แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายคนเรา เป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน ทำหน้าที่พัฒนาและสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ควบคุมการทำงานหลอดเลือด กล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การส่งความรู้สึก การปล่อยฮอร์โมน เป็นต้น เราให้ ความสำคัญของแคลเซียม
โรคที่เกิดขึ้นเมื่อขาดแคลเซียม
1.โรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นมวลกระดูกจะลดลง ทำให้กระดูกเปราะบาง หักง่าย คุณพ่อ คุณแม่ที่อายุ 30 ปีขึ้นไปเริ่มมีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น
2.โรคความดันโลหิตสูง คนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าปกติ การรับประทานแคลเซียมมากขึ้นทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัว หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดี
3.คุณแม่ที่รับประทานแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน จะลดอาการก่อนประจำเดือน 50% เช่น ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า อยากอาหาร เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวันตามอายุของคุณพ่อ คุณแม่ ลูก เอาไว้ดังนี้
- อายุ 0-5 เดือน ต้องรับประทาน 210 มิลลิกรัมต่อวัน
- อายุ 6-11 เดือน ต้องรับประทาน 270 มิลลิกรัมต่อวัน
- อายุ 1-3 ขวบ ต้องรับประทาน 500
- อายุ 4-8 ขวบ ต้องรับประทาน 800 มิลลิกรัมต่อวัน
- อายุ 9-18 ปี ต้องรับประทาน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- อายุ 19-50 ปี ต้องรับประทาน 800 มิลลิกรัมต่อวัน
- อายุ 50 ปีขึ้นไป ต้องรับประทาน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูก ต้องรับประทาน 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
อ่านต่อ “อาหารที่มีแคลเซียม” คลิกหน้า 2
อาหารที่มีแคลเซียม
1.นม เช่น นมสด โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เนย
2.สัตว์เล็กๆ ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ
3.ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
4.พืชผัก เช่น ยอดแค ผักคะน้า บรอคโคลี่ ผักกาด งาดำ
จากตารางถ้าต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมจะต้องรับประทานอาหารที่หลากหลายตามตารางผสมกันให้ได้ตามที่ร่างกายต้องการ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปก็ไม่ดี โดยปกติร่างกายจะขับถ่ายแคลเซียมส่วนเกินทางอุจจาระ ปัสสาวะ ถ้ามีมากเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการสะสมในเนื้อเยื่อ รบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดนิ่วในไตได้
คุณพ่อ คุณแม่และลูกน้อยควรได้รับแสงแดดซึ่งมีวิตามิน D ในช่วง 8 โมงเช้า – 9 โมง ช่วยในการปรับสมดุลแคลเซียม และมีความจำเป็นต่อระบบภูมิต้านทาน แต่ถ้าได้รับวิตามิน D มากเกินไปจะทำให้เกิดการสลายของกระดูก
อ่านต่อ “ดื่มนมมากเกินไป ทำให้กระดูกพรุน?” คลิกหน้า 3
ดื่มนมมากเกินไป ทำให้กระดูกพรุน?
ศ.เกียรติคุณ น.พ.เสก อักษรานุเคราะห์ ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุน กล่าวว่า โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบในผู้สูงอายุ แม้ว่าแคลเซียมในนมจะมีปริมาณสูง แต่การดื่มนมมากเกินไป โดยเกินวันละ 500 มิลลิกรัม ร่างกายจะกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งสารสลายกระดูกออกมา ทำให้มวลกระดูกบางลง ฉะนั้นควรดื่มนมเพียงวันละไม่เกิน 500 มิลลิกรัม แล้วหาแคลเซียมจากส่วนอื่นมาชดเชย เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เป็นต้น และออกกำลังกายกลางแจ้ง รับวิตามิน D ช่วยสังค์เคราะห์แคลเซียมได้
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
แม่ท้องฟันผุ เพราะลูกน้อยแย่งแคลเซียมไป…น่าจะจริง!?
แม่ท้องไม่ชอบกินนม ไม่ผิด มีวิธีไม่ขาดแคลเซียมนะ
ลูกกระดูกเปราะแต่กำเนิด เพราะแม่ท้องกินอาหารที่มีแต่ผงชูรส จริงหรือ?
เครดิต: นศภ. พิชญ์ภิญญาณ์ แก้วปานันท์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์ ดร. นทีทิพย์ กฤษณามระ หน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ.เกียรติคุณ น.พ.เสก อักษรานุเคราะห์ ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุน
Save