AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่ท้องรับเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม คุณแม่ท้องสามารถเบิกเพิ่มได้แล้วค่ะ

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม คุณแม่ท้องสามารถเบิกเพิ่มได้แล้วนะคะ คุณแม่บ้านไหนกำลังท้องแล้วยังไม่ได้ฝากครรภ์เตรียมตัวเลย เพราะล่าสุดมีการลงมติจ่ายเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เพื่อแม่ๆแล้ว รอเลยเริ่มอนุมัติ 1 พฤษภาคมนี้

 

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกเพิ่มได้แล้ว

เรียกว่าเป็นข่าวดีสำหรับคุณแม่ๆที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงนี้เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึง มติคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 2 /2561 ว่ามีมติเห็นชอบปรับปรุงสิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร เพื่อจูงใจให้ผู้ประกันตนหรือคู่สมรสมีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ โดยสนับสนุน ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เพิ่มเติมในกรณีเข้ารับบริการฝากครรภ์ ณ  สถานพยาบาล  ซึ่งปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง  โดยมติคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้สนับสนุนค่าตรวจ และ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เพิ่มเติมอีก 1,000 บาท ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีการเข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด คือ

ซึ่งแนวทางในการขอรับประโยชน์ทดแทน ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม นั้น จะต้องมีหลักฐานการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลที่ไปใช้บริการฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง และสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในส่วนค่าตรวจ และรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร ทั้งนี้ การดำเนินการอยู่ระหว่างการยกร่างประกาศคณะกรรมการการแพทย์ และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป เพื่อเป็นของขวัญ วันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมย้ำว่า ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการทางการแพทย์ รวมถึงยังต้องมีการปฏิรูประบบการให้บริการ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำเท่าเทียม เพื่อจะนำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนอีกด้วย

 

เงื่อนไขในการได้รับ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 


 เงื่อนไข สิทธิประกันสังคมของคนท้อง มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

คุณแม่บางท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาจจะยังมีความสงสัยว่า หากเป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม จะได้รับสิทธิประโยชน์ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม อย่างไรกันบ้างค่ะ มาดูรายละเอียดกันค่ะ

หลักเกณฑ์ ในการได้รับสิทธิประโยชน์ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 

การพิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด หรือ เช็ค (ผู้มีสิทธิ์มาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
  3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
  4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
  7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)           
  10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
  11. ธนาคารออมสิน            

หมายเหตุ  หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน ไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่าย ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ซึ่งคุณแม่สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

การฝากครรภ์สำหรับคุณแม่ สำคัญอย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ความสำคัญของการฝากครรภ์

การฝากครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญสิ่งแรกที่คุณแม่ต้องนึกถึงค่ะ เพราะเป็นการดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด โดยคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ควรพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที และเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะให้ข้อมูลหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างถูกต้อง และตอบข้อสงสัยของคุณแม่ท้องได้ดี

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

  1. เพื่อตรวจสอบดูว่าการตั้งครรภ์เป็นปกติหรือไม่ เพราะแพทย์จะช่วยวินิจฉัยโรคบางอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง ซิฟิลิส ติดเชื้อเอดส์ หรือโรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อื่นๆ รวมทั้งตรวจดูว่าท่านอนของลูกน้อยในครรภ์ดูผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติจะได้ป้องกันแก้ไขได้ทัน หรือถ้าพบว่าภาวะโลหิตจาง จะได้ทำการหาสาเหตุ และใช้ยาบำรุงเลือดให้เข้มข้นมากขึ้น หรือเตรียมการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
  2. ฝากครรภ์เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์  การฝากครรภ์นั้นสามารถช่วยลดอัตราการแท้งบุตร การคลอดลูกก่อนกำหนด และลูกเสียชีวิตในท้อง รวมถึงยังช่วยป้องกันการอักเสบติดเชื้อในตัวลูกน้อยได้ด้วย
  3. ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์  ถ้าหากมีโรคแทรกซ้อนแพทย์จะช่วยให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด ติดเชื้อน้อยที่สุด หรือเสียเลือดน้อยที่สุด เพื่อให้การตั้งครรภ์ จนถึงการคลอดเป็นไปอย่างปกติมากที่สุด เป็นต้น
  4. ช่วยดูแลทารกในครรภ์  ทำให้ลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  5. ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่   แพทย์ที่รับฝากครรภ์จะให้คำแนะนำ และตอบคำถามเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในระหว่างการตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตน ซึ่งคุณแม่สามารถสอบถามหรือให้แพทย์ตรวจได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ คุณแม่ก็จะได้รู้สึกปลอดภัยและสบายใจมากขึ้นค่ะ

ฝากครรภ์ คุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

การฝากครรภ์ควรเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการมีบุตรอย่างปลอดภัย โดยผู้ตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หอบหืด ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาการแพ้ต่างๆ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือซึมเศร้า รวมทั้งผู้ที่มีคู่ครองหรือบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมและมีเชื้อพาหะ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยแพทย์ที่ควรไปพบเพื่อให้ช่วยดูแลสุขภาพตลอดการตั้งครรภ์นั้น ได้แก่

