คุณแม่หลายบ้านเป็นกังวลกับการที่ เด็กยุคใหม่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี อุปกรณ์ไอที อย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มือถือ ทำให้ ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ชอบอ่านจากจอมากกว่า ถ้าให้ลูกอ่านจากจอแทน จะดีไหม?
ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้ลูกอ่านจากจอแทน จะดีไหม?
Q. ลูกเป็นเด็กยุคชอบคอมพิวเตอร์มากกว่าหนังสือค่ะ ดูแนวโน้มเขาคงจะอ่านจากคอมพิวเตอร์มากกว่าหนังสือ สามีดูเป็นห่วงมาก คุณแม่มีข้อสงสัย 2 ข้อค่ะ
- เรื่องเด็กอ่านหนังสือน้อยลง ไม่น่าจะเป็นเฉพาะเด็กไทยใช่ไหมคะ เพราะเด็กยุคนี้ไม่ว่าประเทศไหนก็อยู่กับอุปกรณ์ไอทีอยู่กับโลกดิจิตอลเป็นส่วนใหญ่ เด็กไทยจะน่าเป็นห่วงมากกว่าเด็กชาติอื่นอย่างไรคะ
- ถ้า ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่อ่านจากคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ยังถือเป็นการอ่านหรือไม่ และอ่านแบบนี้ได้ประโยชน์แทนการอ่านหนังสือได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะทำอย่างไรให้ลูกกลับมาอ่านหนังสือได้คะ
เรื่องเด็กอ่านหนังสือน้อยลงทั่วโลกเป็นความจริง แต่เด็กไทยยังคงมีข้อเสียเปรียบเชิงระบบอย่างน้อย 2 ข้อ
ข้อแรก เด็กไทยอ่านเสร็จก็คิดต่อไม่ได้ คิดต่อไม่ได้ในที่นี้หมายถึง คิดเชิงวิพากษ์หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภาษาอังกฤษว่า criticized thinking
การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึงความสามารถที่จะไม่เชื่อสิ่งที่อ่านในทันทีทันใด รู้จักตั้งข้อสงสัยและตั้งคำถาม รู้จักถาม มีความใฝ่รู้มากพอที่จะลุกขึ้นจากเก้าอี้หรือที่นอนเพื่อไปค้นหาหนังสือเล่มอื่นที่บอกเล่าเรื่องราวอย่างเดียวกันเพื่อทวนสอบข้อมูล มีความใฝ่รู้มากพอที่จะลุกขึ้นจากเก้าอี้หรือที่นอนไปค้นคว้าตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อตอบข้อสงสัยหรือคลายข้อข้องใจที่เกิดขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ปัญหาขั้นแรกคือ เด็กไทย ไม่สงสัย!” หน้า 2
เด็กไทยมักไม่ตั้งข้อสงสัย ไม่มีความสามารถในการตั้งคำถาม เชื่อว่าในตอนเริ่มต้นทุกคนก็ชอบถาม เช่น เมื่อครั้งเริ่มพูดเป็นประมาณ 2-3 ขวบ แต่แล้วความช่างซักช่างถามนี้ค่อยๆ ถูกระบบการศึกษาริบไปจนถึงทำลายจนหมดในเวลาไม่นาน เราไม่พบนักศึกษามหาวิทยาลัยที่กระตือรือร้นจะยกมือถามนานมากแล้ว เด็กไทยอาจจะมีความใฝ่รู้เกิดขึ้นในใจประมาณสามวินาทีแต่ไม่มากพอที่จะลุกไปหาคำตอบ ต่อให้มีหนังสือกองตรงหน้าหรือห้องสมุดอยู่ตรงข้ามบ้าน ก็ขี้คร้านจะลุกจากที่นอนหรือเกมที่เล่นอยู่
การคิดเชิงวิพากษ์หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณก็ยังไม่เพียงพอ เด็กจะฉลาดหรือมีความคิดสร้างสรรค์ได้เขาต้องได้รับโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเด็กคนอื่นหรือผู้ใหญ่คนอื่นที่คิดเห็นไม่ตรงกัน ดีกว่านี้คือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงรองรับ มิใช่ทำได้เพียงแลกเปลี่ยน “ความเห็น” เปล่าๆ โดยไม่มีความคิดหรือแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยข้อมูลที่ไม่มีที่มาที่ไป หรือแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยความเห็นล้วนๆ ไม่มีหลักฐานรองรับเลย ในเว็บต่างประเทศ เราจะพบคอมเมนต์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย intelligence (สติปัญญา) มาก แต่ในเว็บประเทศไทย เราจะพบคอมเมนต์การแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย emotion (อารมณ์) เสียมากกว่า
เวลาบรรยายให้นักศึกษาไทยฟัง เราต้องบังคับให้ถามหลังการบรรยาย เวลาบรรยายให้นักศึกษาต่างประเทศฟัง รวมทั้งนักศึกษาจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ นักศึกษาแย่งกันยกมือสลอนทุกครั้งไป อีกทั้งมีข้อถกเถียงกันเองอย่างน่าทึ่ง พูดกันอย่างไม่เกรงใจคือ วัฒนธรรมขี้สงสัยและรู้จักถามห่างจากเด็กไทยหลายปีแสง
อ่านต่อ “การวิจารณ์ เกี่ยวข้องกับตัวตนอย่างไร?” หน้า 3
ประเทศไทยเคยมีวิชาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้ยังมีอยู่หรือไม่ ข้อสอบวิชาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นข้อสอบปรนัย มีตัวเลือก 4 ตัว นักเรียนไทยสามารถมีวิจารณญาณได้ไม่เกินตัวเลือกที่กำหนดให้ ในขณะที่ข้อสอบต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นข้อสอบอัตนัยและครูของเขามีความสามารถในการตรวจข้อสอบอัตนัยอย่างไม่น่าเชื่อ
คำว่า criticize แปลตรงตัวว่าวิจารณ์ การกระทำที่เรียกว่าวิจารณ์มีผลกระทบทางจิตวิทยาที่สำคัญคือทำให้เราเป็นมนุษย์ที่แตกต่างจากคนอื่น ไม่เหมือนคนอื่น ไม่ซ้ำคนอื่น เป็นหนึ่งไม่มีสอง คือ individuality
ฉะนั้น ตัวตนที่ทำอะไรบางอย่างสำเร็จและรับรู้ว่าตนเองทำได้นำไปสู่ความมั่นใจหรือความภาคภูมิใจในตนเองคือ self-esteem และเซลฟ์เอสตีมนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
“เด็กอ่านหนังสือ 1 เล่มอยู่เงียบๆ คนเดียวก็ยังดีกว่าเด็กเล่นเกมอยู่เงียบๆ คนเดียวแน่นอน เพราะสมองของเขาทำงานไปไกลกว่า สมองได้ฝึกเติมข่าวสารระหว่างบรรทัดมากกว่า (read between the line) สมองได้วาดภาพเอาเองในอากาศมากกว่า (และมากกว่าการดูหนังเรื่องหนึ่งซึ่งจำลองภาพมาให้เราเห็นเสียหมดแล้ว)”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “อ่านจากไหนไม่สำคัญเท่า ใฝ่รู้หรือไม่” หน้า 4
อ่านจากอะไรให้ได้ประโยชน์ อยู่ที่ใฝ่รู้มากพอ
การอ่านจากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนก็เป็นการอ่านที่ใช้ได้ ข้อดีของการอ่านด้วยวิธีนี้คือหากอ่านไปสงสัยอะไรก็สามารถค้น (search) ต่อได้ทันที แต่ปัญหาคือเด็กไทยไม่ใฝ่รู้มากพอที่จะค้นต่อไปทั้งที่มีข้อสงสัยเกิดขึ้น เอกสารจำนวนมากบนเน็ตเป็นเอกสารประเภทที่สามารถกด (click) คำๆ นั้นเพื่อค้นต่อทันใด แต่เราก็ไม่ใส่ใจที่จะไปต่ออยู่ดีเพราะเราไม่มีความสามารถที่จะอยากรู้ไปนานแล้ว
ข้อถกเถียงเรื่องการอ่านจากอุปกรณ์ไอทีช่วยรักษาต้นไม้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ เพราะขยะไอทีที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีจำนวนมหาศาลเกินกำจัดได้อยู่ทุกวัน
อ่านต่อ “เด็กไทยส่วนใหญ่คิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไรต่อ!” หน้า 5
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อสอง เด็กนักเรียนไทยเกือบทั้งประเทศไม่รู้จะเรียนอะไรต่อ
ไม่รู้ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ไม่รู้ว่าตนเองถนัดอะไร แย่กว่านี้คือไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร (ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากวัฒนธรรมไม่ควรวิจารณ์ของบ้านเราเอง) นักศึกษาไทยเกือบหมดประเทศอยู่ในอาการเช่นเดียวกันคือเรียนไปเพราะเรียนตามๆ กันไป การเรียนหนังสือที่ไม่มีความชอบเป็นปฐมหรือมีความฝันเป็นฐานรองรับจะเรียนอย่างไรก็ไม่สนุก เรียนได้เท่าที่เรียนได้ ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะไปต่อหรือรู้มากกว่าที่เรียน
มากกว่านี้ คือต้องการแหล่งเรียนรู้รอบบ้านมากกว่าที่เป็นอยู่ สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ เก้าอี้ริมถนนเพื่อพบปะผู้คน เป็นต้น สำคัญที่สุดคือ “เวลา” ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ ทั้งหมดนี้ไม่มีในวัฒนธรรมบ้านเรา
20 เคล็ดลับ สร้างลูกรักให้เป็น นักอ่านตัวน้อย
ชวนลูกอ่านหนังสือ พัฒนาสมอง ด้วยเคล็ดลับ 7 ข้อ
บทความโดย : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่