99 บาทขึ้นไป ทำให้มีคนซื้อประกันเป็นจำนวนมากจนหลายบริษัทต้องหยุดขายประกัน แต่บริษัทเหล่านี้ก็มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น

จะเห็นได้ว่า คุณพ่อ คุณแม่ ควรพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อประกัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง โดยจากข้อมูลการซื้อประกันโควิดส่วนใหญ่ จะมีการคุ้มครองอยู่ด้วยกัน 4 อย่างคือ

  1. คุ้มครองเมื่อตรวจพบเชื้อ เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการสินไหมคุ้มครอง เป็นเงินก้อนตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท
  2. คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หากติดเชื้อโควิด บริษัทประกันจะจ่ายค่าใช้จ่ายให้เป็นค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ
  3. คุ้มครองชดเชยรายได้ กรณีเจ็บป่วย แล้วต้องหยุดงาน ก็จะได้รับเงินชดเชยรายได้
  4. คุ้มครองเมื่อโคม่า หรือเสียชีวิต หากมีอาการป่วยหนักผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากได้รับเงินตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน

อ่านต่อ “10 ข้อง่ายๆ วิธีเคลมประกันโควิด-19” คลิกหน้า 2

10 ข้อง่ายๆ วิธีเคลมประกันโควิด-19

1.เก็บหลักฐานเอาไว้ในที่จดจำได้ง่าย

ต้องรู้ว่าเก็บกรมธรรม์ประกันโควิดเอาไว้ที่ไหน เพื่อนำมาตรวจสอบว่าจะได้รับเงินส่วนใดคืนได้บ้าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้รายวัน ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ จะได้เบิกเคลมเงินให้ครบได้ทุกรายการ และเตรียมเอกสารเอาไว้ให้พร้อมตามที่บริษัทประกันกำหนด

2.ตรวจสอบชื่อบริษัทให้ชัดเจน

ระวังการติดต่อไปผิดบริษัท เพราะมีหลายบริษัทประกันที่ชื่อคล้ายกัน หรือสีโลโก้เหมือนกัน จนอาจเกิดความผิดพลาดจำสลับกันได้

3.จดเลขกรมธรรม์เอาไว้

ถ้าเตรียมเลขที่กรมธรรม์เอาไว้ จะช่วยให้เจ้าหน้าหาข้อมูลสัญญาที่ทำไว้ได้ง่ายมากขึ้น ลดระยะเวลาและขั้นตอนไปได้ เพราะฉะนั้นหลังจากทำประกันควรเช็กเลขกรมธรรม์ทันที

4.เขียนขื่อ นามสกุล และวันเดือนปีเกิดให้ถูกต้อง

เพราะอาจมีคนชื่อ นามสกุล คล้ายกัน ทำประกันไว้ในบริษัทเดียวกัน ช้อมูลสำคัญนี้ควรเขียนให้ถูกต้องตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร และขั้นตอนการเคลมประกัน

5.เตรียมเอกสารสำคัญ

โดยทั่วไป ทางบริษัทประกันภัยจะขอเอกสารสำคัญ เพื่อใช้ในการเคลมสินไหม โดยใช้เอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชนผู้ทำประกัน สำเนาบัตรประชาชนผู้รับผลประโยชน์ และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่มีเลขบัญชี

6.ขอเอกสารเคลมประกันสินไหมจากบริษัทประกัน

ทุกบริษัทประกันภัยที่ออกประกันโควิด จะให้กรอกใบคำร้อง ประมาณ 1 – 3 หน้ากระดาษ A4 เรียกว่า แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องมี

7.ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง

ผู้เคลมประกันต้องมีใบรับรองแพทย์ โดยระบุว่า มีอาการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งบริษํมประกันภัยอาจขอดูใบรายการการตรวจทางห้องปฏิบัติการของทางโรงพยาบาลเพิ่มเติม อาจเตรียมใบรับรองแพทย์ไว้หลายใบ โดยแจ้งกับทางโรงพยาบาลว่า จะใช้ไปเบิกประกัน และให้คุณหมอเจ้าของไข้เซ็นรับรองสำเนาอีกครั้ง

8.เตรียมใบเสร็จตัวจริง

เตรียมใบเสร็จตัวจริงเช่นเดียวกับใบรับรองแพทย์ ไม่ว่าจะมีกี่หน้าต้องตรวจสอบให้ครบ เพราะทางบริษัทประกันจะตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโรคโควิด-19 และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย และกรณีที่คุณพ่อ คุณแม่ ทำประกันโควิดไว้หลายบริษัท จะไปถ่ายเอกสารเองไม่ได้ ต้องเป็นการทำสำเนาจากโรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเซ็นรับรองความถูกต้องเท่านั้น

9.รอตรวจสอบ

ระยะเวลาในการตรวจสอบของบริษัทประกันแต่ละที่ไม่เท่ากัน บางบริษัทสามารถรอรับเงินสดจากเคาน์เตอร์บริษัทประกันได้ทันที หรือรับผ่านบัญชีธนาคาร หรือเช็คสั่งจ่ายในชื่อผู้รับผลประโยชน์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทนั้นๆ

10.รอรับเงิน

หลังจากที่ได้รับเงินมา ต้องตรวจสอบจำนวนเงินให้ครบตามสัญญาในกรมธรรม์ หากขาดหรือเกินมาให้รีบแจ้งกับทางบริษัทประกัน เพราะจะมีช่วงเวลาเอาไว้ว่าไม่เกินกี่วัน ถ้าเลยเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถเรียกร้องเอาเงินประกันตามสิทธิได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Positioning, ไทยรัฐ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!

ชี้เป้า! 10 ประกัน ไวรัสโคโรน่า เบี้ยขั้นต่ำแค่ 99 บาท ที่ไหนคุ้มสุดดูเลย!

แม่ขอแชร์ 8 ไอเดีย วิธีประหยัดเงิน ในกระเป๋า ช่วย save cost สู้วิกฤติในยามนี้

เปิดรายชื่อ 25 สถานที่เสี่ยงไวรัสโคโรน่า ทั่วประเทศ