การตรวจครรภ์ตามนัด

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์กับแพทย์ โดยแพทย์จะนัดตรวจครรภ์ตลอดช่วงที่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงตอนก่อนคลอด ซึ่งการนัดตรวจแต่ละครั้งมีรายละเอียด ดังนี้

          ♦ ให้ข้อมูลและประวัติการรักษา เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ได้แก่ วันแรกของการมีรอบเดือน ครั้งล่าสุด ประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว การใช้ยาหรือรับประทานอาหารเสริมของผู้ตั้งครรภ์ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ตั้งครรภ์เอง ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่รอบเดือนมานั้นจะช่วยคำนวณวันคลอดบุตรได้ โดยแพทย์จะนำวันแรกของรอบเดือนครั้งล่าสุดมาบวกเพิ่มอีก 7 วัน แล้วนับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน ซึ่งวันครบกำหนดคลอด จะกินเวลาประมาณ 40 สัปดาห์นับตั้งแต่วันสุดท้ายที่มีประจำเดือน

          ♦ ตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเริ่มจากชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เพื่อประเมินระดับความยากง่ายในการคลอดธรรมชาติ ทั้งนี้ แพทย์ยังนำน้ำหนักมาเปรียบเทียบดูว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมหรือไม่ และต่อมาแพทย์จะวัดสัญญาณชีพจร รวมทั้งตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ปากและฟัน เต้านมและหัวนม หรือตรวจคลำหน้าท้อง เพื่อดูปัญหาสุขภาพอื่นๆ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจช่องคลอดและปากมดลูก การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกและขนาดมดลูกจะช่วยระบุอายุครรภ์ให้ชัดเจนมากขึ้น สตรีมีครรภ์อาจต้องรับการตรวจภายใน เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วย

          ♦ ตรวจเลือด เมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อนำไปวินิจฉัยหมู่โลหิตระบบอาร์เอช ฮีโมโกลบิน, การติดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกัน, ตรวจคัดกรองภาวะซีดและพาหะโรคธาลัสซีเมีย, ไวรัสตับอักเสบบี, ซิฟิลิส, เชื้อเอชไอวี, ตรวจปัสสาวะ และการติดเชื้ออื่นๆ 

          ♦  4-28 สัปดาห์ ของอายุครรภ์  แพทย์จะนัดตรวจครรภ์เดือนละครั้ง โดยแพทย์จะชั่งน้ำหนัก และวัดสัญญาณชีพจร ตรวจร่างกาย เจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ และทำอัลตราซาวน์ เพื่อประเมินอายุครรภ์ในกรณีที่ผู้ตั้งครรภ์ไม่สามารถจำรอบเดือนครั้งล่าสุดได้ชัดเจน ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถซักถามข้อสงสัย หรือปรึกษาปัญหาต่างๆ กับแพทย์ได้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 18-20 สัปดาห์ แพทย์จะอัลตราซาวน์อีกครั้งเพื่อประเมินความผิดปกติของทารก

          ♦ 28-36 สัปดาห์ ของอายุครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์เดือนละ 2 ครั้ง แพทย์จะตรวจความดันโลหิต และสัญญาณชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รวมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ แพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนให้ด้วย

          ♦ 36 สัปดาห์ ไปจนถึงครบกำหนดคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์มาพบแพทย์สัปดาห์ละครั้ง  หากผู้ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี หรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพครรภ์สูง อาจจำเป็นต้องมารับการตรวจบ่อยกว่านั้น เบื้องต้น แพทย์จะตรวจความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ฟังการเต้นของหัวใจทารก และดูอาการดิ้น ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ควรบันทึกความถี่เมื่อรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นด้วย และแพทย์จะตรวจภายในให้คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อถึงวันกำหนดคลอด เพื่อดูว่าลักษณะของปากมดลูกเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคลอดบุตรหรือไม่ โดยปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้น และค่อย ๆ ขยายออกกว้างและบางลง ปากมดลูกจะขยายกว้างถึง 10 เซนติเมตร และหดลงเมื่อคลอดทารกแล้ว

คุณแม่ๆจะเห็นได้ว่า การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณแม่ท้องมากๆเลยค่ะ เพราะนั่นหมายถึงสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ยิ่งตอนนี้มีการเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม แล้วเพราะฉะนั้น คุณแม่ๆเมื่อรู้ว่ากำลังตั้งท้อง ก็อย่าลือไปฝากครรภ์กันไว้ด้วยนะคะ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก pptvhd36 / medthai / สำนักงานประกันสังคม

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

แม่ท้องระวัง ไข้มาลาเรีย เป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และลูก

รวม 5 เมนูสตรอเบอรี่ สูตรเด็ดเพื่อแม่ท้อง

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง

คนท้องกินช็อกโกแลตได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือไม่

คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม? ดื่มมากไป เสี่ยงแท้ง จริงหรือ?

คนท้องดื่มน้ำขิงได้ไหม? เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids